วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightสธ.เตือนซ้ำโควิดระดับ 4 ทั่วไทย คนติดเชื้อครองเตียงรพ.7.6 หมื่นเตียง  
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สธ.เตือนซ้ำโควิดระดับ 4 ทั่วไทย คนติดเชื้อครองเตียงรพ.7.6 หมื่นเตียง  

‘’โควิด’’ เอเชียขาขึ้น เตือนภัยระดับ 4 ทั่วไทย เหตุโควิดกระจาย ส่วนคุมนั่งดริ้งในร้านอาหาร รอศบค.เคาะ 23 ก.พ. นี้ ผอ.กองระบาด เผยคนติดเชื้ออาการน้อยครองเตียงรพ.7.6 หมื่นเตียง  

เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 65 นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงสถานการณ์โควิด 19 เตือนภัยระดับ 4 ทั่วประเทศ ว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น และคาดการณ์ว่าใน 1-2 สัปดาห์ยังมีแนวโน้มทรงตัวระดับสูงเช่นนี้ จึงต้องช่วยกันชะลอการติดเชื้อโควิด ซึ่งที่ผ่านมาเราประกาศแจ้งเตือนภัยโควิดระดับ 4 มาตลอด

โดยมีคำแนะนำคือ งดไปสถานที่เสี่ยง งดการรวมกลุ่มสังสรรค์ เน้นทำงานที่บ้าน และชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่ แต่ที่ต้องมาเน้นย้ำอีกครั้งในทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพราะขณะนี้การติดเชื้อกำลังเพิ่มขึ้นทั้งหมด จึงขอให้ทุกจังหวัดปฏิบัติตามคำแนะนำเตือนภัยระดับ 4 ให้เหมือนกัน อย่างไรก็ตามคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดยังสามารถทำมาตรการเข้มข้นกว่านี้ได้

กระทรวงสาธารณสุข

“ที่ต้องมาเน้นย้ำให้ปฏิบัติเพราะก่อนหน้านี้ คนอาจรู้สึกว่า โรคมีความรุนแรงน้อยลง จึงมีความสบายๆ มากขึ้น วันนี้จึงต้องมาเน้นย้ำว่า อย่าชะล่าใจ การ์ดอย่าตก เราต้องการย้ำเตือนอีกครั้ง แม้ความรุนแรงของโอมิครอนจะต่ำกว่าเดลตาเกือบ 10 เท่า อาการรุนแรง ปอดอักเสบ เสียชีวิตจะน้อยกว่า แต่หากปล่อยผู้ติดเชื้อมากๆ โดยเฉพาะวัยทำงาน วัยรุ่นที่มีการไปรวมกลุ่ม งานเลี้ยงสังสรรค์ วันเกิด ดื่มสุรารวมกลุ่มกัน ก็จะนำไปสู่ครอบครัวผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัวที่บ้าน ทำให้มีโอกาสติดเชื้อรุนแรงและเสียชีวิตได้” นพ.ธงชัยกล่าว และว่า ยืนยันว่ามีเตียงรองรับ โดยเตียงสีเหลืองสีแดงใช้ไป 14-15% แต่ปัญหาคือกลุ่มอาการสีเขียวอยากนอน รพ. ครองเตียงตอนนี้กว่า 2 หมื่นเตียง จึงต้องขอความร่วมมือหากแพทย์ระบุว่าไม่ต้องนอน รพ. ให้ทำ HI/CI

นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

ด้านนพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุม กล่าวว่า การติดเชื้อภาพรวมยุโรป อเมริกาเริ่มลดลง แต่เอเชียอยู่ระหว่างขาขึ้น แต่ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นแต่ไม่มาก โดยสายพันธุ์หลักคือโอมิครอนซึ่งความรุนแรงไม่มากแต่สายพันธุ์ BA.2 แพร่เร็วกว่า BA.1 ประมาณ 1.4 เท่า สำหรับประเทศไทยก็เริ่มพบ BA.2 ประมาณ 50% ทั้งนี้ ประเทศไทยติดเชื้อเฉลี่ย 14 วัน 15,981 ราย ในประเทศ 15,793 ราย ต่างประเทศ 188 ราย ผู้ติดเชื้อสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.65 จำนวน 507,763 ราย  สถานการณ์ตอนนี้เหมือนเป็นเส้นตรงขึ้นมา จึงต้องติดตามการติดเชื้อที่จะเพิ่มขึ้นในคลัสเตอร์ในครอบครัวและชุมชนขณะนี้กำลังรักษา 166,397 ราย แบ่งเป็นรักษาใน HI / CI และรพ.สนาม 89,326 ราย อยู่ในรพ.มีอาการน้อยๆ อยู่ที่ 76,275 ราย วันนี้เสียชีวิต 32 รายอยู่ในกลุ่ม 608 ซึ่งมี 16 รายไม่ฉีดวัคซีนหรือฉีดเพียง 1 เข็ม

ส่วนรายงานผลเกี่ยวกับอาการผู้ติดเชื้อโอมิครอนในไทยจากข้อมูล  53,709 ราย พบว่าไม่มีอาการ 53.1% มีอาการป่วย 46.9% ส่วนใหญ่เจ็บคอ ไอ หรือมีไข้ต่ำ ๆ หากเป็นกลุ่มเสี่ยง 608 อาจกลายเป็นอาการหนัก เชื้อลงปอดได้ นอกจากนี้ยังพบ การติดเชื้อในกลุ่มเด็ก 0.9 ปีมากขึ้น

“จากสถานการณ์ที่ต้องเตือนภัยระดับ 4 เนื่องจากการติดเชื้อตอนนี้เราแบ่งสีเป็นส้ม และแดง โดยรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (13-19 ก.พ.65) พบว่า ติดเชื้อกระจายทั่วประเทศแล้ว เป็นพื้นที่สีแดงและสีส้ม โดยสีแดงมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 100 ต่อประชากรแสนคน ส่วนสีส้มประมาณ 10-99 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งกลุ่มอายุที่ติดเชื้อพบว่า เพิ่มขึ้นทุกกลุ่ม แต่มากสุดคือ วัยทำงาน และวัยเด็ก ดังนั้นการทำงาน การทานข้าวด้วยกัน การมีกิจกรรมร่วมกันยังเป็นปัจจัยเสี่ยงติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง’’นพ.จักรรัฐ กล่าว

นพ.จักรรัฐ กล่าวต่อว่า  ขณะนี้ยังต้องจับตาดูอีก 2 สัปดาห์ และคอยดูการประชุมศบค.ชุดใหญ่ในวันที่ 23 ก.พ. ว่าจะมีการผ่อนคลายมาตรใด ๆ หรือไม่ เนื่องจากยังมีกิจกรรมกิจการอีกหลายอย่างรอการผ่อนคลาย รวมถึงการลดวันกักตัว ในกลุ่มผู้ป่วยเสี่ยงสูง และหากประชาชนไม่ร่วมมือกัน ช่วยกัน ตัวเลขผู้ติดเชื้อก็จะไต่สูงขึ้นแน่นอน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img