วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSสธ.เล็งลดระดับเตือนภัยโควิดเป็นระดับ 2 ขณะที่ ตัวเลขคนติดเชื้อใหม่ต่ำต่อเนื่อง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สธ.เล็งลดระดับเตือนภัยโควิดเป็นระดับ 2 ขณะที่ ตัวเลขคนติดเชื้อใหม่ต่ำต่อเนื่อง

สธ.ชี้ทุกจังหวัดทั่วไทยโควิดลดระดับ จ่อถกปรับการเตือนภัยระดับ 2 สัปดาห์นี้ เผยปรับการตรวจ ATK แค่คนมีอาการ พร้อม เริ่ม 1 มิ.ย.นี้ปรับรูปแบบรายงานสถานการณ์เฉพาะผู้มีอาการเท่านั้น 

     

เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 65 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด -19 ในประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ ต่ำกว่าเส้นคาดการณ์ ทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ อาการหนักและผู้เสียชีวิต เข้าสู่ระยะโรคลดลงแล้วในทุกจังหวัด แม้มีการเปิดเทอมมาระยะหนึ่งพบการติดเชื้อเป็นกลุ่มบ้างในบางแห่ง โดยเฉพาะโรงเรียนประจำแต่ให้แยกรักษา ไม่ต้องปิดเรียน และเพิ่มระยะห่างกัน รวมถึงฉีดวัคซีนป้องดันการติดเชื้ออาการรุนแรง

“ในสัปดาห์นี้กระทรวงสาธารณสุขจะมีการพิจารณาปรับลดระดับการเตือนภัยโรคโควิด -19 จากระดับ 3 มาเป็นระดับ 2 ในบางจังหวัด” นพ.จักรรัฐ กล่าว

ผอ.กองระบาดฯ กล่าวต่อว่า สถานการณ์ในไทยเริ่มลดลง สอดคล้องกับสถานการณ์ในหลาย ๆ ประเทศในเอเชีย ดังนั้นหลายประเทศมีการปรับรูปแบบการรายงานสถานการณ์แล้ว โดยในส่วนของประเทศไทยก็จะมีการปรับรูปแบบการรายงานในวันที่ 1 มิ.ย.นี้  โดยเน้นการรายงานผู้ติดเชื้อมีอาการป่วย เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ

ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง และการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ส่วนกรณีการเปิดผับ บาร์ คาราโอเกะ ที่จะเปิดให้บริการนั้นยังขอให้ตรวจ ATK ทุกสัปดาห์ บุคคลที่ทำงานใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ เด็ก เล็ก ให้ตรวจ ATK ทุกสัปดาห์ ส่วนออฟฟิศ สถานประกอบการอื่นๆ ไม่จำเป็นต้องตรวจทุกสัปดาห์ แต่ให้ตรวจคนที่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ทั้งนี้ ขอความร่วมมือในการฉีดวัคซีนด้วย โดยคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนเลยก็ขอให้มารับอย่างน้อย 1 เข็ม

เมื่อถามถึงระบบเจอ แจก จบ ยังมีอยู่และรายงานด้วยหรือไม่ นพ.จักรรัฐ กล่าวว่า ระบบเจอ แจก จบ ยังคงมีอยู่ เป็นการลงทะเบียนเข้าระบบการดูแลของสำนักงานปลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ดังนั้นยืนยันตัวเลขผู้ติดเชื้อไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่มีการจัดกลุ่มเน้นรายงานผู้มีอาการที่ต้องเข้ารับการรักษา  

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img