วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight‘’โอมิครอน’’ทั่วไทย  97.2% “เดลตาครอน” รอ GISIAD ยืนยันผล
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘’โอมิครอน’’ทั่วไทย  97.2% “เดลตาครอน” รอ GISIAD ยืนยันผล

กรมวิทย์ฯเผยพบโอมิครอนทั่วไทยแล้ว 97.2% จับตาสายพันธุ์ย่อย B.A2 แพร่เร็วกว่า ส่วน “เดลตาครอน” รอ GISIAD ยืนยันผล

เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 65 ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงรายงานการเฝ้าระวังสายพันธุ์ของโรคโควิด – 19 ที่ระบาดในประเทศไทย ว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีการตรวจ 2 พันตัวอย่างพบเป็นสายพันธุ์โอมิครอน 97.2% เหลือ 2.8% ที่ยังเป็นเชื้อเดลต้า ทั้งนี้คนเดินทางมาจากต่างประเทศตรวจพบว่าเป็นโอมิครอนทั้ง 100% ส่วนประเทศไทยอีกไม่นานก็เข้าใกล้ 100% เช่นกัน ปัจจุบันพบแล้วในทุกจังหวัด ซึ่ง 10 จังหวัดท็อปเท็นที่พบสายพันธุ์โอมิครอนมากที่สุดคือ กทม. 6,641 ราย ภูเก็ต 1,286 ราย ชลบุรี 1,240 ราย ร้อยเอ็ด 670 ราย สมุทรปราการ 590 ราย หนองคาย 534 ราย สุราษฎร์ธานี 511 ราย มหาสารคาม 508 ราย กาฬสินธุ์ 419 ราย ขอนแก่น 410 ราย 

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า หลังการระบาดของโอมิครอนค่อนข้างเร็ว ตามธรรมชาติเมื่อมีการระบาดซ้ำ กว้างขวาง ก็มีโอกาสกลายพันธุ์ ซึ่งโอมิครอนมีรายงานไปยังระบบ GISIAD สายพันธุ์ย่อย B.A.1 ประมาณ 6 แสนราย โดยเป็นข้อมูลมาจากประเทศอังกฤษประมาณ 44% สหรัฐอเมริกา 27 % ส่วน B.A.2 ประมาณ 5 หมื่นกว่าราย ในเดนมาร์ก ที่พบค่อนข้างเยอะ คิดเป็นประมาณ 8-9 % ส่วน B.A.3 ยังเจอน้อย 297 ราย

อธิบดีกรมวิทย์ฯ กล่าวว่า สายพันธุ์ B.A2 มาในตอนหลังช่วงปลายเดือนธ.ค. 2564 ส่วนไทยเริ่มพบรายแรกต้นเดือน ม.ค. 2565 ความสำคัญคือ ทั้ง B.A1 และ B.A.2 เป็นโอมิครอนทั้งคู่ แต่การกลายพันธุ์ต่างกัน โดยมีส่วนที่กลายพันธุ์เหมือนกัน 32 ตำแหน่ง และมีส่วนที่กลายพันธุ์ต่างกัน 28 ตำแหน่ง สิ่งสำคัญของ B.A.2 คือ ปกติสายพันธุ์โอมิครอนนั้นจะมีการหายไปของตำแห่ง 69-70 แต่ในส่วนของสายพันธุ์ย่อย B.A.2 นั้นกลับพบว่าตำแหน่ง 69-70 ไม่ได้หายไป ขณะนี้พบ B.A.2 ใน 57 ประเทศ ประเทศที่เริ่มเห็นแนวโน้มว่าจะแทน B.A.1 ที่อินเดีย เดนมาร์ค สวีเดน ดังนั้นต้องจับตาดูทั้งประเทศไทย หากแพร่เร็วกว่าก็คง้เบียด B.A.1 ในที่สุด

ข้อมูล B.A.2 มีการแพร่เร็วกว่าเดิม แต่ยังไม่มีข้อแตกต่างเรื่องการหลบวัคซีนเมื่อเทียบกับ  B.A.1 โดยเฉพาะเรื่องการป่วยรุนแรงต้องดูในสนามจริง ว่าคนไข้ติด B.A.2 มีความรุนแรงแค่ไหน ในส่วนของการตรวจนั้นสามารถตรวจเจอโอมิครอนได้ แต่แยกสายพันธุ์ไม่ได้ ขณะนี้กำลังพัฒนาให้ศูนย์วิทยาศาสตร์ทั่วประเทศตรวจเทียบสายพันธุ์ได้ โดยไม่ต้องส่งตรวจสายพันธุกรรมทั้งตัว อย่างไรก็ตาม สัปดาห์ที่ผ่านมามีข้อมูลจากบางพื้นที่ของไทย มีการแยกสายพันธุ์ 500 กว่าราย พบ B.A.2 ประมาณ 18.5% เจอในกลุ่มมาจากต่างประเทศมากกว่าเล็กน้อย เจอ B.A.1 คิดเป็น 81.5 % อยู่ระหว่างการขยายการตรวจให้ครอบคลุมทุกศูนย์ฯ เพื่อให้เห็นภาพรวมของประเทศ และเนื่องจาก B.A.1 มีการแพร่ระบาดมากก็พบว่ามีการขยับไปเป็นสายพันธุ์ย่อย B.A.1.1 อีกในไทยซึ่งเป็นสายพันธุ์ลูก

เมื่อถามถึงกรณีพบการติดเชื้อเดลตาครอนเป็นอย่างไร นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ข้อมูลในไซปรัสค่อนข้างชัดว่า อาจมาจากปนเปื้อน ซึ่งทางจีเสสถอนออกไปแล้ว ส่วนข้อมูลที่มีรายงานในประเทศอังกฤษนั้นอยู่ระหว่างรอรายงานอย่างเป็นทางการของ GISIAD อีกครั้ง.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img