วันเสาร์, เมษายน 12, 2025
หน้าแรกHighlight“วิษณุ”แนะช่องทางตัดปัญหายุ่งยาก โหวตวาระ 3 แล้วงดออกเสียงคว่ำร่าง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“วิษณุ”แนะช่องทางตัดปัญหายุ่งยาก โหวตวาระ 3 แล้วงดออกเสียงคว่ำร่าง

“วิษณุ” ชี้ช่องรัฐสภาลุยโหวตวาระ 3 แล้วงดออกเสียงคว่ำร่างรธน. อ้างช่วยตัดปัญหา แนะแก้รธน. “รายมาตรา” เป็นหนทางที่เร็วสุด ยอมรับคำวินิจฉัยฉบับย่อ ตัวเองยังอ่านไม่รู้เรื่อง เผยโหวตวาระ 1 และ 2 ไม่เป็นโมฆะ

เมื่อวันที่ 12 มี.ค.64 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่หลายฝ่ายมีความคิดเห็นที่แตกต่าง ต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่ารัฐสภาจะสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ แต่ต้องทำประชามติก่อนว่า เนื่องจากคดีนี้ไม่มีคู่ความ ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่ได้อ่านคำวินิจฉัย แต่ใช้การส่งคำวินิจฉัยไปให้ประธานรัฐสภา พร้อมกับออกแถลงการณ์ฉบับย่อ ที่แม้แต่ตนยังอ่านไม่รู้เรื่อง ฟังไม่เข้าใจ ทำให้เกิดการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง อย่างไรก็ตาม คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฉบับจริงได้ถูกส่งถึงนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาแล้ว และฝ่ายรัฐสภากำลังวิเคราะห์กันอยู่ สำหรับการลงมติร่างรัฐธรรมนูญ วาระ 1 และ 2 ไม่มีอะไรผิดพลาด จึงไม่แท้งหรือเป็นโมฆะ แต่ตอนนี้มีปัญหาที่ว่าจะลงมติวาระ 3 ได้หรือไม่ ซึ่งที่ประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 17 มี.ค.นี้ คงหารือกันถึงเรื่องนี้ ถ้าที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นว่าไม่ควรลงมติวาระ 3 เพราะมีปัญหาข้อกฎหมาย ก็ยกเลิกการลงมตินั้นไปได้

นายวิษณุ กล่าวอีกว่า แต่ถ้าที่ประชุมเห็นว่า ควรเดินหน้าการลงมติวาระ 3 ก็ทำไป แล้วหากสุดท้ายต้องทำประชามติ ก็เอาไว้คิดกันภายหลัง แต่จะมีความเสี่ยงจากกรณีของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ จึงมีโอกาสเป็นได้สูงว่าถ้านำเข้าสู่การลงมติวาระ 3 ก็อาจไม่มีคนไปประชุม หรือมาประชุม แต่งดออกเสียง หรือมาประชุมแล้วลงมติคว่ำให้จบเรื่องไป ซึ่งถือเป็นวิธีที่ดีที่สุด แล้วไปเริ่มต้นใหม่ ด้วยการลงประชามติก่อนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญแนะนำ หรือจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐสภาไปคิดอ่านกัน แต่ทั้งหมดนี้คือความคิดเห็นของส่วนตัวของตน ทั้งนี้มีโอกาสสูงมากที่สมาชิกรัฐสภาจะงดออกเสียง

“วาระ 3 นี่แล้วแต่ว่าจะตัดสินใจให้แท้งหรือเปล่า ก็จะยุ่งหน่อย อาจเดินหน้าต่อได้ แต่มีบางมาตราที่พ่วงเข้าไปและทำให้เกิดปัญหา เช่น มาตรา 5 ซึ่งถ้าสภาลงมติในวาระ 3 ตกไป คือได้คะแนนเสียงไม่ถึง ก็ดูว่าน่าจะจบลงด้วยดี แต่อาจไม่ถูกใจบางคน แต่มันจะไม่เป็นปัญหา แต่หากสภาลงมติวาระ 3 ผ่าน ถ้าจะเดินต่อ มันก็จะเดินต่อยากแล้ว และรับรองเลยว่าจะมีคนเลี้ยวเข้าไปยื่นที่ศาลรัฐธรรมนูญอีกหนแน่ ซึ่งนอกจากมาตรา 5 แล้ว ยังมีอีกหลายมาตรา ซึ่งทุกมาตราที่ผูกกับสสร.นั้นจะมีปัญหาหมด”นายวิษณุ กล่าว

