วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS“ชวน”สั่งสภาฯชะลอถกพ.ร.ก.ขบายใช้กม.อุ้มหาย “ชลน่าน”โวยครม.อุ้มหาย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ชวน”สั่งสภาฯชะลอถกพ.ร.ก.ขบายใช้กม.อุ้มหาย “ชลน่าน”โวยครม.อุ้มหาย

“ชวน” สั่งสภาฯชะลอถกพ.ร.ก.ขยายใช้ก.ม.อุ้มหาย หลังส.ส.ฝ่ายรบ.เข้าชื่อศาลรธน.วินิจฉัย ด้าน “ชลน่าน”โวยใช้กลไกศาลเตะถ่วงบังคับใช้พ.ร.บ. ซัดแรงอุ้มหายโดยครม. “ชินวรณ์” อ้างเพื่อให้เกิดความชัดเจน ชี้ครั้งแรกฝ่ายพรรคร่วมรบ. ยื่นร้องกฎหมายครม.

วันที่ 28 ก.พ.2566 ที่รัฐภา มีการประชุมสภาฯที่มีนายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานวุฒิสภาคนที่สอง ทำหน้าที่ประธานในการประชุม เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาณและการทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 พ.ศ.2566 ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอต่อสภาฯ เพื่อให้ลงมติว่าาจะอนุมัติหรือไม่อนุมัติการบังคับใช้พ.ร.ก.ดังกล่าว ซึ่งมีเนื้อหาต่อการชะลอใช้ มาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 24 และมาตรา 25 ของพ.ร.บ.ดังกล่าวออกไปจนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2566 หลังจากเดิมที่จะมีผลบังคับใช้แล้ว และกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐที่รับผิดชอบต่อการควบคุมตัว รวมถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามมการทรมาณฯ กำหนดมาตรการและกลไกที่เหมาะและมีความพร้อมต่อการปฏิบัติงานให้เสร็จ ภายในวันที่ 30 กันยายน 2566

โดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม ชี้แจงในนามครม. เพื่อยืนยันถึงความจำเป็นที่ต้องตรา พ.ร.ก.เพื่อละชอการบังคับใช้บางมาตรา และพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาณและการกระทำให้บุคคลสูญหาย

ขณะที่การอภิปรายของส.ส.นั้น ทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่านค้าน แสดงความไม่เห็นด้วย เพราะมองว่าเป็นการละเมิดหลักการคุ้มครองประชาชน และการตราพ.ร.ก.ดังกล่าวไม่เข้าข่ายเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนด พร้อมกับตั้งข้อสังเกตว่า การไม่เตรียมพร้อมของหน่วยงานเพื่อเตรียมตัวการทำงานให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดนั้น เป็นการละเลยของหน่วยงาน ดังนั้นการตราพ.ร.ก.ดังกล่าวเพื่อแก้ปัญหาให้กับหน่วยงานรัฐ พร้อมระบุว่า เป็นการหลีกเลี่ยงการใช้กฎหมายที่อาจจะมีผลกระทบต่อการสร้างความยุติธรรมให้ประชาชนที่ถูกจับกุม ดำเนินคดีหรือไม่

ทั้งนี้ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาฯ โดยย้ำว่า การตราพ.ร.ก.ดังกล่าว มีความจำเป็น เพื่อให้หน่วยงานได้เตรียมความพร้อมต่อการปฏิบัติงานที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้พ.ร.บ.ทั้ง 3 มาตราดังกล่าวทำให้ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและตำรวจ ต้องบันทึกภาพและเสียงตลอดการจับกกุมในทุกคดี จากเดิมที่ในการปฏิบัติจะมีการบันทึกภาพและเสียง ในคดีที่มีบทลงโทษสูงเท่านั้น

“แม้ขณะนี้ ครม.จะอนุมัติงบประมาณเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ในการทำงาน แต่ยังมีปัญหา ซึ่งทุกหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายพบปัญหาเช่นเดียวกัน ทั้งอุปกรณ์บันทึกภาพ การจัดเก็บข้อมูลและการเชื่่อมโยงข้อมูลในการจับกุม เพื่อขยายผล หากการจับกุมต้องเดินทางระยะไกล หรือโดยสารเครื่องบินพาณิชย์ และที่สำคัญยังระเบียบกลางที่จะให้ทุกหน่วงานปฏิบัติยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ เพราะหน่วยงานมีมาตรฐานของหน่วยงานไม่เหมือนกัน ซึ่งหากทำไม่เร็จอาจกระทบต่อความศรัทธาในกระบวนการยุติธรรมได้ อีกทั้งยังมีประเด็นการซักซ้อม การจับกุม การรับแจ้ง ที่หลายหน่วยงานมีปัญหาเช่นเดียวกัน และมีปัญหาในทาางปฏิบัติ” ผบ.ตร. ชี้แจง

