วันจันทร์, กรกฎาคม 8, 2024
หน้าแรกHighlightประธานศาลรธน.ห่วงปมความเห็น“มีชัย” สั่งสอบข้อเท็จจริง-หลุดไปได้อย่างไร?
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ประธานศาลรธน.ห่วงปมความเห็น“มีชัย” สั่งสอบข้อเท็จจริง-หลุดไปได้อย่างไร?

ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ห่วงปมความเห็น “มีชัย”หลุด สั่งสอบข้อเท็จจริงหลุดได้อย่างไร ไม่คอนเฟิร์ม 8 ก.ย.จะนัดฟังคำวินิจฉัยปมวาระ 8 ปีนายกฯเลยหรือไม่

จากกรณีศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีไปเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่าน ซึ่ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็ให้ทีมกฎหมายส่งคำชี้แจงไปยังศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญจะมีการประชุมนัดพิเศษในวันที่ 8 กันยายน เพื่อพิจารณาคำชี้แจงของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ และ นายปกรณ์ นิลประพันธ์ อดีตประธานและเลขานุการคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หากสิ้นข้อสงสัยอาจนัดวินิจฉัยเลย

แต่เมื่อวานนี้ 6 ก.ย. โลกออนไลน์ ก็มีการเผยแพร่ความเห็นของนายมีชัย เกี่ยวกับการนับวาระนายกฯ 8 ปี มีความยาว 3 หน้า ระบุถึง วาระของคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีว่า ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 อันเป็นวันที่รัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับ ให้เหตุผลไว้ 4 ข้อ คือการดำเนินการก่อนรัฐธรรมนูญปี 2560 บังคับใช้ ไม่อยู่ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนี้ เว้นแต่มีบทบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ บทบัญญัติว่าด้วยเรื่องการดำรงตำแหน่งของ ครม. มุ่งหมายที่จะใช้กับ ครม.ที่ดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญนี้ การกำหนดให้ ครม. ก่อนเลือกตั้ง เป็น ครม. ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพียงเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินไม่ติดขัดเท่านั้น และการผ่อนปรนดังกล่าวมีผลต่อ ครม. และนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ คือวันที่ 6 เมษายน 2560 จนมีการตั้งคำถามว่า ทำไมในบันทึกการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 500 วันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2561 นายมีชัย ฤชุพันธุ์ มีความเห็นให้นับวาระนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ก่อนรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ ซึ่งเรื่องนี้มีคำอธิบายว่า เป็นการจดรายงานที่ไม่ครบถ้วน สรุปตามความเข้าใจของผู้จด อีกทั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญยังไม่ได้ตรวจรับรองรายงานการประชุมนั้น

ทั้งนี้หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นด้วยกับคำชี้แจงของ นายมีชัย จะทำให้ พลเอก ประยุทธ์ มีเวลาดำรงตำแหน่งได้จนถึง 6 เมษายน ปี 2568 ได้เป็นนายกฯต่อเนื่องถึง 2 ปีเศษ ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น

เมื่อวันที่ 7 ก.ย.นายเชาวนะ ไตรมาส เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า จากกรณีที่มีเอกสารดังกล่าวหลุดไปตามโลกออนไลน์ ทางประธานศาลรัฐธรรมนูญ มีความกังวลเรื่องนี้มาก และท่านก็มีความเสียใจที่มีการรั่วไหลของเอกสารนั้น ซึ่งเรื่องนี้เห็นว่ามีผลกระทบต่อผู้ให้ความเห็นและเกี่ยวโยงกับคู่ความในคดีดังกล่าว ดังนั้นขอให้สื่อฯให้ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของการตรวจสอบ ยังไม่ได้มีข้อสรุป แต่ประธานมีความห่วงใยและเสียใจ ในชั้นนี้ก็ขอเรียนว่าข่าวสารในการประชุม 8 ก.ย.เป็นอย่างไรก็ขอให้ติดตามการแถลงของศาลอีกชั้นหนึ่ง ส่วนเอกสารมีการอ้างอิงว่านายมีชัยส่งให้ศาลนั้น มีความจำเป็นศาลต้องตรวจสอบด้วย

“ยืนยันศาลรัฐธรรมนูญมีความเป็นกลาง และตุลาการ 9 คนมีความเป็นอิสระ และ ณ.เวลาเมื่อยังไม่เป็นที่ยุติ ก็ยังไกลเกินไปที่จะบอกว่าท่านตัดสินแล้ว อันนั้นเป็นการด่วนสรุปที่เร็วเกินไป อย่างไรก็ตามพรุ่งนี้มีการประชุมจะมีผลอย่างไรขึ้นอยู่กับศาลมีผลจากการประชุมในเรื่องนี้อย่างไร ขอให้ช่วยกัน ประธานฝากย้ำมาเลยว่าเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และให้ข่าวสารตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น”เลขาฯศาลรธน.กล่าว

ส่วนจะเอาผิดคนปล่อยเอกสารหรือไม่ เลขาธิการศาลรธน. กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของเรื่องเป็นแค่ไหนอย่งไร แต่มีผลกระทบต่อผู้ที่ให้ความเห็นและผู้เกี่ยวข้องและผู้วิจารณ์ และคาดการณ์ถึงผลเห็นดังกล่าว ตรงนั้นเป็นผลกระทบที่เกี่ยวเนื่อง แต่เมื่อมีเหตุอย่างนั้นประธานเห็นว่าจะต้องมีการตรวจสอบในเบื้องต้นเสียก่อน ส่วนเอกสารเป็นของจริงหรือไม่ ยืนยันไม่ได้ เพราะเราเห็นแบบเดียวกับสื่อฯ

เมื่อถามว่า เอกสารความเห็นของนายมีชัย ที่หลุดในโซเชียลมีเดียเป็นของจริงหรือไม่ นายเชาวนะ กล่าวว่า ยังยืนยันไม่ได้ เพราะเห็นแบบเดียวกับสื่อ เห็นในโซเชียล

นายเชาวนะ กล่าวด้วยว่า เรื่องเวลากฎหมายกำหนดไว้ในคดีบางเรื่อง เช่น กฎหมายงบประมาณ พ.ร.ก. ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เป็นต้น คดีเหล่านี้จะกำหนดกรอบเวลาเฉพาะเจาะจง 15-20 วัน แต่คำร้องลักษณะของวาระดำรงตำแหน่ง ไม่มีกำหนดเงื่อนไขเวลา แต่ขั้นตอนการพิจารณาคดีมีกำหนดเวลาไว้อยู่ โดยตามขั้นตอนกระบวนการพิจารณา ที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีการปรึกษาหารือ และลงมติ ปกติคำร้องที่มีคู่กรณี ตามประเพณีปฏิบัติ ศาลจะลงมติกันในรุ่งเช้า และอ่านในช่วงบ่ายหรือเย็นวันเดียวกัน การที่ศาลจะอ่าน ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่อยู่ระหว่างไต่สวน ศาลจะนัดล่วงหน้า โดยมีกรอบเวลาขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 7 วัน ให้คู่ความมาฟัง

“ในการพิจารณาศาลสามารถแจ้งคู่กรณีในการไต่สวนครั้งหลังสุดได้เลยว่า จะให้มาฟังเมื่อไหร่อย่างไร แต่ ณ เวลานี้การไต่สวนยังไม่มี ถ้าศาลจะนัด ศาลจะนัดตามเกณฑ์ของกฎหมายคือ ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 7 วัน” นายเชาวนะ กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img