กรมวิทย์ฯเผย “โอมิครอน BA.2” พบมากสุดในไทยกว่า 80% พร้อมเผยส่งข้อมูลเดลตาครอนในไทย 73 รายให้จีเสด พบตัวอย่างตั้งแต่ช่วงธ.ค.64-ม.ค.65 ทุกรายหายดีแล้ว ย้ำองค์การอนามัยโลกยังไม่กำหนด “เดลตาครอน” เป็นสายพันธุ์น่ากังวล
เมื่อวันที่ 23 มี.ค.65 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศูภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า จาการตรวจ 1,9082 พบเดลตา 1 ราย ที่เหลือเป็นโอมิครอน ล่าสุด 99.9% ส่วนคนที่เดินทางมาจากต่างประเทศตรวจเจอเชื้อทั้งหมดเป็นเชื้อโอมิครอน นอกจากนี้ยังแบ่ง BA.1 BA.2 ส่วนจุด BA.3 ยังไม่เจอ ที่เจอกว่า 2 พันรายนั้นส่วนใหญ่เป็น BA.2 เบียดจาก 18% วันนี้ 78.5% ส่วนในประเทศ 83% ซึ่ง BA.2 แพร่เร็วกว่า BA.1 อยู่ 1.4 เท่า เพราะฉะนั้นในเวลาถัดไปเราจะเห็นการครองตลาดของ BA.2 แต่ยังไม่มีข้อมูลว่ามีความแตกต่างเรื่องความรุนแรงแต่อย่างไร เพียงแพร่เร็วกว่า
สำหรับตัวอย่างที่นำมาตรวจนั้นเป็นการสุ่มมาจากกลุ่มประชาชนที่ติดเชื้อเยอะสุด กลุ่มเดินทางมาจากต่างประเทศ กลุ่มที่มีอาการรุนแรง เสียชีวิต กลุ่มบุคลากรการแพทย์ กลุ่มที่ CT ต่ำๆ ซึ่งหมายถึงมีเชื้อค่อนข้างเยอะ กลุ่มที่เป็นคลัสเตอร์ใหม่ 50 คนขึ้นไป คนที่ได้วัคซีนครบโดสแล้ว เป็นต้น ซึ่งไม่ว่ากลุ่มไหน BA.2 ก็เป็นสายพันธุ์หลัก เปอร์เซ็นต์ไม่ได้แตกต่างกัน โดยในคนที่เสียชีวิตเจอ BA.2 อยู่ที่ 60% ซึ่งไม่ได้มากกว่าสัดส่วนภาพรวมที่อยู่ 80% และอย่างที่อธิบายว่าคนที่เสียชีวิต อาจจะเป็นคนติดเชื้อเมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ต้องไปดูสัดส่วน BA.2ในช่วงนั้นเช่นกน แต่สรุปเบื้องต้น BA.2ไม่ได้มีอิทธิฤทธิ์ทำให้เสียชีวิตมากขึ้นแต่อย่างใด
นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า เมื่อลงสายพันธุ์ย่อยไปอีก โดย BA.2 จะมีสายพันธุ์ย่อย BA.2.2, BA.2.2 และ BA.2.3 ซึ่งที่ฮ่องกงที่มี BA.2.2 แต่ถ้าเข้าไปดูข้อมูลในจีเสด จนถึงวันนี้ยังไม่มีรายงาน BA.2.2 นั่นหมายความว่ายังไม่ได้ถูกเรียกเป็นสายพันธุ์ BA.2.2 แต่มีการรับรู้รับทราบว่ามีเรื่องอย่างนี้เกิดขึ้น ดังนั้นจึงยังไม่มีข้อมูลที่จะบอกว่าแพร่กระจายเร็วหรือไม่ รุนแรงขึ้นหรือไม่ หนีวัคซีนได้ดีหรือไม่ แม้แต่ที่ฮ่องกงก็เงียบไปแล้วไม่ได้มายืนยันว่าที่เสียชีวิตมากขึ้นเป็นเพราะ BA.2.2 หรือไม่
“ส่วนประเทศไทยซึ่งมีระบบเฝ้าระวัง ถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวสัปดาห์ละ 500-600 ราย พบ BA.2.2 จำนวน 14 ราย เป็นคนในประเทศ และคนที่เดินทางมาจากต่างประเทศอีก 8 ราย ส่วน BA.2.3 นั้นเราเจอเยอะกว่าด้วยซ้ำ ในประเทศ 27 ราย คนเดินทางมาจากต่างประเทศ 34 ราย สอดคล้องกับคนที่ถูกรายงานเข้าไปในจีเสดที่พบ BA.2.2 น้อยกว่า BA.2.3 แต่เนื่องจากการกลายพันธุ์ตรงนี้ไม่ได้มีผลมากมกาย ท้ายที่สุดอาจจะหายไป ไม่ได้มีประเด็นอะไรมากมาย” นพ.ศุภกิจ กล่าว