ผบ.ตร. ชี้แจงด้วยว่า ตามที่ส.ส.อภิปรายด้วยว่า ทำไมไม่ใช้โทรศัพท์มือถือไปพลางก่อน เป็นเพราะว่า การจับกุมทันท่วงที ต้องใช้สองมือในการจับกุมควบคุม หากมีอาวุธ ผู้ต้องหาต่อสู้ต้องใส่กุญแจมือ ขอให้นึกถึงการปฏิบัติงานว่า มือหนึ่งถือโทรศัพท์ เพื่อบันทึกภาพ อีกมือต้องจับกุม รวมถึงกรณีที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยโทรศัพท์มือถือ หากมีสายเข้า หรือแจ้งเตือนของโปรแกรม อาจทำให้ทำให้การบันทึกเสียงเสียไป ขณะที่การเก็บข้อมูลที่ต้องเก็บไว้จนกว่าคดีจะสิ้นสุดหรือ หมดอายุความ อาจมีปัญหาและต้องใช้งบประมาณ

“สำหรับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย ของประชาชน ยังได้รับความคุ้มครอง สตช. ไม่นิ่งนอนใจหรือเพิกเฉย ต่อการทำงานให้โปร่งใส” ผบ.ตร. กล่าว

ต่อมาที่ประชุมสภาฯ ได้อภิปรายต่อเนื่อง จนถึงเวลา 12.00 น. ส.ส.ฝ่ายค้านลุกสอบถามถึงความชัดเจนต่อกรณีที่ส.ส. ลงชื่อเพื่อยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความตามการตราพ.ร.ก.ดังกล่าว เพราะถือว่าจงใจต้องการให้ พ.ร.ก.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย และเพื่อให้รอการพิจารณาและลงมติพ.ร.ก.ดังกล่าวตามขั้นตอน

ทั้งนี้นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาฯ คนที่สอง ชี้แจงว่า ขณะนี้ยังไม่มีการยื่นเรื่องต่อประธานสภาฯ หากมีการยื่นแล้วจะต้องพิจารณาในรายละเอียดต่อไป พร้อมขอให้ส.ส.อภิปรายเนื้อหาต่อไป

ต่อเวลา 13.20 น. นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ขึ้นมาทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ระหว่างการพิจารณา นายนิโรธ สุนทรเลขา ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ ฐานะประธานวิปรัฐบาล และคณะ ได้เข้าชื่อต่อประธานสภาฯ เพื่อขอให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า การตรา พ.ร.ก.ดังกล่าวไม่เป็นไปตามมาตรา 172 วรรคหนึ่ง และให้ประธานสภาฯ ส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญภายใน 3 วัน ซึ่งจาการตรวจสอบความถูกต้องแล้วมีส.ส.ที่ร่วมลงชื่อ 100 คนดังนั้นการพิจารณา พ.ร.ก.ดังกล่าวต้องรอกการพิจารณาไว้ก่อน

อย่างไรก็ดีในประเด็นดังกล่าว ถูกโต้แย้งจากส.ส.ฝ่ายค้าน โดยนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อภิปรายว่าควรดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จคือการลงมติ แต่กรณีดังกล่าว รัฐบาลกังวลว่าจะถูกโหวตไม่เห็นด้วยจึงใช้วิธี ชงโดยครม. กินโดย ครม. และอุ้มหายโดย ครม. เป็นเรื่องที่น่าอับอาย และไม่ควรเกิดขึ้น เพราะสิทธิการยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความนั้นควรเป็นเสียงตรงข้ามไม่ควรเป็นฝ่ายเดียวกับรัฐบาล

“ในช่วงเลือกตั้งหากพบการบังคับใช้อำนาจหน้าที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน คนที่ร่วมเข้าชื่อต้องรับผิดชอบ เพราะไม่เป็นธรรมกับสิทธิตามกระบวนการยุติธรรมของประชาชน เมื่อสภาฯทำแบบนี้ ขอให้จดจำไปถึงลูกหลานและพวกเราที่จะกลับมาสมัยหน้าหากได้ใช้อำนาจประชาชนแท้จริง มั่นใจว่ากระบวนการเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น ขอให้ประชาชนเป็นกรรมการตัดสินใจคูหาเลือกตั้ง” นพ.ชลน่าน กล่าว

ด้านนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ฐานะวิปรัฐบาล ยืนยันต่อการใช้สิทธิดังกล่าวเพื่อให้เกิดความชัดเจนและไม่มีปัญหาในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ และถือเป็นการใช้สิทธิครั้งแรก ของ ส.ส.รัฐบาล สะท้อนว่า มีความเป็นห่วงของประชาชน

จากนั้น นายชวน กล่าวขอบคุณ ส.ส.และข้าราชการสำนักงานลขาธิการสภาฯ ที่ร่วมทำงานหนักตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ตนหวังว่าแม้ไม่มีโอกาสกลับมาทุกคน แต่ขอให้ส.ส.ส่วนใหญ่กลับาทำหน้าที่ของตนเองต่อไป การเมืองไม่มีแน่นอนน ฝ่ายค้านวันนี้อาจเป็นรัฐบาล คนเป็นรัฐบาลขณะนี้ อาจเป็นฝายยค้านในวันนั้น สิ่งสำคัญ คือการพูดอะไรไป ว่าไม่ดี วันนั้น ต้องไม่ดี อะไรที่ดีวันนี วันนั้นต้องดี ขออวยพรให้ประสบความmสำเร็จ

ต่อจากนั้นสมาาชิกสภาฯ ได้ยืนเพื่อรับฟังพระบรมราชโองการปิดสมัยประชุม และปิดประชุมเวลา 13.41 น.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img