วันอาทิตย์, กันยายน 29, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSทั่วไป“หมอธีระ”เผยผลวิจัยกินน้ำมันปลา เสี่ยงต่อภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“หมอธีระ”เผยผลวิจัยกินน้ำมันปลา เสี่ยงต่อภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว


นพ.ธีระ วรธนารัตน์” เผยผลวิจัยกินน้ำมันปลา ทำให้เสี่ยงต่อภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วมากขึ้น เตือนต้องกินอย่างเหมาะสมและระมัดระวัง


เมื่อวันที่ 31 ต.ค.รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า การกินน้ำมันปลา (Fish oil) ทำให้เสี่ยงต่อภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial fibrillation) มากขึ้น


ล่าสุดมีงานวิจัยที่ทบทวนอย่างเป็นระบบและทำการวิเคราะห์อภิมานในกลุ่มประชากรกว่า 80,000 คนจาก 7 การศึกษา เป็นเพศหญิง 39% อายุเฉลี่ย 65 ปี ติดตามผลเฉลี่ย 4.9 ปี ราวสามในสี่กินน้ำมันปลาขนาด 1 กรัมต่อวันหรือน้อยกว่านั้น ส่วนที่เหลือกินมากกว่า 1 กรัมต่อวัน

พบว่ามีการกินน้ำมันปลานั้นทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วมากกว่าคนทั่วไป 25% (ช่วงความเชื่อมั่น 7%-46%) ทั้งนี้หากกินมากกว่า 1 กรัมต่อวัน จะเสี่ยงกว่าคนทั่วไปราว 1.5-2 เท่า แต่หากกินน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 กรัมต่อวัน จะเสี่ยงกว่าคนทั่วไป 12% (ช่วงความเชื่อมั่น 3%-22%)

ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังเวลาจะกินน้ำมันปลา ต้องใช้อย่างเหมาะสม และควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงของแต่ละคนด้วยว่าเสี่ยงต่อภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วหรือไม่ หากมีความเสี่ยงอยู่แล้วก็ควรหลีกเลี่ยง

อ้างอิงGencer B et al. Effect of long-term marine omega-3 fatty acids supplementation on the risk of atrial fibrillation in randomized controlled trials of cardiovascular outcomes: A systematic review and meta-analysis. Circulation. 6 October 2021.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img