วันศุกร์, กันยายน 20, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightบุกยื่น“ฝ่ายค้าน”สอบ“คิงส์เกต”รีเทิร์น “เหมืองทองอัครา”ชอบด้วยกม.หรือไม่
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

บุกยื่น“ฝ่ายค้าน”สอบ“คิงส์เกต”รีเทิร์น “เหมืองทองอัครา”ชอบด้วยกม.หรือไม่

เอ็นจีโอเหมืองแร่ บุกยื่นฝ่ายค้านสอบ “คิงส์เกต” รีเทิร์น “เหมืองทองอัครา” ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ด้าน “หมอชลน่าน” เข้าทางจ่อซักฟอก ม.152 ฝันอาจทำให้เปลี่ยนแปลงรัฐบาล

วันที่ 2 ก.พ.65 ที่รัฐสภา น.ส.จุฑามาส ศรีหัตถผดุงกิจ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนตัวแทนเครือข่ายเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ พร้อมเครือข่ายได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อพรรคร่วมฝ่ายค้าน 6 พรรคเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรดำเนินการตรวจสอบกรณีบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด เตรียมรีสตาร์ทเหมืองทองพิจิตรอีกครั้ง

โดยน.ส.จุฑามาส กล่าวว่า เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ยื่นให้พรรคฝ่ายค้านตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาลกรณีเหมืองทองคำคิงส์เกตระบุข้อความดังนี้ ความบกพร่องที่ 1.ของการประกอบกิจการเหมืองทองคำคิงส์เกตในนามบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน)  คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในการประกอบกิจการเหมืองทองคำดังกล่าวที่รอยต่อสามจังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์และพิษณุโลก ถูกกดให้อยู่ในระดับต่ำมาโดยตลอด  เพราะไม่มีมาตรการทางสังคมและการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนที่บังคับใช้เป็นการเฉพาะในการกำกับควบคุมการทำเหมืองทองคำตลอดห่วงโซ่อุปทาน  มีแต่เฉพาะการปรึกษาหารือในระดับแจ้งเพื่อทราบเพื่อดำเนินการตามคำขอประทานบัตร  และ การปรึกษาหารือให้แสดงความคิดเห็นพอเป็นพิธีกรรมเพื่อจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม  ซึ่งทั้งสองเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมในช่วงก่อนการอนุญาตประกอบกิจการเหมืองแร่เท่านั้น  ไม่มีหลักประกันใด ๆ ว่าการแสดงความคิดเห็นดังกล่าวจะมีผลในระดับการตัดสินใจในการอนุญาตประกอบกิจการ    และหลังจากได้รับการอนุญาตประกอบกิจการเหมืองแร่แล้วก็จะไม่มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนใด ๆ อีก

  1. ระดับความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาชุมชนของเจ้าของกิจการก็อยู่ในระดับต่ำ  เพราะมีงบประมาณเพื่อการนี้เพียงร้อยละ 0.1 ของมูลค่าทองคำที่ผลิตได้เท่านั้น  ในขณะที่งานศึกษาวิจัยที่ถูกยอมรับในระดับนานาชาติ พบว่าเหมืองทองในต่างประเทศมีการใช้จ่ายงบประมาณในการพัฒนาชุมชนถึงร้อยละ 0.9 ของมูลค่าทองคำที่ผลิตได้

3. เป็นการทำเหมืองโดยไม่มีแนวกันชนที่ต้องรักษาระยะห่างระหว่างชุมชนกับเขตเหมืองแร่  จนทำให้หมู่บ้านเขาหม้อ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ต้องกลายเป็นหมู่บ้านร้างและบ้านแตกสาแหรกขาด  

และ4.เป็นการทำเหมืองที่หลีกเลี่ยงหรือหาช่องโหว่ของกฎหมาย เพื่อไม่สร้างหลักประกันและแผนปฏิบัติการในการฟื้นฟูเหมืองที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม  ทั้งการฟื้นฟูระหว่างการทำเหมืองและหลังการปิดเหมือง  เพื่อให้สภาพพื้นที่คืนกลับมาเป็นธรรมชาติดังเดิม ด้วยสาเหตุทั้งสี่ประการเป็นอย่างน้อย  ซึ่งยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก  ทำให้เหมืองทองแห่งนี้ในนามคิงส์เกตและบริษัทอัคราฯตกเป็นจำเลยของสังคมมายาวนาน  เพราะเป็นการประกอบกิจการที่ถูกสังคมพิพากษามาว่ามีปัญหาค่อนข้างมากทั้งในด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  สังคม และสุขภาพของประชาชนในพื้นที่รอบเหมือง  แต่เป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าเสียใจที่รัฐบาลไทยไม่ได้นำข้อมูลนี้ไปใช้สู้คดีในชั้นอนุญาโตตุลาการอย่างเพียงพอ  เสมือนว่ามีพฤติกรรมสมยอมให้ไทยต้องแพ้คดี  หรือแลกกับการไม่แพ้คดีโดยให้คิงส์เกตกลับมาทำเหมืองทองใหม่ได้

