วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightสธ.ยันยังไม่ชัด’’โควิด’’กลายเป็นโรคประจำถิ่น
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สธ.ยันยังไม่ชัด’’โควิด’’กลายเป็นโรคประจำถิ่น

‘’หมอโอภาส’’แจงนิยามโรคประจำถิ่น  คาดสิ้นปีโควิดจะสิ้นสุดและยังต้องเฝ้าระวังต่อไป โดยพิจารณา 3 องค์ประกอบ สายพันธุ์ อัตราป่วย และการระบาด

เมื่อวันที่ 31 ม.ค.ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบายการประกาศให้โรคโควิด-19 ให้เป็นโรคประจำถิ่น ว่า การระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) ซึ่งเมื่อเกิดมาระยะหนึ่ง โรคก็ลดความรุนแรงลง  ซึ่งจะเรียกว่า เป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) ก็ได้ หรือ จะเรียกโรคระบาด (Epidemic)  ก็ได้ ส่วนคำว่าโรคตามฤดูกาล นั้น ความจริงโรคตามฤดูกาลจะต้องมีรูปแบบที่ชัดเจน เช่น โรคไข้เลือดออก ต้องฝนตก ยุงเยอะ กัดคน และป่วย ส่วนโรคโควิด-19 จะเป็นรูปแบบไหน ส่วนตัวตนเห็นว่า ก็คงเป็นโรคปกติที่เราต้องอยู่กับมัน แต่จะเป็นโรคตามฤดูกาลหรือไม่ ยังบอกไม่ได้ แต่ถ้าโรคโควิด-19 คล้ายไข้หวัดใหญ่ ก็ต้องจัดเป็นไปตามฤดูกาล ซึ่งต้องรอดูกันระยะยาวต่อไป และยืนยันว่า กระทรวงสาธารณสุข ยังไม่ได้ประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ / กระทรวงสาธารณสุข

“โรคโควิด19 อยู่ในระยะการระบาดใหญ่ทั่วโลกมา 2 ปีแล้ว  ภายในปีนี้ก็น่าจะสิ้นสุดระยะนี้แล้ว จากนั้นทิศทางจะเป็นอย่างไร ก็จะเป็นโรคประจำถิ่นหรือโรคติดต่อทั่วไป ซึ่งก็จะดู 3 ส่วน คือ สายพันธุ์คงที่ ไม่มีการกลายพันธุ์ที่รุนแรงกว่าเดิม อัตราป่วยคงที่ และคาดเดาการระบาดได้ เมื่อผ่านระยะระบาดแล้วก็ต้องมีการติดตามว่าการจัดการจะเป็นอย่างไร  ส่วนว่านิยามตามกฎหมายจะเป็นโรคติดต่ออะไร ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะเป็นอะไร และไม่อยากให้กำหนดระยะเวลา แต่การกำหนดโรคติดต่อตามกฎหมายที่แตกต่างกัน ก็เพื่อเป็นการให้อำนาจเจ้าหน้าที่ที่แตกต่างกัน เช่น ถ้าเป็นโรคติดต่อต้องเฝ้าระวัง เจ้าหน้าที่ก็จะไม่มีอำนาจสั่งกักตัวผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ แต่หากเป็นโรคติดต่ออันตรายก็จะมีอำนาจตรงนี้ ”นพ.โอภาสกล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img