ไม่รอดสภาล่มอีก!! ถกญัตติด่วนแห้วส่งครม.จัดทำประชามติแก้รธน.ทั้งฉบับ พร้อมวันเลือกตั้งส.ส.เพื่อให้ได้ประชาธิปไตยเต็มใบ
วันที่ 15 ก.ย.65 ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาฯ คนที่ 1 เป็นประธานกาประชุม โดยนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล เสนอญัตติด่วนด้วยวาจา เรื่องขอให้สภาฯพิจารณาเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)ตามที่สภาฯมีมติในการออกเสียงประชามติ เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องเสนอญัตติด่วนเพราะการสอบถามประชามติไปยังประชาชนเป็นผลประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน และที่ต้องเป็นเรื่องด่วนเพราะขณะนี้สถานการณ์การเมือง จะมีการเลือกตั้งเมื่อไหร่ไม่รู้ และการจัดทำประชามติ ตามพ.ร.บ.ประชามติมาตา 9 (4) ยังมีอีกหลายขั้นตอน เมื่อผ่านสภาฯแล้วต้องไปผ่านวุฒิสภา และต้องเสนอ ครม.หารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เพื่อให้ประชาชนทำประชามติพร้อมกับวันลือกตั้ง จึงเป็นญัติด่วนที่ต้องพิจารณาก่อนปิดสมัยประชุม
ทำให้นายอรรถยากร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะเลขาวิปรัฐบาล ลุกขึ้นค้านโดยขอให้นำวาระรับทราบที่อยู่ในวาระแล้วขึ้นมาพิจารณาก่อน จำนวน 3-4 เรื่อง และให้ใช้เวลาแต่ละเรื่องไม่นาน เพราะมีหน่วยงานรอชี้แจงมาพร้อมแล้ว จากนั้นให้นำญัตติด่วนวาจาดังกล่าวเข้ามาพิจารณา
แต่นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะวิปฝ่ายค้าน ยืนยันให้พิจารณาญัตติด่วนด้วยวาจาก่อน เชื่อว่าจะใช้เวลาไม่นาน จากนั้นจึงพิจารณาวาระรับทราบรายงานจนจบได้ และญัตติด่วนด้วยวาจานี้ พรรคเพื่อไทยก็จะเสนอประกบด้วย เพราะเป็นเรื่องที่เข้าใกล้กรบวนการเลือกตั้งและมีความจำเป็นจะต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จ ไม่ว่าสภาฯจะมีมติไปทิศทางใดก็ตาม และการพิจารณาคาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน เพราะขั้นตอนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพ.ร.บ.ประชามติ
ในที่สุดนายสุชาติ จึงวินิจฉัยว่า ญัตติด่วนด้วยวาจาดังกล่าวได้เข้าสู่วาระแล้ว จึงขอให้ที่ประชุมดำเนินการไปตามที่มีผู้เสนอญัตติด่วนก่อน
จากนั้นนายณัฐพงษ์ ผู้เสนอญัตติ แถลงสาระสำคัญของญัตติ ว่า พ.ร.บ.ประชามติ จะต้องมีการระบุอย่างชัดเจนเรื่องคำถามและคำตอบ รวมถึงสาระสำคัญประกอบการจัดทำประชามติ เพื่อให้ประชาชนสามารถออกเสียงประชามติได้อย่างถูกต้องตรงตามเจตณารมณ์ของประชาชนมากที่สุด เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญที่ถูกสังคมวิพากษ์วิจาร์อย่างกว้างขวาง และเป็นต้นตอของความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจาการรัฐประหาร มีกระบวนการรับรองโดยอาศัยการทำประชามติที่ไม่เสรี และไม่เป็นธรรมตามมาตรฐานสากล มีเนื้อหาบางส่วนที่มีความทดถอยทางประชาธิปไตย จึงมีการเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับโดยผ่านสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.)โดยจะต้องสอบถามประชาชนผ่านการทำประชามติก่อน จึงทำให้ที่ผ่านมาไม่สามารถแก้รัฐธรรมนูญได้ ตนจึงต้องเสนอญัตติด่วนในวันนี้ เพื่อขอทำประชามติสอบถามประชาชนว่าจะเห็นชอบให้มีการจัดทำรัฐธรรนูญใหม่ผ่านกลไกลของ ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงหรือไม่
“เชื่อว่าการจัดทำประชามติ จะเป็นทางออกจากวิกฤตการเมืองในปัจจุบันที่สังคมมองว่ามีต้นตอมาจากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน การจัดทำประชามติดังกล่าวจะเป็นจุดเริ่มต้นในการรื้อฟื้นข้อเสนอในการร่างรับธรรมนูญฉบับใหม่ที่รัฐสภาเคยมีมติเห็นชอบไปแล้วในวาระที่หนึ่ง เป็นการสอบถามอย่างตรงไปตรงมาจากประชาชนว่าจะต้อมีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และหากเป็นไปได้ภายใต้สถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน เราต้องเรีบเร่งดำเนินการจัดทำประชามติพร้อมกับวันเลือกตั้ง และเป็นการประหยัดภาษีประชาชนในการจัดทำด้วย”นายณัฐพงษ์ กล่าว
