วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightจับตา!ครม.ยังไม่หารือปมยุบสภา ปลานอกอ่างผวาแน่!
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

จับตา!ครม.ยังไม่หารือปมยุบสภา ปลานอกอ่างผวาแน่!

กูรู “ไพศาล”แนะจับตาครม.ยังไม่หารือเรื่องยุบสภาฯ ปลานอกอ่างผวาแน่ เพราะถ้าไม่มีการตราพระราชฎีกา ผู้มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งต้องมีชื่อ เป็นสมาชิกพรรคการเมือง วันที่ 7 ก.พ.66 ใครไม่มีชื่อ สมัครเลือกตั้งในนามพรรคการเมืองนั้นไม่ได้

เมื่อวันที่ 10 มี.ค.นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ครม. ยังไม่ได้หารือเรื่องการยุบสภา ปลานอกอ่างผวาแน่!!!

การยุบสภากำลังถูกจับตาทั่วประเทศ เพราะครั้งนี้ต่างกับทุกครั้งและจะมีผลกระทบทางการเมืองอย่างลึกซึ้ง
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีได้แถลงเมื่อวานนี้ว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่ผ่านมาไม่มีการเสนอเป็นเรื่องยุบสภา

จึงเป็นอันว่า”จนกว่าจะถึงวันอังคารหน้าจะไม่มีการยุบสภา”

2.การตราพระราชกฤษฎีกา มี 5 ขั้นตอนคือ

~รัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีว่า”มีเหตุสมควรและจำเป็น” ใดที่ต้องยุบสภา แค่ประการนี้ก็ไปไม่ได้แล้วเพราะมีพระราชกฤษฎีกาปิดสภาไปแล้ว และไม่มีปัญหาข้อขัดข้องหรือขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับสภา!!!!

จะอ้างว่าจำเป็นจะต้องลบล้าง กำหนดการเลือกตั้งของ กกต. ที่กำหนดการเลือกตั้งวันที่ 7 พค. และมีผลให้ต้องสมัคร เป็นสมาชิกพรรคในวันที่ 7 ก.พ.ซึ่งพ้นไปแล้ว ก็ลองดู!

มติคณะรัฐมนตรี ที่หารือกันเพียง 3 คนขึ้นไปจะทำได้ก็เฉพาะกรณี “จำเป็นเร่งด่วนฉุกเฉิน” ซึ่งการยุบสภาครั้งนี้ได้พูดกันมานานแล้ว ไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนฉุกเฉินที่จะอ้างได้ ขืนอ้างก็จะเป็นการโกหกเบื้องสูง!!!

เชื่อว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็อาจสอบถามได้ว่ามีเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติหรือไม่?

~ นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชกฤษฎีกา ยื่นต่อสำนักราชเลขาธิการเพื่อนำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ทรงพิจารณา

~ พระมหากษัตริย์มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ตราพระราชกฤษฎีกาว่า มีเหตุจำเป็นและสมควรต้องยุบสภา และทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชกฤษฎีกานั้น

~ นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

~ กองประกาศิตลงประกาศพระบรมราชโองการในราชกิจจานุเบกษา

ดังนั้นใครก็ตามที่พูดว่ายุบสภาวันนั้นวันนี้ โดยที่ยังไม่มีพระบรมราชโองการ จึงเป็นการพูดส่งเดช และพูดประหนึ่งไม่ยำเกรงพระมหากษัตริย์ เพราะเป็นพระราชอำนาจที่จะตราหรือไม่ตราพระราชกฤษฎีกา

3.ถ้าไม่มีการตราพระราชฎีกา ผู้มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งต้องมีชื่อ เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ณ วันที่ 7 ก.พ.66 ใครไม่มีชื่อ ณ.วันที่ 7 ก.พ.66 ก็สมัครเลือกตั้งในนามพรรคการเมืองนั้นไม่ได้

ใครที่ย้ายพรรคหลังวันที่ 7 ก.พ.66 ก็จะสมัครพรรคเดิมไม่ได้ จะสมัครพรรคใหม่ก็ไม่ได้ ก็จะเดี้ยงตายซาก และพรรคที่ไม่มีผู้สมัคร หรือตกปลาไม่ได้ตามเป้าหมาย ก็จะหงายท้องกัน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img