วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS''กรมชลฯ''สั่งเร่งระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา ลงทะเล เตรียมรองรับฝนระลอกใหม่
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

”กรมชลฯ”สั่งเร่งระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา ลงทะเล เตรียมรองรับฝนระลอกใหม่

อธิบดีกรมชลประทาน ลั่นไม่ประมาทสถานการณ์ฝนตกอีก 4 เดือน สั่งเร่งระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา ลงทะเล เตรียมพื้นที่เหนือเขื่อนรองรับฝนระลอกใหม่ ชี้ปริมาณน้ำลุ่มน้ำ ปิง วัง น่าน เพิ่มขึ้น ยันเขื่อน 440 เขื่อน ยังรับน้ำได้ 2.9 หมื่นล้านลบ.ม.”

เมื่อวันที่ 22 ส.ค.65 นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา ว่าได้ปรับการระบายน้ำเขื่อนเพิ่มขึ้นโดยมีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,500 ลบ.ม./วินาที (เมื่อวาน 1,400 ลบ.ม./วินาที) ระดับน้ำเหนือเขื่อน +16.10 ม.รทก.(ระดับน้ำทะเลปานกลาง) (เมื่อวาน +16.40 ม.รทก.) ระดับน้ำท้ายเขื่อน +12.83 ม.รทก. (เมื่อวาน +12.46 ม.รทก.) ซึ่งได้แจ้งต่อคณะกรรมการอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.) อย่างไรก็ตามจะคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อพี่น้องประชาชนให้น้อยที่สุด

ทั้งนี้ได้พร่องน้ำเพิ่มการเร่งระบายออกอ่าวไทย เพื่อเตรียมพื้นที่เหนือเขื่อนไว้รองรับปริมาณฝนตกที่อาจจะตกถึงช่วงเดือนธันวาคม และกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าพายุอาจจะเข้าประเทศไทยอีก2 ลูก ซึ่งกรมชลประทาน เป็นหน่วยงานรับปฏิบัติในการบริหารจัดการน้ำ ได้นำการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา มาวิเคราะห์ประเมินกับสถานการณ์น้ำท่า พร้อมกับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาจริง วัดได้จากสถานีวัดน้ำในลำน้ำต่างๆ รวมทั้งเทียบเคียงกับปริมาณน้ำฝนในปีต่างๆ และระดับการกักเก็บน้ำในเขื่อน จุดเสี่ยงน้ำท่วม น้ำหลาก นำมาวิเคราะห์เพื่อเป็นวิธีปฏิบัติดำเนินการเตรียมรองรับสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า

“ยืนยันว่ากรมชลประทาน ไม่ประมาทผมสั่งเตรียมพร้อมตลอด24 ชั่วโมง ด้านวิชาการเทคโนโลยีต่างๆประสานกับหน่วยงานเกี่ยวข้องทั่วประเทศ ทั้งด้านกำลังคน เครื่องไม้เครื่องมือ ไปติดตั้งไว้ล่วงหน้าในพื้นที่เสี่ยง พื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่การเกษตร เพื่อสามารถปฏิบัติการได้ทันเหตุการณ์ โดยพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ได้ใช้เขื่อนเจ้าพระยา เป็นหัวใจหลักในการบริหารจัดการน้ำ ดูจากสถานีวัดน้ำลุ่มน้ำ ปิง กว่า 300 ลบ.ม.ต่อวินาที วัง 922 ลบ.ม.ต่อวินาที น่าน 920 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น จะเห็นว่าปริมาณน้ำที่ สถานีวัดน้ำซี 2 จ.นครสวรรค์ กว่า 1,500 ลบ.ม.ต่อวินาที และรับน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังอีก ทั้งนี้ยังมี 4 เขื่อนหลักยังรองรับน้ำได้อีก 12,000 กว่าล้านลบ.ม.ถ้าดูภาพรวมทั้งประเทศมีเขื่อน 440 แห่ง รวมรับน้ำได้ 2.9 หมื่นล้านลบ.ม.”นายประพิศ กล่าว

อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่าจะดูแลพื้นที่ปลูกข้าวลุ่มเจ้าพระยา จนชาวนาเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วเสร็จก็จะประมาณเดือนกันยายน โดยได้นำเครื่องสูบน้ำไปพร้อมดำเนินการไว้แล้ว ซึ่งสถานการณ์ฝนยังอยู่อีก 4 เดือน กรมชลประทาน จึงเข้มงวดในการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามคำสั่งรัฐบาลและนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ที่ต้องลดความเดือดร้อนที่อาจจะเกิดกับประชาชนให้เร็วที่สุดและที่สำคัญต้องแจ้งเตือนล่วงหน้า

ทั้งนี้การระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา ได้ใช้แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นทางตรงสามารถระบายออกทะเลโดยเร็ว ไม่มีการผันน้ำออกทางฝั่งตะวันออก รอบกรุงเทพ แต่อย่างใด ทั้งคลองหกวา คลองบางขนาด คลองแสนแสบ คลองสำโรง สำหรับสถานการณ์จ.อุบลราชธานี วัดปริมาณน้ำที่แม่น้ำชี แม่น้ำมูล มีน้ำเพิ่มขึ้นจึงได้นำเครื่องผลักดันน้ำ 100 เครื่องไปติดตั้งเพื่อช่วยเร่งระบายน้ำลงแม่น้ำโขง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img