วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight"ชลน่าน"มีหวังหลังศาลรธน.มีคำสั่งให้สภาฯส่งเอกสารหลักฐานเพิ่ม
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ชลน่าน”มีหวังหลังศาลรธน.มีคำสั่งให้สภาฯส่งเอกสารหลักฐานเพิ่ม

“ฝ่ายค้าน” มีความหวังศาลรธน.รับหลักฐานบันทึกการประชุมครั้งที่ 501 หลังมีคำสั่งให้สภาฯส่งรายละเอียดเพิ่ม ชี้การรับรองการประชุมกรธ.ครั้งที่ 500 บอกให้นับตั้งแต่ปี 57

วันที่ 8 ก.ย. 65 ที่รัฐสภา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้สำนำงานเลขาสภาผู้แทนราษฎรส่งบันทึกการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)ครั้งที่ 501 ไปให้ศาลฯภายในวันที่ 13 ก.ย.นี้ว่า แสดงว่าศาลรัฐธรรมนูญยังมีข้อสงสัย ในบันทึกการประชุมของกรธ.ครั้งที่ 500 ที่ระบุว่าไม่มีการรับรองบันทึกการประชุม ที่มีความเห็นของกรธ.แต่ละคนในเรื่องการดำรงตำแหน่ง 8 ปี ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมถึงความเห็นของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ.ในขณะนั้นด้วย

ในบันทึกการประชุมกรธ.ครั้งที่ 501 ที่ฝ่ายค้าน ได้ยื่นเอกสารเพิ่มเติมผ่านประธานสภาผู้แทนราษฎรไปยังศาลรัฐธรรมนูญนั้นได้รับแจ้งว่าจะส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้ (8 ก.ย.) โดยมีหลักฐานชัดว่าเป็นการรับรองการประชุมครั้งที่ 500 ที่อนุกรรมการได้พิจารณาตรวจสอบแล้วโดยไม่มีการแก้ไขในบันทึกการประชุมนั้นเลย เท่ากับว่าได้รับความเห็นชอบ จึงถือเป็นหลักฐานที่ชัดเจน และยิ่งศาลฯสั่งให้ทางสภาฯส่งหลักฐานในส่วนนี้ไป ก็จะยิ่งทำให้ฝ่ายค้านมีความหวังว่าศาลฯจะรับเอาพยานเอกสารหลักฐานของฝ่ายค้านที่ยื่นไปเข้าสู่การพิจารณาด้วย เพราะจะเป็นการหักล้างคำชี้แจงของนายมีชัยที่หลุดออกมาและระบุว่านับวาระ 8ปี จากวันที่ 6 เม.ย.60 หลังรัฐธรรมนูญบังคับใช้ แล้วอ้างบันทึกการประชุมที่เคยบอกให้นับปี57 นั้น ไม่ใช่เอกสารสมบูรณ์

“สิ่งที่ฝ่ายค้านไม่ได้แย้งไปคือนายมีชัยให้ความเห็นในเรื่องนี้ในฐานะพยานบุคคล ซึ่งศาลฯได้สั่งให้นายมีชัย ให้ข้อมูลในฐานะเป็นประธานกรธ. ดังนั้นต้องเอาความเห็นของตัวเองในขณะที่เป็นประธานในขณะนั้น ซึ่งมีบันทึกไว้เรียบร้อยแล้วให้กับศาลรัฐธรรมนูญไป โดยต้องตอบตามนั้น ซึ่งเป็นความเห็นที่ย้อนแย้งกัน จึงเห็นว่าบันทึกของนายมีชัยที่หลุดออกมาในสังคมออนไลน์เป็นเรื่องที่เข้าทางฝ่ายค้าน และเป็นประโยชน์กับการพิจารณาในมุมของฝ่ายค้านเพราะไม่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานได้ คือมีน้ำหนักไม่พอเพียงหรือขาดความน่าเชื่อถือ และยังเป็นการให้การต่อศาลเป็นเท็จด้วย”นพ.ชลน่าน กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img