วันอังคาร, ตุลาคม 1, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS“บิ๊กตู่”ล่องเรือเยี่ยมน้ำท่วม งดแจกถุงยังชีพเสี่ยงกฎเหล็ก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“บิ๊กตู่”ล่องเรือเยี่ยมน้ำท่วม งดแจกถุงยังชีพเสี่ยงกฎเหล็ก

“บิ๊กตู่” ล่องเรือเยี่ยมน้ำท่วม ประชาชนลอยคอต้อนรับ งดแจกลุงยังชีพ เสี่ยงกฎเหล็ก กกต. พร้อมกำชับติดตามสถานการณ์น้ำท่วมสิงห์บุรี ยันรัฐบาลไม่ปล่อยน้ำท่วมทุ่ง ไม่นิ่งนอนใจ สั่งเร่งระบายน้ำออกทันที พร้อมจัดสรรงบบริหารจัดการในพื้นที่ 16 โครงการ วงเงิน 504 ล้านบาท

เมื่อเวลา 08.50 น.วันที่ 24 ต.ค.65 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม พร้อมด้วย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย , นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน , นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย, นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เดินทางถึงสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี โดยมีประชาชนให้การต้อนรับเป็นจำนวนมาก ขณะที่นายกรัฐมนตรีได้เดินทางทักทายและพูดคุยกับชาวบ้าน


จากนั้น นายกฯรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ ที่ห้องรับรองในสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี จากผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี ก่อนจะเดินทางไปยังหมู่ที่ 3 ตำบลบางกระบือ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี เพื่อลงเรือท้องแบนตรวจเยี่ยมประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย ทั้งนี้ การลงพื้นที่ครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีใช้รถทรานฟอร์เมอร์ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทะเบียน 1 นข.1386

โดยนายกฯได้กล่าวว่า ติดตามสถานการณ์มาโดยตลอด ได้กำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งแก้ปัญหาการระบายน้ำ และรัฐบาลได้ดูแลจัดสรรงบประมาณแผนงาน โครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่สิงห์บุรีปี 65 ทั้งสิ้น 16 โครงการ วงเงิน 504 ล้านบาท ประชาชนได้รับประโยชน์ 3,476 ครัวเรือน พื้นที่ได้รับการป้องกัน6,569 ไร่ ตัวอย่างโครงการ ได้แก่ 1. แก้มลิงลำบางชัน ต.บ้านแป้ง อ.พรหมบุรี (สำนักชลประทาน) 2. อาคารป้องกันตลิ่งแม่น้ำน้อย ต.ไม้ดัด อ.บางระจัน (สำนักชลประทาน) 3.ก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองสิงห์บุรี ระยะที่ 2 (กรมโยธาธิการและผังเมือง) 4. งานวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำ ต.ม่วงหมู่ อ.เมืองสิงห์บุรี (การประปาส่วนภูมิภาค) โดยได้กำหนดแผนงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งสำรวจดูแลความเดือดร้อน เพื่อลดและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้เหลือน้อยที่สุด รวมทั้งเร่งระบายน้ำให้เร็วขึ้น เพื่อลดความเสียหายให้กับประชาชนและมีระบบการแจ้งเตือนให้ประชาชนเตรียมความพร้อมให้ทันต่อสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น 

นายกฯกล่าวต่อไปว่าในส่วนของบริเวณจุดที่มีความเสียหายที่เกิดน้ำท่วมซ้ำซาก หรือน้ำท่วมทุ่ง จะต้องแก้ไขปัญหาระบายน้ำทันที ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจสาเหตุน้ำท่วม ระบบการระบายน้ำ การปรับสภาพความเป็นอยู่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้ปล่อยน้ำให้ท่วมทุ่ง บางพื้นที่ได้รับการแก้ไขปัญหาแล้ว แต่บางพื้นที่ยังทรงตัว อย่างไรก็ตามรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ อะไรที่เป็นความเดือดร้อนของประชาชน รัฐบาลพร้อมจะช่วยเหลือแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ โดยได้เตรียมงบประมาณไว้ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนแล้ว

นอกจากนี้ยังขอให้ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อม ทั้งแผนหลัก แผนสำรอง เพื่อรองรับและแก้ปัญหาในอนาคตด้วย โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาการระบายน้ำให้สมบูรณ์ และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เพราะขณะนี้น้ำจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ จึงขอให้ระมัดระวังสถานการณ์น้ำที่ต้องพบกับภาวะโลกร้อน และต้องเตรียมวางแผนจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้โลกร้อนอีกด้วย