น.ส.จุฑามาส กล่าวต่อว่า ซึ่งทำให้คิงส์เกตได้รับอนุญาตประทานบัตรให้กลับมาทำเหมืองใหม่ตามข่าวที่ออกมาในช่วง2-3วันนี้  ซึ่งเป็นการได้รับอนุญาตประทานบัตรและการอนุญาตผลประโยชน์อื่น ๆ ที่เกินไปกว่าข้อพิพาทในชั้นอนุญาโตตุลาการ  เพื่อแลกกับการที่รัฐบาลประยุทธ์ไม่ต้องถูกอนุญาโตตุลาการมีคำสั่งชี้ขาดให้ต้องแพ้คดีซึ่งต้องเสียค่าปรับประมาณ 24,750 ล้านบาท  ตามอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบัน  ทั้งหมดนี้จึงนำมาสู่การตั้งคำถามว่า  ผลประโยชน์ที่คิงส์เกตได้  หรือข้อยุติที่ทำให้ไทยไม่ต้องแพ้คดีโดยที่คิงส์เกตได้ประโยชน์อย่างมหาศาลนั้นน่าจะเป็นสิ่งที่อยู่ นอกเหนือข้อพิพาท ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการอนุญาโตตุลาการ  ก็คือ  คิงส์เกตฟ้องไทยว่าใช้ ม.44 ปิดเหมืองทอง  ซึ่งไม่ใช่กฎหมายปกติที่สากลจะยอมรับได้  และได้ทำลายข้อตกลงความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ( TAFTA) โดยกลั่นแกล้งนักลงทุนในประเทศภาคีให้ได้รับความเสียหาย  แต่คิงส์เกตกลับกำลังบังคับให้รัฐบาลไทยใช้อำนาจพิเศษเปิดเหมืองทอง  บวกกับผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษที่เกินไปกว่าข้อพิพาทเสมือนการใช้ ม.44 รอบสอง

“เครือข่ายฯเห็นว่า กลไกฝ่ายบริหารได้สร้างปัญหาอย่างรุนแรงให้เกิดขึ้นแก่สังคมไทย จึงขอให้ตรวจสอบอำนาจรัฐที่ฉ้อฉลของฝ่ายบริหารในการสั่งให้เหมืองทองคำคิงส์เกตกลับมาเปิดได้ใหม่ ทั้งๆที่สุขภาพของประชาชน สภาวะแวดล้อม ธรรมชาติและระบบนิเวศในพื้นที่ยังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยไม่มีหน่วยงานใด ๆ เข้าไปแก้ไขให้ดีขึ้น จึงขอให้นำปัญหานี้ไปอภิปรายซักฟอกรัฐบาล รวมถึงหาข้อมูลข้อเท็จจริงในกระบวนการอนุญาโตตุลาการที่ถูกปกปิดไว้มาเปิดเผยสู่สาธารณะ และรวมถึงใช้ช่องทางอื่น ๆ ทั้งหมดที่ท่านสามารถนำปัญหานี้ทำการตรวจสอบรัฐบาล  เพื่อทำให้สังคมไทยโปร่งใสขึ้นจากความมืดมนและกดขี่คุกคามประชาชนตลอดหลายปีที่ผ่านมาในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา”น.ส.จุฑามาส กล่าว

ด้านนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทยในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวว่า ฝ่ายค้านให้ความสนใจ และจะนำเข้าสู่กลไกของรัฐสภา ตนเห็นด้วยที่เรื่องนี้มีความฉ้อฉลทรัพย์สมบัติชาติ เป็นการบริหารที่ผิดพลาด ถือเป็นกฎหมายเผด็จการที่เรียกอย่างนั้นเพราะไม่ผ่านกระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติ ออกเอง บังคับใช้เอง ตีความเอง ไม่ต้องปฏิเสธว่าไม่ใช่เผด็จการ ดังนั้นเราจะทำหน้าที่ตรวจสอบเรื่องนี้อย่างเข้มข้น เบื้องต้นเราได้เขียนในนามฝ่ายค้านเป็นญัตติ ม.152 เพื่อนำเรื่องที่มีการอนุญาตให้เปิดเมืองทองเหมืองทองอัคราอีกครั้ง เข้าไปเป็นประเด็นอภิปรายสอบถามข้อเท็จจริง ซักฟอก ปอกเปลือกพล.อ.ประยุทธ์ และกลไกลของสภาฯที่เราทำได้สามารถเข้าเป็นกระทู้สดถามรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องว่าจะตอบคำถามอย่างไร ส่วนแนวทางต่อไปเราจะลงพื้นที่ไปรับฟังความเห็น และจะผลักดันเข้าสู่กรรมาธิการในการสอบหาข้อเท็จจริงเชิงลึก เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล เพราะขณะนี้เป็นคดีที่อยู่ในอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ที่เลื่อนคำตัดสินชี้ขาดไปโดยไม่มีกำหนด บนกระแสข่าวที่มีออกมาว่ามีการเจรจาประณีประนอมกัน เพื่อให้คดียุติ โดยการแลกกับทรัพย์สมบัติของประเทศชาติอย่างมหาศาล เราไม่ยอมแน่นอน ที่จะนำทรัพย์สมบัติของชาติไปแลกกับความผิดพลาดของพล.อ.ประยุทธ์

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img