ด้านนายจุลพันธ์ ผู้เสนอญัตติของพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจับนเป็นที่ถกเถียงถึงที่มา กระบวนการ และการลงประชามติ วันนี้เราต้องการหยุดความสับสน จึงต้องให้ประชาชนลงประชามติก่อนว่าประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเรากำลังจะเดินหน้าเข้าาสู่กการเลือกตั้งในเวลาไม่นาน เพียงแค่เวลาไม่เกิน 6 เดือน ไม่ว่าเหตุการณ์ทางการเมืองจะเกิดอะไรขึ้น กระบวนการเลือกตั้งต้องเกิดแน่นอนเพราะครบวาระสภาฯ4 ปี เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ และใช้โอกาสไปในคราวเดียวกัน เราจึงเสนอให้มีการทำประชามติไปพร้อมกับการเลือกตั้งส.ส.ที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยเดินหน้าสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยตัวแทนของประชาชน เพื่อที่จะมีรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยเต็มใบ
จากนั้นเป็นการอภิปรายแสดงความคิดเห็นของสมาชิก ซึ่งที่ประชุมแสดงความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันให้มีการจัดทำประชามติเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะเห็นว่ารัฐธรรนูญปี60 เป็นอุปสรรคในการดำเนินการต่างๆและให้ทำวันเดียวกับการเลือกตั้งที้จะเกิดขึ้น เพื่อประหยัดงบประมาณและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน จึงเห็นด้วยกับญัตติดังกล่าว
ทั้งนี้ที่ประชุมลงมติเห็นชอบกับญัตติทั้ง2 ฉบับ แต่ที่ประชุมต้องรอสมชิกเข้ามาลงคะแนนเป็นเวลานาน โดยมีการอ้างว่าการประชุมวันพฤหัสฯ ส่วนใหญ่จะไม่มีการลงมติ เพราะเป็นวาระรับทราบรายงาน สมาชิกจึงออกมาไปข้างนอก
โดยนายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาฯคนที่ 2 ทำน้าที่เป็นประธานการประชุม แจงว่าขณะนี้รอสมาชิกมาเป็นเวลา 31 นาทีแล้ว ยังเหลือองค์ประชุมอีก 5 คน จึงรอจนเวลา 40 นาที องค์ประชุมจึงครบคือ 242 เสียง จากนั้นสมาชิกลงมติ โดยมีผู้ลงมติ 230 เสียง เห็นด้วย 215 ไม่เป็นด้วย 6 ไม่ลงคะแนน 6
นายศุภชัยจึงแจ้งว่า ถือว่าเสียงข้างมากเห็นด้วยกับทั้งสองญัตติ แต่นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ตนเจ็บปวดที่องค์ประชุมไม่ครบต้องยอมรับ คือ กระบวนการไม่ครบ จะทำให้ความชอบสิ่งที่ลงมติเป็นปัญหาให้วุฒิสภาอ้างได้ว่า องค์ประชุมมีปัญหา เมื่อไปถึง ครม.จะมีปัญหาอีก ก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ เมื่อลงมติไม่ครบก็ปิดประชุม และญัตติไม่ตก ยกไปครั้งหน้าได้ เมื่อเปิดประชุมเดือนพ.ย.ก็ว่ากันใหม่ หากเดินหน้าต่อตัวญัตติจะมีปัญหาที่หลัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมได้ถกเถียงในประเด็นที่ว่าญัตติผ่าน แต่องค์ประชุมไม่ครบ อาจทำให้ผู้ที่ไม่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญหยิบยกมาโจมตีได้ ทั้ง นายจุลพันธ์ และนายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย เห็นตรงกันว่า หากสรุปว่าญัตติผ่านแล้ว แต่องค์ประชุมไม่ครบ จะทำให้สูญเปล่า และมีปัญหาข้อกฎหมายที่ค้างคา นำไปสู่การร้องศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมกับพยายามเสนอให้ว่า เมื่อองค์ไม่ครบ ควรปิดประชุมและเลื่อนการลงมติในครั้งถัดไป เพราะตัวญัตติยังมีความชอบ ไม่อยากให้ผ่านไปแล้ว มีปัญหาทีหลัง
ในที่สุดนายศุภชัย ชี้แจงว่าการลงมติดังกล่าวถือว่าเห็นด้วยกับการลงมติ ส่วนกรณีครบองค์ประชุมนั้น ถือว่าไม่ครบต้องเป็นเรื่องที่ว่ากันไปตามระบบ ข้อกฎหมายและข้อบังคับ และสั่งการประชุม15.55น.