วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS“โฆษกพท.”เบรกรัฐบาลทบทวนปลดโรคโควิดพ้น“ยูเซ็ป” เหตุติดเชื้อรายวันยังสูง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“โฆษกพท.”เบรกรัฐบาลทบทวนปลดโรคโควิดพ้น“ยูเซ็ป” เหตุติดเชื้อรายวันยังสูง

“โฆษกพรรคเพื่อไทย” เบรกรัฐบาลทบทวนปลดโรคโควิดพ้น “ยูเซ็ป” เหตุผู้ติดเชื้อรายวันยังพุ่งเกินหมื่นคน ช้องใจ ผลาญงบเงินกู้ 1.5 ล้านล้านแก้โควิดถูกต้องตามวัตถุประสงค์การกู้หรือไม่

วันที่ 13 ก.พ.65 น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม. โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลทบทวนการปลดโรคโควิด-19 ออกจากบริการยูเซป (UCEP) หรือสิทธิรักษาฟรีสำหรับอาการป่วยฉุกเฉิน ซึ่งจะทำให้ประชาชนเข้ารับการรักษาได้เฉพาะกับโรงพยาบาลที่ตนเองมีสิทธิเท่านั้น เช่น สิทธิบัตรทอง ประกันสังคม ประกันสุขภาพ สวัสดิการข้าราชการ มีผลบังคับใช้ภายในวันที่ 1 มี.ค. 2565 จากเดิมที่ผู้ถือบัตรสวัสดิการดังกล่าวสามารถเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนใดก็ได้เมื่อติดเชื้อโควิด-19 ทั้งนี้มองว่าการปลดโรคโควิด-19 ออกจากยูเซปจะสร้างผลกระทบและสร้างความยุ่งยากให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก ยิ่งในขณะนี้ที่มีผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่มีการระบาดหนักและแพร่กระจายเร็ว ยอดติดเชื้อต่อวันเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเกินหมื่นคนใกล้เคียงกับการระบาดในระลอกที่ 1 จึงมีความกังวลว่าจะเกิดกรณีเตียงไม่เพียงพออีกครั้ง และจะยิ่งสร้างแรงกดดันมายังระบบสาธารณสุขซ้ำรอยการระบาดในช่วงที่ผ่านมาหรือไม่

น.ส.ธีรรัตน์ กล่าวอีกว่า ในกรณีที่ประชาชนถือบัตรทอง แม้จะมีการปรับให้สามารถแจ้งเปลี่ยนโรงพยาบาลได้ตามถิ่นที่อยู่ปัจจุบันได้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา แต่ สปสช.เปิดให้เปลี่ยนโรงพยาบาลได้ผ่านเวปไซต์และแอปพลิเคชันเท่านั้น ในขณะที่ผู้ถือบัตรทองส่วนใหญ่เป็นผู้ยากไร้ รายได้ต่ำ บางรายอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและเข้าไม่ถึงเทคโนโลยี ไม่สามารถแจ้งย้ายโรงพยาบาลได้โดยสะดวก การปลดโควิดออกจากยูเซปจึงไม่เหมาะสมกับสถานการณ์การระบาดของโรคและภาวะเศรษฐกิจปากท้องที่ยังไม่ฟื้นตัวในขณะนี้

“อยากให้รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขคิดให้รอบด้าน อย่าเพิ่งตัดโควิดออกจากยูเซปในภาวะที่การระบาดยังคงต่อเนื่องและสูงขึ้น ในขณะที่คนไทยยังคงลำบาก คนจำนวนมากยังตกงาน ไม่มีรายได้ การเร่งปลดโควิดออกจากการรักษา เป็นเพราะรัฐมีความกังวลเรื่องงบประมาณที่ใช้ในการช่วยเหลือ สปสช. ที่ค้างจ่ายหรือไม่ หากกังวลว่าจะแบกรับภาระไม่ไหว ก็ควรใช้เงินงบประมาณใน พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วงเงินรวม 1.5 ล้านล้านบาทให้ถูกวัตถุประสงค์ ไม่ใช่โยกงบประมาณไปใช้ส่วนอื่นจนละเลยโรคระบาดที่ยังคงอยู่ หากรัฐบาลยังบริหารแบบนี้ กู้เท่าไหร่ก็ไม่พอ”น.ส.ธีรรัตน์ กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img