เมื่อถามว่า การทำประชามติควรเริ่มในช่วงเวลาใด นายวิษณุ กล่าวว่า ช่วงไหนก็ได้ แต่ต้องเข็นให้ร่างกฎหมายว่าด้วยการทำประชามติผ่านสภาก่อน โดยตอนนี้ต้องเข้าสู่การพิจารณาของสภา วาระ 2 ก่อน ทั้งนี้กฎหมายประชามติเป็นแค่เครื่องมือในการออกเสียงประชามติ ซึ่งผู้ทำประชามติคือรัฐบาล ส่วนการตั้งคำถามคงต้องคิดด้วยกัน แต่ถือเป็นคำถามของรัฐบาล เมื่อถามต่อว่า ถ้ารัฐบาลไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ก็ไม่สามารถทำได้ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ถูกต้อง

ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้าการลงมติวาระ 3 เสียงส่วนใหญ่คว่ำแล้ว ระหว่างการทำประชามติกับการแก้รายมาตรา แบบไหนจะมีแนวทางมากกว่ากัน นายวิษณุ กล่าวว่า กระแสในรัฐสภาอยากให้แก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราอยู่แล้ว ซึ่งการแก้เป็นรายมาตรานั้นเร็ว เดือนครึ่งก็เสร็จแล้ว แต่ต้องคิดให้ตรงกันก่อนว่าต้องการแก้ไขในมาตราใด ซึ่งนี่จะเป็นเรื่องที่พูดกันยาว ถ้ามีความเห็นร่วมกันได้ก็จบ ในทางที่ดีคือแก้ไขเป็นรายมาตรา เพราะไม่ต้องลงประชามติ

เมื่อถามว่า นายวิษณุเคยยกตัวอย่าง 4-5 ประเด็นที่ต้องทำประชามตินั้นมีอะไรบ้าง นายวิษณุ กล่าวว่า ประเด็นเหล่านี้เขียนอยู่ในรัฐธรมนูญ มาตรา 256 อยู่แล้ว คือ 1.วิธีแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งตอนนี้มีวิธีแก้อยู่2แบบแล้ว คือวิธีแก้ธรรมดากับไปร่างใหม่ ถ้าร่างใหม่ก็ต้องไปทำประชามติก่อน และหลัง ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเมื่อวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา แต่ถ้าเป็นการแก้ธรรมดา ก็ต้องดู 1.วิธีแก้รัฐธรรมนูญจะต้องไปออกเสียงประชามติ 2.ในส่วนที่เกี่ยวกับคุณสมบัติอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระ 3.ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องของหมวดพระมหากษัตริย์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ชัดเจนว่าไม่มีอะไรต้องตีความ

ผู้สื่อข่าวถามว่า บางฝ่ายกังวลเรื่องของกรอบเวลาว่าถ้าต้องไปร่างใหม่ จะใช้เวลา 24-26 เดือน ซึ่งอาจจะไม่ทันสภาชุดนี้ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องยาวขนาดนั้น ความหมายคือไม่เกิน 280 วัน แล้วทำไมจะไปรอให้จบที่ 280 วัน ไทม์ไลน์นี้สามารถยืดหยุ่นได้ แต่อยู่ที่ว่าแก้อะไร และเห็นพ้องต้องกันหรือไม่ แต่ข้อสำคัญ เมื่อเกิดสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) แล้วสภาจะยุบหรือไม่ หรือจะตั้งใหม่หรือไม่นั้น ก็ไม่เกี่ยวกัน เพราะถ้ายุบสภา สสร.เดินต่อไปได้ เพราะแยกออกมาต่างหากจากรัฐสภา

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img