วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS''สภาผู้บริโภค''รุกหนักย้ำ 8 ข้อธปท.ดูแลบัญชีเงินประชาชน เยียวยาเหยื่อ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

”สภาผู้บริโภค”รุกหนักย้ำ 8 ข้อธปท.ดูแลบัญชีเงินประชาชน เยียวยาเหยื่อ

สภาผู้บริโภค รุกหนัก จี้ซ้ำ เสนอ 8 ข้อ ธปท. เข้มงวด ดูแลบัญชีเงินประชาชน เยียวยาเหยื่อถูกลวงดูดเงินทันที พร้อมย้ำรัฐบาลเศรษฐา ให้ประกาศ​ปัญหาแก๊งค์คอลเซนเตอร์เป็นวาระแห่งชาติ

ภัยร้ายที่คุกคามความมั่นคงประเทศ และความไม่ปลอดภัยในทรัพย์สินของประชาชน ที่ต้องตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อกลลวงมิจฉาชีพ ที่ใช้เทคโนโลยีพลิกแพลงหลอกดูดเงินบัญชีและโอนย้ายไปยังบัญชีม้า ซึ่งจำเป็นที่ธนาคารและสถาบันการเงินต้องรอบคอบรัดกุม เพื่อป้องกันการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ที่ยังรุกคืบคุกคามสังคมอย่างหนัก

นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา รองเลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค รักษาการหัวหน้าฝ่ายนโยบายและนวัตกรรม เข้าพบและพูดคุยกับ นายภิญโญ ตรีเพชราภรณ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.
นางอรมนต์ จันทพันธ์
ผู้อำนวยการฝ่ายคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท. ถึงมาตรการและแนวทางการจัดการปัญหาภัยทางการเงิน แก๊งค์คอลเซนเตอร์ การก่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่กำลังเป็นภัยคุกคามที่สร้างความเดือดร้อน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงอย่างรุนแรง และเป็นไปตามพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 ที่ให้อำนาจหน้าที่ธนาคารและสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการคุ้มครองดูแลบัญชีเงินของประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค ให้มีความปลอดภัย ไม่ถูกโอนออกจากบัญชี และโอนต่อไปอันบัญชีอื่นเป็นทอดๆ ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูล กรณีที่บัญชีเงินนั้นถูกนำไปเกี่ยวโยงกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

ในการพูดคุยครั้งนี้ สภาผู้บริโภค ได้นำเสนอ 8 แนวทาง ต่อผู้แทน ธปท. เพื่อรับมือและจัดการปัญหาให้เห็นผลเป็นรูปธรรม คือ

  1. จะขอให้ติดตามการทำหน้าที่ของสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามพระราชกำหนด มีมาตรการลงโทษ สถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ปฏิบัติตาม และมีมาตรการรับผิดชอบเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที
  2. กำหนดหลักเกณฑ์การชดเชยเยียวยาความสียหายแก่ผู้บริโภคเต็มจำนวน หากความเสียหายไม่ได้เกิดจากผู้บริโภค เช่น ถูกแฮกโอนเงิน ถูกหลอกโอนเงินจากบัญชีฝากประจำ
  3. ออกหลักเกณฑ์ควบคุมการโอนเงินระหว่างประเทศ โดยกำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำในการโอนเงิน
  4. ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเปิดบัญชีเงินฝากผ่านร้านสะดวกซื้อและอิเล็กทรอนิกส์ให้เข้มงวด ป้องกันการเปิดบัญชีทำธุรกรรมทางการเงินที่ไม่สุจริต หรือ บัญชีม้า
  5. ออกหลักเกณฑ์กำหนดให้บุคคลมีบัญชีเงินฝากไม่เกิน 5 บัญชี
  6. กำหนดหลักเกณฑ์ให้สถาบันการเงินตั้งกองทุน หรือ ทำหลักประกันคุ้มครองความสียหายในการฝากเงินกับสถาบันการเงิน กรณีเกิดภัยทุจริตทางการเงิน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการดูแลรักษาเงิน และสามารถเยียวยาความเสียหายของผู้บริโภคที่จะเกิดขึ้นทันที
  7. จัดให้มีเบอร์โทรสายด่วนแจ้งเหตุหมายเลขเดียว แจ้งได้ทุกธนาคาร และให้มีศูนย์บัญชาการร่วมกันของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ธนาคารแต่ละแห่ง ในการสั่งการแก้ไขปัญหา ระงับการทำธุรกรรมทางการเงินภายในไม่เกิน 3 นาที หลังรับแจ้งเหตุภัยทุจริตทางการเงิน
  8. ก่อนการโอนเงินของผู้บริโภค ขอให้มีระบบการแจ้งเตือนหมายเลขบัญชีต้องสงสัยที่ถูกนำไปใช้ในการกระทำความผิด (Hight Risk) ให้แก่ผู้บริโภคทราบ เพื่อป้องกันการโอนเงินไปยังบัญชีที่ต้องสงสัย ซึ่งข้อเสนอหลายเรื่องสภาผู้บริโภคได้เสนอไปก่อนหน้านี้แล้ว

ในโอกาสเดียวกันนี้ สภาผู้บริโภค ยังขอย้ำ ให้รัฐบาลใหม่ ประกาศให้ การป้องกันและปราบปรามการก่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยี เป็น “วาระแห่งชาติ” พร้อมเรียกร้องให้นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี รวมถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ DES คนใหม่ สั่งตั้งศูนย์จัดการภัยไซเบอร์แบบเบ็ดเสร็จ มีสายด่วนเบอร์เดียว รับแจ้งเหตุและจัดการปัญหาทันที ทั้ง การแฮคข้อมูลส่วนบุคคล การดูดเงินในบัญชี การจัดการบัญชีม้า และการจ่ายชดใช้ความเสียหายให้ผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะ นายกรัฐมนตรีมีตำแหน่งเป็นประธาน
คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ” หรือ “กมช.” และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง DES เป็นประธานคณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ตาม พ.ร.บ.การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 ให้ความสำคัญและเร่งจัดการปัญหานี้ เพื่อลดความเสียหายที่เป็นภัยคุกคามความมั่นคงของชาติ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img