วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS“วราวุธ”ลงพื้นที่บางขุนเทียนแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่ง “ชัชชาติ-ณัฐชา”ร่วมแจม
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“วราวุธ”ลงพื้นที่บางขุนเทียนแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่ง “ชัชชาติ-ณัฐชา”ร่วมแจม

“วราวุธ” ลงพื้นบางขุนเทียน แก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่ง ตัวแทนชาวบ้านจี้เกาให้ถูกที่คัน อวยขอให้กลับมาเป็นรมต.อีก “ชัชชาติ-ส.ส.ก้าวไกล” ร่วมดูงานด้วย

วันที่ 15 มี.ค.2566 เวลา 13.00 น.ที่โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ เขตบางขุนเทียน กทม. นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวง ทส. ได้ลงพื้นที่รับฟังปัญหาและติดตามปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณพื้นที่บางขุนเทียน กทม. โดยมีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประชาชน อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล (อสทล.) มาร่วมงาน ทั้งนี้ ยังพบว่า ภายในงานดังกล่าวมีนักการเมืองเดินทางมาด้วย คือ นาย นายณัฐชา บุญชัยอินสวัสดิ์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล ซึ่งเป็น ส.ส.ในพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงนายอัศวิน คูร์พิพัฒน์ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม. เขตบางขุนเทียน และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม.ของพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) อีกหลายคน

โดยเมื่อนายวราวุธเดินมาถึง ได้มีตัวแทนชาวบ้านเข้ามาพูดคุยถึงปัญหาเรื่องทะเลกัดเซาะในพื้นที่ชายฝั่ง กทม. ในเขตอ่าวไทยรูปตัว ก. ที่ได้รับอิทธิพลลมชายฝั่งโดยตรงทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะ โดยชาวบ้านรายได้เสนอกับนายวราวุธว่า อยากให้แก้ปัญหาในภาพรวม ไม่ใช่แก้ทีละจังหวัด ขอให้เกาให้ถูกที่คัน แล้วรัฐบาลหน้าให้กลับมาเป็นรัฐมนตรีอีก แล้วมาแก้ปัญหาร่วมกันต่อ

จากนั้นนายวราวุธ กล่าวกับประชาชนว่า สาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยมี 2 ประเทศคือ การกัดเซาะชายฝั่งโดยธรรมชาติจากคลื่น กระแสน้ำ น้ำขึ้น น้ำลง มรสุม และการกัดเซาะชายฝั่งจากกิจกรรมมนุษย์ เช่น การก่อสร้างริมชายฝั่ง การสร้างรอดักทราย การสร้างเขื่อนกั้นทรายและกั้นคลื่นปากร่องน้ำ โดยการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณบางขุนเทียนนี้ สาเหตุไม่ได้มาจากระดับน้ำทะเลสูง แต่สังเกตได้จากหลักเขตที่ 28 บริเวณบางขุนเทียนกับหลักเขตที่ 29 บริเวณ จ.สมุทรสาครที่ได้ประกาศไปตาม พ.ร.บ.กำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน เมื่อปี 2502 ซึ่งหลักเขตนี้ยังโผล่พ้นน้ำ หากเกิดระดับน้ำเพิ่มขึ้นจะเป็นนัยสำคัญของระดับน้ำทะเล ทั้งที่หลักเขตนี้ควรจมอยู่ใต้น้ำ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืนจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการร่วมกันอย่างเป็นระบบ ให้สามารถลดผลกระทบต่อพื้นที่อื่นๆ โดยจะให้ภาคประชาชนและทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด ตนได้มอบหมายปลัดกระทรวง ทส. เป็นผู้ติดตามและกำกับการดำเนินการดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img