วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“สงครามน้ำลาย”ถกปม..แก้ไขรธน. “มารครองเมือง vs คนล้มสถาบัน”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สงครามน้ำลาย”ถกปม..แก้ไขรธน. “มารครองเมือง vs คนล้มสถาบัน”

ประชุมร่วมรัฐสภา ถกแก้ไขรธน. ปะทะคารมเดือด “เจี๊ยบ หลบหลังม็อบ” เปิดศึก “มารครองเมือง” ยุให้ห้ามคนในสังกัด คสช. ร่วมเป็น “ส.ส.ร.” เจอ “ส.ว.กิตติรัตน์” สวนกลับ ต้องห้าม “คนคิดล้มล้างสถาบัน-คนหนีคดี-คนโกงจำนำข้าว” ด้วย

เมื่อวันที่ 25 ก.พ.64 ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมรัฐสภา โดยมีนายพรเพชร วิชิตชลชัย รองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ซึ่งได้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่….) พ.ศ….. ซึ่งแก้ไขมาตรา 256 และเพิ่มหมวดใหม่ ว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) รัฐสภา ที่มีนายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังปรระชารัฐ เป็นประธานกมธ. พิจารณา แล้วเสร็จ วันที่สอง เมื่อที่ประชุมเริ่มเข้าสู่การพิจารณา มาตรา 4 เกี่ยวกับคุณสมบัติต้องห้ามบุคคลที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ซึ่งกมธ. มีการแก้ไขถ้อยคำเล็กน้อย โดยไม่เกี่ยวกับสาระสำคัญ ทั้งนี้มี สมาชิกรัฐสภา โดยเฉพาะพรรคก้าวไกล ขอแปรญัตติแก้ไขลักษณะต้องห้าม โดยตัดลักษณะต้องห้าม ว่าด้วย “นักพรต นักบวช สามเณร หรือภิกษุ” ออก เพื่อให้กลุ่มดังกล่าว สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส.ร. ได้

ถึงตอนนี้ เริ่มมีเหตุประท้วงวุ่นวายเล็กน้อย เมื่อนางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เสนอคำแปรญัตติว่า “ห้ามกลุ่มบุคคลที่เคยได้รับแต่งตั้งตามประกาศ คำสั่ง ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หรือคำสั่งของหัวหน้า คสช. ห้ามสมัครเป็น ส.ส.ร.” พร้อมอภิปรายแสดงเหตุผลว่า เป็นผู้ไม่ยึดมั่นต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

“ผู้เขียนรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 แม้จะเป็นนักวิชาการที่มีความรู้ แต่เมื่อมี “ที่มา” ไม่เป็นประชาธิปไตย ทำให้รัฐธรรมนูญไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน ก่อให้เกิดผลไม้พิษ เหมือนกับการบังคับแต่งงาน เหมือนคลุมถุงชน ที่มีแต่ความหลอกลวง ขจัดไปให้พ้นทางและไม่ให้มีส่วนร่วมกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ครั้งที่มารครองเมืองเรืองอำนาจ ใช้มาตรา 44 จัดการกับคนทุกคนที่ไม่สยบยอม และตั้ง สนช. สปท. กรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ คสช. และครม. ทั้งนี้เมื่อสลายแล้ว ได้ไหลมาเป็นส.ว. 134 คน ส่วนอีกกว่า 500 คน กังวลมาร่วมสถาปานารัฐธรรมนูญใหม่” นางอมรัตน์ กล่าว

ทำให้นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ส.ว. ประท้วงการอภิปรายของนางอมรัตน์ พร้อมพูดว่า ขอแถมข้อห้ามไว้ด้วยว่า “ห้ามคนที่คิดล้มล้างสถาบัน นักโทษหนีคดี เช่น โกงจำนำข้าว และห้ามคนที่หลบหลังม็อบเพิ่มเติม” เมื่อถึงตรงนี้ปรากฎว่าส.ส.พรรคก้าวไกล ลุกขึ้นประท้วงนายกิตติศักดิ์ แต่นายพรเพชร ประธานในที่ประชุม ได้วินิจฉัยและห้ามให้ประท้วง เรื่องจึงยุติ

จากนั้น พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว. ในฐานะ กมธ. ชี้แจงว่า ความเห็นของนางอมรัตน์นั้น เป็นความเห็นซึ่งเป็นความเห็นต่างได้ แต่ไม่ได้อยู่ในการพิจารณาของกมธ. ดังนั้นกมธ. ขอยืนตามเนื้อหาที่เสนอต่อรัฐสภา

เช่นเดียวกับนายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. ในฐานะกมธ. ชี้แจงในประเด็นของนางอมรัตน์ว่า เป็นความเชื่อและความคิดเห็นที่อ้างว่า ส.ว.250 คน ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และอ้างย้ำๆ แสดงว่าต้องการให้เกิดความขัดแย้ง หรือ วามไม่พอใจในฝั่งของส.ว. เพื่อให้ส.ว.ชุดปัจจุบัน ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไข

“สิ่งที่เสนอให้เหตุผล ข้อมูล เป็นความรังเกียจ กลุ่มคน ทั้งที่การเขียนรัฐธรรมนูญต้องใช้เหตุผล ความเป็นผู้ใหญ่ คนที่จะอยู่ในตำแหน่งใด ไม่คำนึงความอคติ หรือไม่ชอบ” นายเสรี ชี้แจง ซึ่งท้ายที่สุดที่ประชุมได้ลงมติ ผลปรากฎว่าเสียงข้างมาก 537 เสียงเห็นด้วยกับการแก้ไขของกมธ. ไม่เห็นด้วย 50 เสียง งดออกเสียง 17 เสียง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img