วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 28, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight‘เสี่ยหนู’ชี้‘พรก.ฉุกเฉิน’ไม่กระทบวิถีชีวิต เตรียมชง‘ศบค.ชุดใหญ่’ลดสถานะโควิด
- Advertisment -spot_imgspot_img

‘เสี่ยหนู’ชี้‘พรก.ฉุกเฉิน’ไม่กระทบวิถีชีวิต เตรียมชง‘ศบค.ชุดใหญ่’ลดสถานะโควิด

‘อนุทิน’ชี้พรก.ฉุกเฉิน ไม่กระทบวิถีชีวิต เตรียมเสนอศบค.พิจารณาลดระดับสถานการณ์โควิด จากโรคติดต่อร้ายแรงเป็นโรคต้องเฝ้าระวัง

เมื่อวันที่ 18 ส.ค.65 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ในวันที่ 19 สิงหาคม นี้ ว่า กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะนำเสนอ ให้ที่ประชุมรับทราบถึงมติของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ที่ว่าด้วยเรื่องของการลดระดับสถานการณ์โควิด-19 จากโรคติดต่อร้ายแรง เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง ส่วน สธ.จะเสนอให้ที่ประชุม ศบค. พิจารณาใช้กฎหมายปกติได้แล้วหรือไม่นั้น คงเป็นส่วนประกอบ เพราะ พรก.ฉุกเฉิน ที่นำมาควบคุมสถานการณ์โควิด-19 เป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรี และ ศบค. เป็นผู้ประกาศบังคับใช้ และข้อมูลของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติให้โรคโควิด-19 เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง เหมือนกับการเปลี่ยนจากพื้นที่สีแดง ให้เป็น พื้นที่สีส้มอ่อนๆ ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางที่ใช้ประกอบการตัดสินใจในเรื่องของการใช้ พรก. ฉุกเฉิน ได้อีกแนวทางหนึ่ง แต่ขึ้นอยู่กับศบค.

อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์โควิด-19 ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขมองว่า พรก.ฉุกเฉิน ยังมีความจำเป็นหรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า ความจริงมีผลหลายอย่างอย่าไปมองว่า พรก.ฉุกเฉิน จะมาจำกัดสิทธิเสรีภาพ เพราะตรงนี้ไม่เกี่ยวกัน เป็นเรื่องของการควบคุมสถานการณ์โรคระบาดเท่านั้น การมี พรก.ฉุกเฉิน ทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นไปได้ด้วยความคล่องตัวมากขึ้น เมื่อต้องการเวชภัณฑ์ ยา วัคซีน ภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน จะมีกระบวนการที่ทำให้เกิดความรวดเร็วขึ้นได้ การมี พรก.ฉุกเฉินเท่ากับการมี ศบค.

ทั้งนี้ เมื่อมีปัญหาเร่งด่วนก็สามารถนำเข้าประชุม ศบค.ได้ โดยมีทุกภาคส่วนได้รับทราบ ทั้งนายกรัฐมนตรี ฝ่ายปกครอง ตำรวจ ทหาร อาจารย์แพทย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์ คมนาคม พาณิชย์ จะเห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความสบายใจ มั่นใจ ที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ เหมือนมีที่พิงหลังให้ข้าราชการที่ต้องดูแลประชาชน หากไม่มี พรก.ฉุกเฉิน ทุกอย่างต้องเป็นไปตามระเบียบพัสดุ และระเบียบต่างๆ ซึ่งถ้าทุกคนเข้าใจได้ ร่วมมือได้ พยายามรักษาตัวเองไม่ให้มีอาการรุนแรง ก็จะค่อยๆปรับไป

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะต้องถึงสถานการณ์จุดใด จึงควรยกเลิกพรก.ฉุกเฉิน เนื่องจากขณะนี้เองก็ใกล้เลือกตั้งแล้ว นายอนุทิน กล่าวว่า พรก. ฉุกเฉินในกรณีนี้ ไม่ได้ไปกระทบวิถีชีวิตของใคร แต่อย่างใด น่าจะเป็นสิ่งที่ดีเสียด้วยซ้ำ เพราะสามารถรวบรวมความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆได้ ซึ่งตรงกับช่วงจังหวะเวลาที่เราจะไปดูแลประชาชน ได้อย่างเต็มที่ ถือเป็นหนึ่งในข้อมูลที่หากจะมีการพิจารณาไม่ใช้ พรก.ฉุกเฉินต่อไปในอนาคต นี่ก็เป็นอีกข้อมูลหนึ่งที่ว่าลดระดับจากการเป็นโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งระบาดมากว่า 2 ปีลงมาเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง ลดสถานะของโรค ก็น่าจะเป็นแนวโน้มที่ดี

เมื่อถามถึงแนวโน้มการใช้วัคซีนตัวใหม่ของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ในประเทศต่างประเทศสามารถใช้ควบคุมโรคโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า และโอมิครอนได้แล้ว นายอนุทิน กล่าวว่า หากคณะกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ พิสูจน์แล้วเห็นชอบก็จะนำเสนอ เมื่อเขาเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์เราก็จะนำมาพิจารณา เราพร้อมทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับประชาชน

ผู้สื่อข่าวถามว่า ประเทศไทยต้องรอก่อนใช่หรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า เป็นเรื่องทางการแพทย์ จึงต้องมีหลักทางการแพทย์มาเป็นตัวนำ เพื่อนำยาหรือวัคซีน หรือเวชภัณฑ์ มาให้ประชาชน โดยต้องมีขั้นตอน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img