วันอาทิตย์, กันยายน 29, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSครม.แนะปรับงบโครงการ “1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ครม.แนะปรับงบโครงการ “1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่”

ครม.ให้เกษตรฯ ปรับเปลี่ยนงบ “1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่”ลง หลังผลักดันโครงการล่าช้า ลดเป้าหมายเกษตรกรเข้าร่วม

เมื่อวันที่ 30 ม.ค. แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากกรณีที่นายเฉลิมชัย ศรีอีอน รมว.เกษตรฯ จัดตั้งโครงการ “1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่” เพื่อแก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็ง อย่างมั่นคงและการช่วยเหลือคนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ฟื้นฟูอาชีพเกษตร ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรสามรถยืนบนขาตัวเองให้ได้ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเกษตรกรว่าจะมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการนี้ 64,144 ราย เป้าหมายการจ้างงานระดับตำบล 32,072 ราย แต่เมื่อวันที่19 ม.ค.64 ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฯ ก็ถูกปรับลดงบประมาณเงินกู้โครงการ “1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่” ลงอย่างมาก 

“ครม.ให้มีการปรับเปลี่ยนงบประมาณโครงการลง ทั้งที่โครงการนี้ถือเป็นอีกโครงการหนึ่งที่เป็นงบประมาณเงินกู้เพื่อแก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม อันรวมถึงผู้ที่ได้รับกระทบจากโควิด-19 ที่อยากหวนคืนบ้านเกิดเพื่อไปทำการเกษตรแบบพอเพียง โดยปรับลดกรอบวงเงินของโครงการจากเดิม ตามมติ ครม. (8 ก.ค.2563) วงเงิน 9,805.7075 ล้านบาท เป็น 3,550.9175 ล้านบาท หลังจากโครงการเริ่มดำเนินการเมื่อเดือนก.ย. 2563 และยังให้ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนก.ย. 2564 เป็นเดิอน ธ.ค. 2564 และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำกับดูแลหน่วยงานรับผิดชอบ ดำเนินการตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเงินกู้ฯ อย่างเคร่งครัด เริ่มเบิกจ่ายได้ตั้งแต่ มี.ค. 2564” แหล่งข่าว กล่าว

สำหรับรายละเอียดที่ปรับปรุงในโครงการดังกล่าวประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงขนาดพื้นที่ขุดสระเก็บกักน้ำ “ตามข้อเสนอเดิม” 1 ขนาด (3 ไร่) ปริมาณดินขุด 4,000 ลบ.ม. โดยมีการปรับเหมืองไส้ไก่ ปั้นโคกหนองนา คันนาทองคำ และตกแต่งพื้นที่ตามที่ออกแบบไว้ เสนอปรับปรุงใหม่ และใช้รูปแบบมาตรฐาน กรมพัฒนาที่ดิน และมีรูปแบบเรขาคณิตอื่นที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของเกษตรกรซึ่งสามารถตรวจรับปริมาณดินขุดได้

พร้อมกำหนดขนาดพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 4 ขนาดคือ1. ขนาดพื้นที่ 2.5 ไร่ พื้นที่เก็บกักน้ำปริมาณดินขุดไม่เกิน 1,800 ลบ.ม. 2. ขนาดพื้นที่ 3 ไร่ พื้นที่เก็บกักน้ำปริมาณดินขุดไม่เกิน 2,100 ลบ.ม. 3. ขนาดพื้นที่ 4 ไร่ แหล่งเก็บกักน้ำปริมาณดินขุดไม่เกิน 2,800 ลบ.ม. 4. ขนาดพื้นที่ 5 ไร่ พื้นที่เก็บกักน้ำปริมาณดินขุด ไม่เกิน 3,500 ลบ.ม.ซึ่งเป็นการขุดสระและปรับเกลี่ยดินเพื่อรองรับการเก็บกักน้ำ ไม่รวมถึงการขุดเหมืองไส้ไก่ ปั้นโคกหนองนา คันนาทองคำ และตกแต่งพื้นที่ตามที่ออกแบบไว้เนื่องจากไม่ได้  ตั้งงบประมาณรองรับโดยการดำเนินงานตามรูปแบบใหม่นี้จะยังคงทำให้เกษตรกรมีน้ำใช้สำหรับการทำกิจกรรมเกษตร ทั้งในส่วนกิจกรรมหลักและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ได้ตลอดทั้งปี

นอกจากนั้นยังเปลี่ยนแปลงกลุ่มเป้าหมายตั้งเป้าหมายว่าจะมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 64,144 ราย เป้าหมายการจ้างงานระดับตำบล 32,072 ราย เสนอปรับปรุงใหม่ เป้าหมายเกษตรกร 32,000 ราย เป้าหมายการจ้างงานระดับตำบล 16,000 รายเปลี่ยนแปลงเป้าหมาย จากเกษตรกร 4,009 ตำบลๆ ละ 16 ราย เสนอปรับปรุงใหม่ ปรับตามข้อมูลผลการรับสมัครจริงรายตำบล ทั้งนี้ต้องมีผู้สมัครตั้งแต่ 2 รายต่อตำบลขึ้นไป แต่ไม่เกิน 50 รายต่อตำบล และการจ้างงานระดับตำบล ปรับจากไม่เกิน 8 รายตำบล เป็นตั้งแต่ 1 รายต่อตำบลขึ้นไปแต่ไม่เกิน 25 รายต่อตำบล จึงจะดำเนินการได้ เพื่อให้เกิดการกระจายตัวของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการและการจ้างงานระดับตำบล

รวมถึงสอดคล้องกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของกระทรวงเกษตรฯ เพราะการดำเนินการโครงการที่ผ่านมาพบว่ามีจำนวนตำบลที่ไม่มีผู้สมัคร 795 ตำบล และจำนวนตำบลที่มีผู้สมัคร เพียงรายเดียวมากถึง 445 ตำบลพร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ เพื่อฟื้นฟูภาคการเกษตร ภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 มุ่งเน้นเกษตรกรที่มีความตั้งใจเอาใจใส่อย่างจริงจัง เสนอปรับปรุงใหม่ เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ ภายหลังจากแพร่ระบาด แก่เกษตรกรผู้ว่างงานเป็นหลัก

ส่วนหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมดมี 6 หน่วยงานก็ต้องถูกปรับลงโดยประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปรับเหลือ 1,494,031,991 บาท กรมส่งเสริมการเกษตร ปรับเหลือ 47,040,000 บาท กรมพัฒนาที่ดิน ปรับเหลือ 2,042,020,589 บาท กรมปศุสัตว์ ปรับเหลือ 47,040,000 บาท กรมประมง ปรับเหลือ 47,040,000 บาท และสำนักเศรษฐกิจการเกษตร ปรับเหลือ 1,000,000 บาท

ทั้งนี้การปรับงบประมาณซึ่งอาจจะมีเหตุมาจากทั้งเรื่องของการทำงานล้าช้าของกระทรวงเกษตรฯในการผลักดันโครงการให้ผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริงหรือไม่ การกำหนดหลักเกณฑ์ที่ปฏิบัติได้ยากเกินไป จนทำให้เกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการไม่ได้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img