“เสรี” เตือน 7 พรรคโหวตหนุน “พิธา” นั่งนายกฯ อาจขัดรธน. ม. 159 ระวังเจอข้อหาล้มล้างการปกครองขั้นยุบพรรค ซัดนัดด้อมส้มชุมนุม13 ก.ค.ไร้วุฒิภาวะ-ไร้ความรับผิดชอบ ไม่สมควรเป็นผู้บริหารประเทศ ยันส.ว.ไม่กลัวถูกกดดัน ย้ำทุกอย่างทำตามรธน.
เมื่อวันที่ 10 ก.ค.66 เวลา 09.50 น. ที่รัฐสภา นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะส่งเรื่องคุณสมบัติของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกฯ ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการถือครองหุ้นสื่อไอทีวี จะส่งผลต่อการเลือกนายกฯหรือไม่ว่า เป็นแนวทางที่ทำอะไรให้ชัดเจนและถูกต้อง ก็จะแก้ปัญหาความเห็นที่แตกต่าง ทั้งในและนอกสภาฯ เมื่อกกต.สืบสวนสอบสวนได้ข้อมูลชัดเจนสามารถสรุป และเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ เป็นแนวทางที่จะลดปัญหา
เมื่อถามว่า ถ้าเป็นจริงนายพิธาจะถูกสกัดก่อนเลือกนายกฯหรือไม่ นายเสรี กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องสกัดหรือไม่สกัด ถ้าพูดว่าสกัดเหมือนตั้งใจที่จะไม่ให้เป็นนายกฯแต่เรื่องเหล่านี้เป็นบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้บุคคลที่จะเป็นนายกฯมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนั้นการทำหน้าที่ของส.ส.และส.ว.จะบัญญัติในรัฐธรรมนูญมาตราร 272 และส.ว.และส.ส.จะเห็นขอบบุคคลที่จะเป็นนายกฯตามมาตรา 159 ตรงนี้ถือว่ามีความสำคัญ ดังน้นส.ส.และส.ว.จะต้องเลือกคนที่ไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามคือการถือหุ้นสื่อไอทีวี ดังนั้นการทำหน้าที่ไม่ต้องรอศาลรัฐธรรมนูญ แต่เป็นคุณสมบัติที่มีความผิดในตัวของมันเอง ถ้าถือหุ้นสื่อก็ขัดคุณสมบัติอยู่แล้ว ส่วนเรื่องส่งศาลรัฐธรรมนูญเพื่อหาข้อยุติที่ชัดเจน การถือหุ้นเป็นเหตุและขัดรัฐธรรมนูญ แต่ความขัดหรือไม่ขัดเกิดขึ้นแล้ว เพราะส.ส.และส.ว.ต้องทำตามรัฐธรรมนูญมาตรา 159
“ผมยังห่วงว่า 8 พรรคการเมืองที่ไปร่วมกันเซ็นต์เอ็มโอยูจะกล้าตัดสินใจเลือกคนที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ จะกลายเป็นว่าเลือกคนที่ขาดคุณสมบัติ ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะ 8 พรรคการเมืองก็เหมือนปลาในค้องเดียวกันไปแล้ว ถ้าหากยังจะเลือกคนที่ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามอีก 7 พรรคอาจจะมีปัญหากับพรรคการเมืองเหล่านั้น ก็ฝากให้แต่ละพรรคไปพิจารณาบทบัญญัติรัฐธรรมนูญในส่วนนี้ ที่บอกว่าส.ว.ไม่เอาเสียงประชาชนที่เลือกพรรคก้าวไกล 151 คน 14 ล้านเสียง และไปรวมคะแนนของพรรคอีก 7 พรรคกลายเป็นเสียงข้างมาก จึงขอทำความเข้าใจว่าเสียงของแต่ละพรรคที่ได้มาประชาชนเขาเลือกให้พรรคที่เสนอชื่อเป็นนายกฯเป็นพรรคเพื่อไทยเพื่อให้น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกฯ แต่ไม่ได้เลือกให้พรรคเพื่อไทยไปรวมกับพรรคก้าวไกลเป็นนายกฯ กลายเป็นว่าพรรคเพื่อไทยทำขัดรัฐธรรมนูญเอง เพราะอย่านำมารวมกัน ดังนั้นการทำหน้าเลือกนายกฯเป็นคนละส่วนกันกับที่ส.ส.และส.ว.เลือกนายกฯมา”นายเสรี กล่าว
นายเสรี กล่าวต่อว่า อย่าไปยุยงให้ประชาชนมาชุมนุม เรียกร้อง เพราะจะทำให้เกิดความปั่นป่วน ไม่สงบเรียบร้อย เพราะทุกคนที่เข้ามาเป็นนักการเมืองต้องมีความรับผิดชอบต่อบ้านเมืองและประชาชน อย่ากบอกว่าถ้าไม่เลือกประชาชนจะออกมาชุมนุม ยิ่งแสดงออกแบบนี้คนเหล่านี้ไม่เหมาะที่จะมาบริหารประเทศ เพราะไปยุยงสงเสริมเด็ก ให้ทำสิ่งที่ผิดกฎหมาย ไม่ควรทำ เป็นการแสดงให้เห็นถึงวุฒิภาวะที่ไม่มีความรับผิดชอบ ดังนั้นส.ว.ไม่กังวลเพราะเราทำตามกฎหมาย แต่ถ้าเราเห็นด้วยเราก็ใช้ไม่ได้ ไม่มีความรับผิดชอบ ทั้งที่เขาให้มาทำหน้าที่ แต่กลับกลัวม็อบ
เมื่อถามว่า ขณะนี้ส.ว.มีความชัดเจนในการโหวตเลือกนายกฯอย่างไร นายเสรี กล่าวว่า กลุ่มเราชัดเจนว่าจะไม่เลือกคน และพรรค ที่ทำเรื่องซึ่งกระทบสถาบัน และกระทบมาตรา 112 เช็คเสียงตอนนี้ยังโหวตไม่ถึง 5 คน หรืออาจบวกลบนิดหน่อย ส่วนตัวเชื่อว่าเป็นแบบนั้น
เมื่อถามว่า ส.ว.หลายคนยินดีโหวตนายกฯเสียงข้างมากกังวลหรือไม่ว่าอาจเป็นพลังเงียบ นายเสรี กล่าวว่า เงียบก็คือเงียบ มันไม่มีหรอก ถามว่ามีใครออกมาแสดงตัวบ้างว่าสนับสนุน รายชื่อที่ออกมาก็มีแต่ถอย แต่ถ้ามีจริงก็ให้สาธารณชนเห็นด้วยคนจะได้เชื่อ
เมื่อถามว่า ทางพรรคก้าวไกลได้ติดต่อมาบ้างหรือไม่ นายเสรี กล่าวว่า ไม่มีการติดต่อมายังตน แต่ได้ข่าวว่ามีติดต่อมาหาเพื่อนส.ว. แต่ก็ถูกปฏิเสธไป บอกว่าถ้าไม่ถอยเรื่อง 112 เขาก็ไม่เลือก เขาก็ตอบชัดเจน ส่วนวันโหวตส.ว.จะงดหรือไม่เห็นชอบ ขึ้นอยู่กับแต่ละคนจะเลือกเอง