สำหรับสถานการณ์อุทกภัยในสิงห์บุรี ส่วนใหญ่เป็นปัญหาอุทกภัยที่เกิดในพื้นที่ราบลุ่ม สภาพน้ำท่วมเกิดจากปริมาณน้ำจำนวนมากที่ไหลมาจากตอนบน ไหลล้นตลิ่งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย เข้าท่วมพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่การเกษตร ส่งผลให้น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.อินทร์บุรี อ.เมืองสิงห์บุรี อ.ท่าช้าง อ.พรหมบุรี อ.บางระจัน และอ.ค่ายบางระจัน ได้รับผลกระทบ 25 ตำบล 13 ชุมชน 167 หมู่บ้าน 20,419 หลังคาเรือน 58,811 คน ผู้เสียชีวิต 6 ราย ได้มีการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ อาทิ จัดสถานที่พักพิง การแจกจ่ายอาหารและน้ำดื่ม แจกถุงยังชีพ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำสนับสนุนจัดเรือท้องแบน 40 ลำ ทหารเรือและทหารบก อปพร. เข้ามาช่วยเหลือในพื้นที่ ส่วนการดำเนินการฟื้นฟูหลังน้ำลด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการสูบน้ำออก ทำความสะอาดบ้านเรือนและที่อยู่อาศัย เพื่อคืนพื้นที่ให้ประชาชนกลับสู่คืนสู่สภาวะปกติ สำรวจความเสียหายของบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย วัด โรงเรียน สิ่งสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ   และความเสียหายภาคการเกษตร เพื่อให้ได้เงินชดเชยเยียวยาตามระเบียบฯ อีกทั้งจิตอาสาจัดทำสารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น (EM และ EM ball) เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในพื้นที่

ต่อมาเวลา 09.30 น. พล.อ.ประยุทธ์พร้อมคณะเดินทางไปยังหมู่ 3  ต.บางกระบือ อ.เมืองสิงห์บุรี เพื่อลงเรือท้องแบนตรวจเยี่ยมประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย  โดยในพื้นที่ดังกล่าวประชาชนประสบปัญหาน้ำท่วมจากแม่น้ำเจ้าพระยาและปริมาณฝนตกสะสมทั้งต่างพื้นที่และในพื้นที่ทำให้น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน และพื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหาย มีประชาชนได้รับผลกระทบ 8 หมู่บ้าน 2,335 ครัวเรือน

นายกฯ กล่าวในช่วงที่ลงเรือท้องแบน ว่าจะไปดูว่าสามารถช่วยเหลืออะไรได้บ้าง โดยล่องเรือผ่านไปตามบ้านเรือนประชาชนที่มีน้ำท่วมขังอยู่ในระดับสูงส่วนใหญ่น้ำท่วมมิดบ้านชั้นล่าง โดยประชาชนต้องอาศัยอยู่บนชั้นสอง มีบางส่วนลอยคอ และพายเรือมารอต้อนรับนายกฯ โดยมีเด็กหญิงคนหนึ่งลอยคอพร้อมครอบครัว ถือป้ายเขียนข้อความ “ลุงตู่สู้ๆ” และตะโกน”หนูรักลุงตู่” ขณะที่นายกฯได้ตะโกนตอบทักทาย


 
จากนั้นนายกฯและคณะเดินขึ้นพื้นถนน ที่ปัจจุบันมีสภาพเป็นคันกั้นน้ำระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและบ้านเรือนประชาชนที่ถูกน้ำท่วม โดยนายกฯทักทายและกล่าวกับชาวบ้าน ว่า  “เอากำลังใจมาฝาก จะเร่งเอาน้ำออกให้เร็วที่สุด พร้อมทั้งแนะนำรัฐมนตรีที่ร่วมเดินทางมาด้วย โดยนายกฯชี้ไปที่นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส)พร้อมระบุว่า “นี่รัฐมนตรีของพวกคุณ” ขณะที่ชาวบ้านตอบกลับว่า “คนนี้เมื่อวานก็มาแล้ว”

หลังจากนั้นนายกฯได้กดปุ่มเดินเครื่องสูบน้ำ เพื่อสูบน้ำที่ท่วมขังระบายสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เปิดเครื่องสูบน้ำเพื่อเป็นสัญญาณในการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่บ้านเรือนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็ว ก่อนที่ในวันที่ 25 ต.ค.ทางจังหวัดจะเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำให้ครอบคลุมทุกพื้นที่มากขึ้น เพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่บ้านเรือนประชาชนทุกหมู่บ้านโดยเร็วต่อไป 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่นายกฯล่องเรือกลับออกมา ได้โยนอีเอ็มบอลบำบัดน้ำเสียตลอดเส้นทาง เพื่อปรับสภาพน้ำให้สะอาดขึ้น ช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ ช่วยย่อยตะกอนให้กลายเป็นอาหารของสัตว์เล็ก ๆ และช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดีในน้ำ ทำให้เกิดการย่อยสลายที่มากขึ้น และเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ ทำให้สภาพของน้ำสมดุล จากนั้นนายกฯและคณะออกเดินทางไปยังวัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง เพื่อตรวจสถานการณ์น้ำ และพบปะประชาชน


จากนั้นนายกฯและคณะขึ้นพื้นถนน ที่ปัจจุบันมีสภาพเป็นคันกั้นน้ำระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและบ้านเรือนประชาชนที่ถูกน้ำท่วม โดยนายกฯทักทายและกล่าวกับชาวบ้านว่า เอากำลังใจมาฝาก จะเร่งเอาน้ำออกให้เร็วที่สุด


จากนั้นนายกฯไปกดปุ่มเดินเครื่องสูบน้ำ เพื่อสูบน้ำที่ท่วมขังระบายสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยระหว่างที่ล่องเรือกลับออกมา นายกฯโยน EM ball บำบัดน้ำเสียตลอดเส้นทาง เพื่อปรับสภาพน้ำให้สะอาดขึ้น

สำหรับการลงพื้นที่ครั้งนี้ นายกฯไม่ได้มีการแจงถุงยังชีพให้ชาวบ้าน คาดว่าเนื่องจากอยู่ในช่วง กฎเหล็ก 180 วันของคณะกรรมการการเลือกตั้ง


- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img