นพ.ศูภกิจ กล่าวต่อว่า สำหรับกรณีเดลตาครอน เดิมมีรายงานการปนเปื้อนที่ไซปรัซ แต่ต้องทำความเข้าใจว่า เวลา 2 เชื้อมาอยู่ด้วยกัน มี 2 กรณี คือ 1.ตรวจพบ 2 สายพันธุ์ในคนเดียว แต่เชื้อแต่ละตัวจะเป็นแบบต่างคนต่างอยู่ กับ 2.เชื้อ 2 ตัวมาเจอกันเกิดผสมพันธุ์กลายเป็นสายพันธุ์ใหม่ หรือเรียกว่าไฮบริจด์ ขณะนี้สิ่งที่เขาเจอคือสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งมาจากายพันธุ์ย่อย BA.1 ส่วนเดลตามาจากสายพันธุ์ย่อย AY4 เกิดเป็นเดลตาครอน ซึ่งมีรายงานเข้าไปที่จีเสดประมาณ 4 พันกว่าราย แต่ที่ยอมรับและสรุปว่าเป็นเดลตาครอนจริง มี 64 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในฝรั่งเศส 50 กว่าราย ที่เหลือกระจายประเทศอื่นๆ เล็กน้อย
ส่วนอีก 4 พันกว่าราย รอการวิเคราะห์เพิ่มเติมว่าใช่เดลตาครอนหรือไม่ ซึ่งในจำนวนนี้มีรายงานที่ประเทศไทยส่งไปด้วยประมาณ 73 กว่าราย แต่ไม่ต้องตกใจ เพราะอย่างที่เรียนว่าถ้าเดลตาลดลงเรื่อยๆ โอกาสที่จะมาผสมกันน้อยลงเรื่อยๆ เพราะไม่มีเดลตาเหลือให้ผสมแล้ว แต่ก็ขึ้นอยู่ว่าเจ้าเดลตาครอนที่พบแล้วนั้นมีอิทธิฤทธิ์อิทธิเดชอะไรหรือไม่ เช่น แพร่เร็ว อนาคตก็อาจจะเห็นการแพร่แทนโอมิครอน แต่ตอนนี้ยังไม่เห็นวี่แววว่าเป็นแบบนั้น ในส่วนความรุนแรงก็ไม่ได้มีข้อมูลตรงนี้ ขณะที่องค์การอนามัยโลกก็ยังจัดชั้นเดลตาครอนว่าเป็นสายพันธุ์ที่ต้องตามดูข้อมูล ยังไม่ได้จัดชั้นว่าเป็นสายพันธุ์น่าสนใจ เปรียบเทียบแล้วยังเป็นเด็กประถม แต่ก็ต้องติดตามดู
“สรุป สถานการณ์การระบาดของไทยปัจจุบันเกือบทั้งหมดเป็นโอมิครอน สายพันธุ์ย่อยเป็น BA.2 วันนี้ 80 กว่าเปอร์เซ็นต์ และน่าจะเพิ่มขึ้น ส่วนสายพันธุ์ BA.2.3 และ BA.2.3 ก็เจอประปรายจากการตรวจรหัสพันธุกรรมทั้งตัว ส่วนเดตาครอนทั่วโลกยืนยัน 64 รายอีก 4 พันรายรอสอบข้อมูล ส่วนไทยส่งไป 73 ราย ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ยังมีการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าอยู่มาก ปัจจุบันลดลงมาก องค์การอนามัยโลกยังไม่ได้จัดให้เป็นสายพันธุ์ต้องเฝ้าระวัง ยังไม่มีข้อมูลแพร่เร็ว รุนแรงหรือหลบภูมิมากกว่าเดิม ดังนั้นมาตรการทั่วไปที่ทำอยู่ปัจจุบันก็ยังใช้ได้ แต่ต้องเร่งฉีดวัคซีนในกลุ่มเสี่ยง 608 ก่อนสงกรานต์” อธิบดีกรมวิทย์ฯ กล่าว
เมื่อถามถึงอาการของผู้ติดเชื้อเดลตาครอน 73 รายในไทย นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ทั้งหมดเป็นตัวอย่างที่เกิดช่วงเดือนธ.ค.2564 และ ม.ค.2565 ซึ่งเป็นช่วงที่มี 2 เชื้ออยู่มาก เลยมีโอกาสเกิดลูกผสมได้ โดยทั้ง 73 ราย ตรวจสอบข้อมูลหายแล้ว อย่างที่บอกว่าเป็นพันธุ์ผสมที่อาจจะไม่หนักหนา ยิ่งไม่แพร่เร็ว ก็จะจบเร็ว แม้ว่าจะรุนแรงกว่าก็ตาม เหมือนเชื้อเบตาที่โหดกว่า แต่ความสามารถแพร่โรคต่ำ ก็เลยจบเร็ว อย่างไรก็ตาม ตอนนี้เราก็เลยกังวลน้อย แต่ต้องติดตามข้อมูลถ้าไม่แพร่เร็วก็จะถูกเบียดหาย.