วันพุธ, มิถุนายน 26, 2024
หน้าแรกNEWSครม.เห็นชอบร่างถ้อยแถลงกรอบความร่วมมือถกผู้นำลุ่มน้ำโขง – เกาหลีใต้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ครม.เห็นชอบร่างถ้อยแถลงกรอบความร่วมมือถกผู้นำลุ่มน้ำโขง – เกาหลีใต้

ครม.เห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง – เกาหลีใต้ รับมือสถานการณ์โควิด19 ระดับภูมิภาค-ระหว่างประเทศ

วันที่ 19 ต.ค.64 น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2564 ว่า ครม.เห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง – สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 3 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ซึ่งร่างถ้อยแถลงร่วมจะมีการรับรองในการประชุมที่จัดขึ้นในวันที่ 26 ต.ค.2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีประธานาธิบดีเกาหลีใต้และนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเป็นประธานร่วมในการประชุม ทั้งนี้ กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-เกาหลีใต้ (Mekong-ROK) ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนามและเกาหลีใต้ ร่วมมือกันภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมมิตรภาพและความร่วมมือด้านการเมืองเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิก สำหรับร่างถ้อยแถลงร่วม มีสาระสำคัญดังนี้

1.เน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ ในการตอบโต้และรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งเกาหลีใต้จะให้การสนับสนุนในรูปแบบความช่วยเหลือด้านการเงินและสิ่งของจำนวน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผ่านกลไก COVAX AMC ภายในปี 2565

2.ยืนยันเจตนารมณ์ในการเสริมสร้างความร่วมมือบนพื้นฐาน 3 เสา ของกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง – เกาหลีใต้ ได้แก่ ประชาชน ความเจริญรุ่งเรือง และสันติภาพ ดำเนินการผ่านสาขาความร่วมมือ 7 สาขา ได้แก่
1.วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว เช่น หามาตรการที่มีประสิทธิภาพต่อการฟื้นฟูการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย อนุรักษ์และฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม และส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

2.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่น แบ่งปันประสบการณ์ในสาขาการอุดมศึกษา จัดหาทรัพยากรสำหรับการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมความร่วมมือในสาขาทรัพยากรมนุษย์

3.การเกษตรและการพัฒนาชนบท เช่น ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่และลดช่องว่างด้านการพัฒนาของชุมชนชนบทและการเกษตรของประเทศลุ่มน้ำโขง ส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตรอัจฉริยะและความมั่นคงความปลอดภัยทางอาหารที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นในภูมิภาค

4.โครงสร้างพื้นฐาน เช่น เสริมสร้างความร่วมมือด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม เมืองอัจฉริยะ การพัฒนาท่าเรือ และความมั่นคงด้านพลังงานในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อำนวยความสะดวกต่อการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่ดีขึ้นสำหรับ MS MEs และ Start-up

5.เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ส่งเสริมการลงทุนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะสาขาเศรษฐกิจดิจิทัล พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ความมั่นคงทางไซเบอร์ เครือข่าย 5G ปัญญาประดิษฐ์ และระบบ Big Data

6.สิ่งแวดล้อม และ7.ความท้าทายด้านความมั่งคงรูปแบบใหม่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img