วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightแนวโน้ม BA.4 และ BA.5 พุ่ง คาดพีคสุด ก.ย.นี้ติดเชื้อวันละ 4 พันราย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

แนวโน้ม BA.4 และ BA.5 พุ่ง คาดพีคสุด ก.ย.นี้ติดเชื้อวันละ 4 พันราย

สธ.ชี้แนวโน้ม BA.4 และ BA.5 ทำโควิดไทยพุ่งอีกระลอก พีคสุด ก.ย.นี้ ติดเชื้อวันละ 4 พันราย เผยสถานการณ์ล่าสุด กทม. ปริมณฑล จังหวดท่องเที่ยว เริ่มมีสัญญาณเตือนระบาด แนะปรับมาตรการคุมโรค วอนสวมหน้ากาก ฉีดวัคซีน

เมื่อวันที่ 4 ก.ค.65 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.จักรรัฐ พิทยาวงอานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้หลายประเทศทั่วโลกพบผู้ติดเชื้อเริ่มเพิ่มขึ้น และมีรายงานผู้เสียชีวิตต่อเนื่อง ซึ่งมีความสัมพันธุ์กับสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 แต่เป็นการติดเชื้อระลอดเล็กๆ ซึ่งกรณีที่บางประเทศเพิ่มขึ้น บางประเทศลดลง คนที่เสียชีวิตเพราะไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือฉีดนานแล้ว บางประเทศที่ถอดหน้ากากแล้ว ต้องประกาศให้กลับมาใส่หน้ากากอีกครั้ง เช่น  ฝรั่งเศส เพราะพบ BA.5 เพิ่มขึ้น ส่วนประเทศไทยมี BA.5 ขึ้นมา 20 % ใกล้เคียงกับทั่วโลก เพราะไม่ได้จำกัดการเดินทาง แต่ยังไม่พบพีคใหม่ที่ชัดๆ เหมือนประเทศอื่น เราอาจจะกำลังเข้าสู่ระยะที่อาจจะพบการระบาดเพิ่มเติมหลังโอมิครอน BA.1 BA.2 มาเป็นการระบาดของ BA.4 และ BA.5 ก็อาจจะมีผลตามมาบ้าง    

“ขณะนี้แนวโน้มมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น ในกทม. ปริมณฑล จังหวัดใหญ่ จังหวัดท่องเที่ยว ส่วนจังหวัดเล็ก ๆ มีการติดเชื้อลดลง” นพ.จักรัฐ กล่าว และว่า นี่น่าจะเป็นสัญญาณเตือน แต่ยังไม่ได้มีสถานการณ์รุนแรงมาก เป็นสัญญาณเตือนเริ่มต้นว่า กทม. ปริมณฑล, จังหวัดใหญ่ จังหวัดท่องเที่ยว ต้องพิจารณาควบคุมการระบาดบางส่วน อาจจะต้องเพิ่มมาตรการป้องกันโรค เช่น การสวมหน้ากากอนามัย โดยเฉพาะพื้นที่รวมกลุ่มคนมาก ๆ ขนส่งสาธารณะทุกประเภท ทั้งนี้ สถานที่เสี่ยง พบระบาดกลุ่มก้อนในจังหวัดเหล่านี้รวมถึง 3 จังหวัดชายแดนใต้ คือ โรงเรียน สถาบันการศึกษาหลายจังหวัด โดยพบเป็นคลัสเตอร์เล็กๆ ซึ่งคุมได้ แต่อาจจะแพร่สู่ครอบครัว กลุ่ม 608 ได้

ทั้งนี้ คาดว่า หลังวันที่ 1 ก.ค. เป็นต้นไป-ปี 2566 คาดว่าตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไปจนถึง 10 สัปดาห์ข้างหน้า จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และเข้ารับการรักษาในรพ.มากขึ้น แต่อาจจะเข้ารับการรักษาในรพ.ไม่มากเท่าช่วงต้นของโอมิคอน มีหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัคซีนที่ฉีดจำนวนมาก และอีกปัจจัยสำคัญคือการป้องกันโรคส่วนบุคคล หากยังป้องกันกันใกล้เคียงก่อนผ่อนคลายมาตรการกราฟจะไม่สูงมาก แต่หากผ่อนคลายหมด คนไม่สวมหน้ากากเลย เส้นกราฟจะสูงมาก โดยคาดว่า เดือนก.ย. สูงสุดวันละ 4 พันคน

นพ.จักรรัฐ อธิบายเพิ่มเติมว่า สถานการณ์ในประเทศไทยขณะนี้ มีผู้ป่วยอาการหนัก 677 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 293 ราย พบว่าปอดอักเสบเริ่มเพิ่มขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สอดคล้องกับที่มีรายผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก ยังทรงตัว  สำหรับผู้ป่วยเสียชีวิตทรงตัว ลดลงเล็กน้อย ขณะที่ผู้ป่วยรายใหม่ที่เข้ารักษาตัวในรพ.ก็ยังทรงตัว แต่ผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงเพิ่มขึ้น จากข้อมูล HI เคยมีผู้ป่วยเข้าระบบหลักหมื่นคน ตอนนี้เพิ่มมาเป็น 1.4 หมื่นคน อาจจะเป็นไปได้ว่ามีการระบาดเล็กๆ ในครอบครัว จึงรักษาด้วยเองและลงทะเบียบรับยากับสปสช. ทำให้ OPSI เพิ่มขึ้นจากประมาณ 191,000 เป็นประมาณ 207,000 ราย เพิ่มขึ้นค่อนข้างเยอะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

สรุปเสียชีวิตรอบสัปดาห์ ที่เกิดจากโรคโควิด-19 โดยตรง 106 ราย เป็นผู้ป่วย 608 ทั้งหมด ในจำนวนนี้ เกือบ 50% ไม่ฉีดเลยสักเข็ม บางคนฉีดเข็มเดียว พออาการรุนแรงก็ไม่สามารถป้องกันได้ บางส่วนฉีด 2 เข็ม นานเกิน 3 เดือน ทั้งนี้ 608 เมื่อมีการติดเชื้ออาการป่วยจะค่อนข้างเยอะ เพราะภูมิคุ้มกันมีไม่มาก หลายโรคแม้ฉีด 2 เข็ม แต่ป้องกันไม่ได้ โดยเฉพาะโอมิครอน ต้องฉีดเข็มกระตุ้น ทั้งนี้กลุ่มที่เสียชีวิตเยอะเป็นกลุ่มผู้ป่วยไตเรื้อรัง หลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ มะเร็ง สรุปผู้ป่วยปอดอักเสบเข้ารพ. และครองเตียง ภาพรวมทั้งระเทศราวๆ 10.9 % บางจังหวัดมีการปรับเตียงไปใช้ดูแลผู้ป่วยโรคอื่นๆ แล้ว เหลือเตียงสำหรับโควิดไว้บางส่วน จึงทำให้ดูเหมือนว่าสัดส่วนอัตราการครองเตียงสูงขึ้น เช่น กทม.ปริมณฑล จังหวัดท่องเที่ยวอื่นๆ แต่การครองเตียงที่ระดับ 20-30% ยังสามารถรองรับได้ เพราะเกณฑ์การรองรับคือ 50% หากเกินนี้จึงจะมีมาตรการเพิ่มเตียงได้.  

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img