วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS“ส.ส.-ส.ว.”โวย“ปธ.รัฐสภา”ดันก.ม.สื่อ ปาดหน้าก.ม.การศึกษา “ชวน”ยันไม่มีลับลมคมใน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ส.ส.-ส.ว.”โวย“ปธ.รัฐสภา”ดันก.ม.สื่อ ปาดหน้าก.ม.การศึกษา “ชวน”ยันไม่มีลับลมคมใน

ประชุมรัฐสภาฯประชุมอืดรอสมาชิกกว่า 2 ชม. “ส.ส.-ส.ว.” โวย “ประธานรัฐสภา” ดันกม.สื่อ ปาดหน้า กม.การศึกษา “ชวน” ยันไม่มีลับลมคมในทำหน้าที่ ชี้ “ตวง” ชงญัตติเลื่อนไม่ได้เหตุไม่อยู่ในระเบียบวาระ

วันที่ 7 ก.พ.2566 เวลา 09.00 น. มีการประชุมร่วมรัฐสภานัดพิเศษ มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมจริยธรรมและวิชาชีพสื่อมวลชน ตามที่ครม.เป็นผู้เสนอ แต่กว่าจะเปิดประชุมได้ต้องเสียเวลารอสมาชิกมาเซ็นชื่อเข้าประชุมนานเกือบ 2ชั่วโมง จนส.ส.หลายคนพากันตำหนิสมาชิกรัฐสภาที่ไม่ให้ความร่วมมือมาประชุมกัน กระทั่งเวลา 10.50 น.จึงมีสมาชิกมาลงชื่อครบ 334คน จากจำนวนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด 667 คน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แต่เมื่อเริ่มประชุมได้ก็ยังมีปัญหาต่อเนื่อง เมื่อส.ส.ฝ่ายค้านและส.ว.พากันรุมท้วงติงการประชุมร่วมรัฐสภานัดพิเศษ โดยไม่เห็นด้วยที่นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ใช้อำนาจจัดประชุมนัดพิเศษ เลื่อนร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมจริยธรรมและวิชาชีพสื่อมวลชนมาพิจารณาแทนที่ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติที่ค้างวาระการประชุมครั้งที่ผ่านมา โดยเห็นควรนำร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติมาพิจารณาตามวาระปกติ แล้วค่อยพิจารณาร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมจริยธรรมและวิชาชีพสื่อมวลชนตามลำดับ

โดยนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม. กล่าวว่า เหตุใดต้องประชุมนัดพิเศษ ที่ผ่านมาประชุมนัดพิเศษใช้กรณีสำคัญจริงๆ เช่น ภาวะสงคราม โรคระบาด ห่วงว่าจะทำให้เกิดธรรมเนียมปฏิบัติ ใช้กลวิธี ถ้าต้องการผลักดันกฎหมายฉบับใด ก็ใช้อำนาจประธานจัดประชุมนัดพิเศษ นำกฎหมายที่ต้องการมาพิจารณาก่อน

ขณะที่นายตวง อันทะไชย ส.ว. กล่าวว่า การประชุมรัฐสภานัดพิเศษไม่เคยมีอยู่ในข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ดังนั้นการจะเลื่อนกฎหมายฉบับใดมาพิจารณาก่อน จะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภาก่อน จึงขอเสนอญัตติให้นำร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติมาพิจารณาก่อน

ส่วนนายนิโรธ สุนทรเลขา ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า การจัดระเบียบวาระของประธานรัฐสภาควรหารือร่วมกับทุกฝ่าย เพื่อทำให้เกิดความสงบเรียบร้อย ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากการใช้ดุลยพินิจของประธานรัฐสภา

ต่อมาเวลา 12.15น. นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ชี้แจงงว่า การจัดระเบียบวาระประชุมนัดพิเศษไม่ได้คิดอะไรตามอำเภอใจ แต่การบริหารเวลาในช่วงที่มีอยู่อย่างจำกัด ต้องใช้สมองและความคิด เพื่อให้งานเกิดประโยชน์สูงสุด การจัดระเบียบวาระแบบปกติ จะทำให้ร่างพ.ร.บ.จริยธรรมสื่อฯ และร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้รับการพิจารณา เพราะร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ จะต้องพิจารณาไปอีกนาน ควรทำงานให้ออกมาภายในเวลาจำกัด ภายใต้อำนาจที่ประธานฯ ทำได้ ให้มีผลงานออกมา ถ้าประชุมวาระปกติ ญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญของฝ่ายค้านจะไม่ได้รับการพิจารณาแน่นอน

“ยืนยันว่า ไม่มีลับลมคมในให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบหรือเสียเปรียบกัน หลังจากสมาชิกรัฐสภาฟังการชี้แจงจากนายชวน จึงไม่ติดใจ และเริ่มเข้าสู่การประชุมต่อไป”นายชวน กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img