วันอังคาร, ตุลาคม 1, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS“บิ๊กตู่”ถก USABC เสนอ 3 แนวทางพัฒนาเศรษฐกิจไทย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“บิ๊กตู่”ถก USABC เสนอ 3 แนวทางพัฒนาเศรษฐกิจไทย

“นายกฯ” หารือ USABC เสนอ 3 แนวทางพัฒนาเศรษฐกิจไทย “เอกชนสหรัฐฯ” ชื่นชมความสำเร็จไทยจัดเอเปค

วันที่ 28 พ.ย. 65 ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล คณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจสหรัฐฯ-อาเซียน(U.S.-ASEAN Business Council : USABC) เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ สำหรับนักธุรกิจสหรัฐฯ ได้แก่ H.E. Mr. Robert Godec (นายโรเบิร์ต โกเดค) เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย นาย Ted Osius ประธาน USABC และผู้แทนบริษัทสมาชิก จำนวน 43 บริษัทจากกลุ่มอุตสาหกรรมสาขาต่าง ๆ อาทิพลังงาน อาหารและการเกษตร สาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศ และบริการทางการเงิน เข้าร่วมการหารือด้วย

นายกฯ ยินดีที่ได้พบ USABC และภาคเอกชนสหรัฐฯ ถือเป็นมิตรและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยมายาวนาน และมีบทบาทสนับสนุนการเติบโตของไทย ย้ำว่ารัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับความร่วมมือ และการหารือแลกเปลี่ยนความเห็นกับภาคเอกชน ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

นายกฯ ยังกล่าวว่า ซึ่งการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ไทยได้ผลักดันผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมหลายประการ ทั้งการทบทวนการหารือเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย แปซิฟิก (FTAAP) ในบริบทหลังโควิด-19 การฟื้นฟูความเชื่อมโยง การเดินทางและการท่องเที่ยว การส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุมโดยการนำเสนอเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจ สีเขียว(Bangkok Goals on BCG) รวมทั้งกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโดแปซิฟิก (IPEF)

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไทยพร้อมเปิดรับโอกาสใหม่ๆ ทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเติบโตระหว่างร้อยละ 2.7-3.2 ซึ่งไทยพร้อมร่วมมือกับภาคเอกชนสหรัฐฯ เพื่อมุ่งส่งเสริมความเข้มแข็งและการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างสมดุลและครอบคลุม

โอกาสนี้นายกฯ เสนอวิสัยทัศน์ และแนวทางการเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจไทยในยุค Next Normal 3 ประการ ได้แก่ 1.ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจที่มีความสมดุล ไทยให้ความสำคัญกับสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาเทคโนโลยีสีเขียว มุ่งสู่การเป็นสังคมปลอดคาร์บอน โดยประสงค์รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน เพื่อยกระดับไทยไปสู่การผลิต EV สำหรับภูมิภาค

2.ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยสร้างโอกาสทางการค้า มุ่งพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน และ 3.ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม ไทยมุ่งผลักดันและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัล เร่งพัฒนาวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น และส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมดิจิทัล

นายกฯ หวังว่า ในโอกาสฉลองครบรอบ 190 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ในปี 2566 ความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนจะเพิ่มพูน และแน่นแฟ้น มีพลวัตในความสัมพันธ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ด้านประธาน USABC กล่าวยินดีที่ได้พบกันอีกครั้งภายหลังจากที่ได้พบหารือกันในรูปแบบกึ่งออนไลน์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ได้พบกันพร้อมหน้า และเป็นคณะที่ใหญ่สุดที่เดินทางมาประเทศไทย รวม 43 บริษัทที่มาในวันนี้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจและความมุ่งมั่นที่จะขยายความร่วมมือกับไทย และให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการลงทุนในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะประเทศไทย และถือเป็นโอกาสในการเฉลิมฉลองวาระครบครบรอบ 190 ปีของความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ในปีหน้าด้วย พร้อมชื่นชมความสำเร็จที่นายกฯ ทำหน้าที่ประธานการประชุมเอเปค 2022 ได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งไทยได้ตั้งมาตรฐานไว้สูงมากในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค และสนับสนุนการส่งเสริมความยั่งยืนผ่านแนวคิด BCG

ส่วนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ กล่าวขอบคุณที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นต่อคณะสภาธุรกิจในวันนี้ ชื่นชมความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ที่มีมาอย่างยั่งยืนยาวนาน ทั้งสองฝ่ายร่วมกันส่งเสริมความสัมพันธ์ในหลายระดับ ทั้งรัฐบาล ประชาชน และภาคเอกชน ซึ่งถือว่าความสำคัญระหว่างภาคเอกชนสำคัญเป็นอย่างยิ่งรัฐบาลสหรัฐฯ ขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จของการประชุมเอเปค และพร้อมรับไม้ต่อในการเป็นเจ้าภาพเอเปคในปีหน้า เน้นย้ำว่า สหรัฐฯ ยืนยันจะส่งเสริมความร่วมมือกับไทยต่อไป

ด้านผู้แทนจากบริษัทภาคเอกชนสหรัฐฯ ทั้ง 43 บริษัทจาก 6 อุตสาหกรรมหลัก ได้กล่าวแนะนำตัวและหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยแสดงความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง พร้อมเน้นย้ำความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือและสนับสนุนแนวคิด BCG ของไทยผ่านการส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือด้านการใช้พลังงาน ผลิตภัณฑ์ อย่างคุ้มค่าและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่งตัวแทนบริษัทส่วนใหญ่เห็นว่า ไทยมีศักยภาพในการเป็นศูนย์การกลางลงทุนในด้านต่าง ๆ ที่มีศักยภาพ เช่น ศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ (Auto Hub) ศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล การส่งเสริมการท่องเที่ยว ตลอดจนการส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ รวมทั้ง พร้อมที่จะส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะที่พร้อมต่อการทำงาน ซึ่งจะช่วยรองรับการขยายการลงทุนของแต่ละธุรกิจในอนาคตต่อไป

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img