วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS"วัชระ"จี้ป.ป.ช.สอบ"สมศักดิ์-อายุตม์"ลดโทษให้คนโกงชาติ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“วัชระ”จี้ป.ป.ช.สอบ”สมศักดิ์-อายุตม์”ลดโทษให้คนโกงชาติ

“วัชระ” ยื่นป.ป.ช.สอบ “สมศักดิ์-อายุตม์” ลดโทษให้นักโทษคดีโกงชาติ ส่อผิดจริยธรรม ย้อนแย้งนโยบายปราบโกงของรัฐบาล พร้อมขอให้เชิญ “สุวพันธุ์-ประจิน” มาให้ข้อมูล

วันที่ 15 ธ.ค.64 ที่สำนักงานป.ป.ช.เมื่อเวลา 10.45 น.นายวัชระ เพชรทอง อดีตส.ส.ประชาธิปัตย์ ยื่นหนังสือผ่านนายพิศิษฐ์ พัฒนกิจจำรูญ ผู้อำนวยการสำนักสืบสวน ถึงนายวัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ขอให้ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนกรณีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และนายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เสนอลดโทษชั้นเยี่ยมให้นักโทษคดีทุจริตจำนำข้าวว่าผิดกฎหมายอื่นใดหรือผิดจริยธรรมหรือไม่ โดยทั้ง 2 คนใช้กลไกทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ดำเนินการบริหารโทษ (ลดโทษ) กับบุคคลที่ได้รับการลงโทษตามคำพิพากษาคดีทุจริตโครงการจำนำข้าวคือ นายภูมิ สาระผล จากโทษจำคุก 36 ปี ล่าสุดเหลือวันต้องโทษ 8 ปี นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ กำหนดโทษจำคุก 48 ปี ล่าสุดเหลือวันต้องโทษ 10 ปี นายมนัส สร้อยพลอย กำหนดโทษจำคุก 40 ปี ล่าสุดเหลือวันต้องโทษ 8 ปี นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร (เสี่ยเปี๋ยง) กำหนดโทษ 48 ปี ล่าสุด เหลือวันต้องโทษ 6 ปี 3 เดือน ตามที่เป็นข่าวดังและกำลังถูกกระแสสังคมต่อต้านอย่างหนักอยู่ในขณะนี้การกระทำของนายสมศักดิ์ และนายอายุตม์ ส่อว่าผิดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและหรือกฎหมายอื่นใด และหรือจริยธรรมของข้าราชการหรือไม่ เนื่องจากเป็นที่สงสัยค้างคาหัวใจของประชาชนผู้รักความยุติธรรมทั้งประเทศ กระทบกระเทือนต่อหลักนิติรัฐ นิติธรรมและกระบวนการยุติธรรมทั้งประเทศ จึงขอให้สำนักงานป.ป.ช. เร่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเพื่อพิจารณาสอบสวนว่าเป็นการกระทำที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนผิดกฎหมายอื่นใดหรือไม่ และส่อว่าผิดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีข้อต่างๆ ต่อไปนี้หรือไม่ ดังนี้ ข้อ 6. ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ ความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อ 7. ต้องถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน ข้อ 12. ยึดมั่นหลักนิติธรรม และประพฤติตนอยู่ในกรอบศีลธรรมอันดีของประชาชน ข้อ 13. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความยุติธรรม เป็นอิสระ เป็นกลาง และปราศจากอคติโดยไม่หวั่นไหวต่ออิทธิพล กระแสสังคม หรือแรงกดดันอันมิชอบด้วยกฎหมาย โดยคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมแห่งสถานภาพ ข้อ 17. ไม่กระทําการใดที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดํารงตําแหน่ง ข้อ 21.ปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเต็มกําลังความสามารถ และยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม โปร่งใสและตรวจสอบได้ และปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของชาติ และความผาสุกของประชาชนโดยรวม

นายวัชระ กล่าวว่า ที่ผ่านมาในสมัยที่พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เคยมีนโยบายว่าไม่ลดโทษให้กับคดีทุจริต แต่ในยุคนี้เพราะเหตุใดกระทรวงยุติธรรมจึงเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ในทางที่เป็นคุณต่อนักโทษคดีทุจริตคอร์รัปชัน ทั้งๆที่สวนทางกับนโยบายของรัฐบาลในการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นอย่างสิ้นเชิง ตนเป็นอดีตส.ส.2สมัยได้รู้จักนักการเมืองที่ถูกจำคุกทุกคน แต่เรื่องหลักการแห่งความยุติธรรมจะนำเรื่องส่วนตัวมาละเว้นไม่ได้ ถ้าบรรดานักการเมืองที่ถูกจำคุกได้ลดโทษชั้นเยี่ยมแล้ว ลูกหลานคนจนที่ถูกจำคุกนับแสนคนก็ควรได้ลดโทษชั้นเยี่ยมเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ไม่ได้ว่ารัฐมนตรีทำผิดกฎหมายหรือจริยธรรม แต่ประชาชนสงสัยในเรื่องนี้ทั่วทั้งสิบทิศ จึงต้องมายื่นหนังสือถึงป.ป.ช.ให้ช่วยสร้างความกระจ่างให้กับสังคม ถ้ากรมราชทัณฑ์อ้างว่าศาลมีหน้าที่ลงโทษจำคุก ส่วนกรมราชทัณฑ์มีหน้าที่บริการโทษ(ลดโทษ) ถือเป็นเป็นคำพูดที่ไม่มีเหตุผล กรมราชทัณฑ์จะมีอำนาจเหนือคำพิพากษาของศาลได้อย่างไร

ทั้งนี้ ขอให้ป.ป.ช.เชิญนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ และพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมาให้ข้อมูลว่ามีการแก้ไขกฎระเบียบลดโทษให้นักโทษคดีคอรัปชั่นเกิดขึ้นในสมัยใดมีบุคคลใดเกี่ยวข้องบ้าง และกันข้าราชการกรมราชทัณฑ์ชั้นผู้น้อยไว้เป็นพยานเพื่อความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img