วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightรัฐสภาเดือด!!“โหวต-ไม่โหวต”วาระ 3 ข้างน้อยโวยยับอย่าตีความศรีธนญชัย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

รัฐสภาเดือด!!“โหวต-ไม่โหวต”วาระ 3 ข้างน้อยโวยยับอย่าตีความศรีธนญชัย

ประชุมร่วมรัฐสภา แค่เริ่มก็เดือดพล่าน “ไพบูลย์-สมชาย” นำทีมห้ามโหวตรธน.วาระ 3 ชี้ขัดรธน.ชัดเจน ด้าน “พท.” จวกยับ บางคนเป็นกมธ.เสนอญัตติเอง แล้วก็ส่งศาลรธน.ตีความเอง ไม่อายบ้างหรือ ขณะที่ “ธีรัจชัย ณ ก้าวไกล” ซัดถ่วงแก้รธน.ฉบับขี้โกง อย่าใช้เสียงข้างมากตีความแบบศรีธนญชัย

เมื่อเวลา 09.45 น. วันที่ 17 มี.ค.64 ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา (สมัยวิสามัญ) ครั้งที่ 1 เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 ) ซึ่งเป็นการพิจารณาเพื่อลงมติในวาระที่สาม โดยมีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม ทั้งนี้นายชวน ได้แจ้งให้ทราบถึงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 4/2564 ซึ่งระบุว่า รัฐสภามีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ แต่ต้องให้ประชาชนทำประชามติก่อนว่า มีความประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ จากนั้นสมาชิกได้ถกเถียงหารือถึงการลงมติ วาระ 3 จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ เนื่องจากการตีความคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญระบุ การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะต้องดำเนินการได้ ต้องผ่านการทำประชามติจากประชาชนก่อน

โดยนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประขารัฐ ในฐานะผู้ยื่นญัตติส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อภิปรายว่า คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญมีประเด็นสำคัญคือคือ การดำเนินการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ต้องเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม โดยที่ประชุมรัฐสภา ให้ส.ส.-ส.ว.เป็นผู้ดำเนินการ จะไปมอบอำนาจให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จัดทำไม่ได้ ไม่มีบทบัญญัติให้จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ หากจะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ให้มีส.ส.ร. ย่อมมีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ดังนั้นการโหวตวาระ 3 จะทำไม่ได้ ตรงกับความเห็นของฝ่ายกฎหมายของสภา ทำให้เห็นว่า ไม่สามารถโหวตร่างรัฐธรรมนูญวาระ 3 ได้ จะเก็บไว้ต่อไม่ได้ เพราะขัดรัฐธรรมนูญ ถ้าจะทำรัฐธรรมนูญใหม่ ต้องเริ่มต้นเสนอญัตติใหม่ ถ้ารัฐสภาเห็นชอบ ก็ส่งให้ครม.จัดทำประชามติ ถ้าประชาชนเห็นชอบ ก็ใช้วิธีตั้งกมธ.พิจารณายกร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การตั้งส.ส.ร.

ขณะที่นายสมชาย แสวงการ ส.ว. อภิปรายว่า ในฐานะผู้ยื่นญัตติส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อภิปรายว่า ฝ่ายกฎหมายวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภาเห็นตรงกันว่า การลงมติวาระ 3 ทำไม่ได้ เพราะคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญระบุการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต้องให้ประชาชนทำประชามติก่อน ดังนั้นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จึงต้องทำประชามติก่อน จึงขอเสนอญัตติตามข้อบังคับประชุมเพื่อให้ที่ระชุมรัฐสภาพิจารณาการลงมติวาระ 3 ไม่สามารถทำได้ เพราะเมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่เป็นไปตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีการทำประชามติ จึงต้องตกไป ก่อนที่นายชวนเปิดโอกาสให้สมาชิกหารือแสดงความเห็น

cr : สุรเชษฐ์ วัชรวิศิษฏ์

ทางด้านนายสมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ไม่มีข้อความใดในศาลรัฐธรรมนูญระบุไม่ให้ลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 สิ่งที่อ้างมาว่าลงมติวาระ 3 ไม่ได้ เป็นแค่ความเห็นของฝ่ายกฎหมายส.ส.และส.ว. ถ้าไม่อยากแก้ก็บอกมาตรงๆ ว่า ไม่อยากแก้ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญปี 2560 เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม ถึงจะตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมา ก็ไม่ได้หมายความว่า จะแก้ไขทั้งฉบับ เพราะไม่ได้แตะต้องหมวด 1 และ 2 ไม่มีเหตุผลที่จะไม่ลงวาระ 3 ถ้าเป็นเช่นนี้ รัฐสภาทำอะไรไม่ได้เลย ยืนยันรัฐสภาลงมติวาระ 3 ได้ ต้องเดินหน้าต่อ รัฐสภาจะขายหน้าไปถึงไหน อย่าใช้หลักกฎหมายข้างๆ คูๆ

“พูดแล้วช้ำหัวใจ บางคนมานั่งใน กมธ.เป็นคนเสนอญัตติเอง ส่งศาลรัฐธรรมนูญทำเอง ไม่อายบ้างหรือ คนที่เสนอไม่อายบ้าง ฝึกอายบ้าง จะเดินหน้าได้ ผมขอให้ประธานรัฐสภายึดมั่นในระบบรัฐสภา เดินหน้าลงมติวาระ 3”นายสมคิด กล่าวอย่างมีอารมณ์

นายธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า เหตุใดการแก้ไขรัฐธรรมนูญทำได้ยาก แต่การฉีกรัฐธรรมนูญโดยการรัฐประหารไม่มีใครคัดค้าน มีผู้ได้ประโยชน์จากการรัฐประหารปี 2557 นั่งอยู่ในที่นี้หลายร้อยคน และในวันนี้ยังมาขัดขวางแก้รัฐธรรมนูญอีก รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ปราบโกง แต่ขี้โกง เอาเปรียบ ต้องการสืบทอดอำนาจ ควรโหวตวาระ 3 ให้เสร็จ ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรก็ไม่เป็นไร ขอให้โหวต อย่าใช้เสียงข้างมากลากไป ตีความแบบศรีธนญชัย

ต่อมานายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า ขอเสนอทางออก โดยเสนอญัตติให้รัฐสภามีมติให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่รัฐสภาอีกครั้งใน 4 ประเด็นได้แก่ 1.ร่างที่พิจารณากันอยู่ เป็นร่างแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้ชี้ชัดสถานภาพว่า เป็นร่างแก้ไขเพิ่มเติม หรือร่างจัดทำใหม่กันแน่ 2.การทำประชามติรับฟังความเห็นประชาชนก่อน จะทำตอนไหน ระหว่างก่อนโหวตวาระที่หนึ่ง หรือหลังโหวตวาระที่สาม 3.การทำประชามติระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ 2 มาตราคือ มาตรา 166 ให้ครม.จัดทำประชามติ เป็นอำนาจฝ่ายบริหาร และมาตรา 256(8) การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลังผ่านวาระ 3 แล้ว ต้องนำไปทำประชาติ จึงต้องอาศัยคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่ากรณีใดจะทำประชามติเมื่อไร 4.ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจะตกทั้งฉบับหรือไม่ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจว่าจะลงมติในวาระ 3 ได้หรือไม่ เพราะยังไม่ทราบข้อเท็จจริงว่าร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังวินิจฉัยยังมีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิตไปแล้ว ประเด็นเหล่านี้ควรให้รัฐสภาส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความให้ชัดเจน ไม่ได้เตะถ่วง ประวิงเวลาแก้รัฐธรรมนูญ แต่ต้องส่งตีความอีกครั้งเพื่อให้กระบวนการแก้ไขรอบคอบ ถูกต้อง ปราศจากข้อสงสัย ไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง

cr : สุรเชษฐ์ วัชรวิศิษฏ์

ด้านนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ได้แย้งว่า การที่นายจุรินทร์เสนอญัตติส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ ถือเป็นญัตติซ้อนญัตติกับนายสมชาย แสวงการ ส.ว. ที่อาจทำให้ญัตตินายสมชายตกไป ขอความชัดเจนด้วย โดยนายชวนชี้แจงว่า สามารถเสนอได้ เพราะเป็นญัตติที่เกี่ยวเนื่องทำนองเดียวกัน จะสอบถามทีละญัตติ โดยลงมติญัตตินายสมชายก่อน ถ้าญัตติของนายสมชายได้รับความเห็นชอบ ญัตตินายจุรินทร์ก็จะตกไป และเชื่อว่า จะมีญัตติอื่นๆเสนอตามมาอีก ตนจะสรุปตอนสุดท้ายอีกที ขณะที่นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. อภิปรายว่า ขอเสนอญัตติให้ที่ประชุมรัฐสภาลงมติไม่ลงมาติวาระ3 เนื่องจากขัดคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อปรับปรุงถ้อยคำญัตตินายสมชายให้ชัดเจนขึ้น โดยถือเป็นญัตติที่3 ที่ถูกเสนอขึ้นมาให้พิจารณา

จากนั้น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ขอเสนอญัตติให้รัฐสภาทำหน้าที่ลงมติวาระ 3 ต่อไป ตามมาตรา 256 เพราะเห็นว่า ทำต่อได้ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญระบุการแก้ไขเพิ่มเติมให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น ทำได้ แต่ต้องทำประชามติสอบถามประชาชนก่อน ซึ่งขั้นตอนทำประชามติ ฝ่ายค้านและนักวิชาการต่างๆ อาทิ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร นายปริญญา เทวานฤมิตร ล้วนมีความเห็นว่า ให้ทำประชามติก่อนการจัดทำรัฐ ธรรมนูญฉบับใหม่ ไม่ใช่ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติม เพราะไม่มีกฎหมายใดรองรับการทำประชามติก่อนยื่นญัตติแก้รัฐธรรมนูญ ทั้งนี้รัฐธรรมนูญระบุการทำประชามติไว้ 2 กรณีคือ กรณีมาตรา 166 ที่ครม.เป็นผู้เสนอ และมาตรา 256(8) ให้ทำประชามติการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลังวาระ 3 ดังนั้นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ต้องทำประชามติหลังลงมติวาระ3เท่านั้น

“อยากให้เดินหน้าโหวตวาระ 3 เพื่อให้ประชาชนใช้อำนาจตัดสินจะมีรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ อย่าปิดกั้นอำนาจประชาชน ถ้าไปปิดกั้นอาจเกิดวิกฤตินองเลือด เหมือนปี 2535 อย่าให้บ้านเมืองมีอันเป็นไปเพราะการตัดสินใจของรัฐสภา ไม่มีคำพูดใดบอกว่า สิ่งที่รัฐสภาดำเนินการมาผิด ทางออกดีที่สุดแนวทางเดียวคือ โหวตวาระ 3 และต้องลงมติให้ผ่าน อย่าให้รัฐธรรมนูญแท้งก่อนคลอด วันนี้ใส่สูทดำขอไว้ทุกข์ให้กับการทำแท้งรัฐธรรมนูญ และในวันที่ 18 มี.ค.เรียกร้องให้แต่งชุดดำเต็มสภา เพราะไม่เห็นด้วยกับการล้มรัฐธรรมนูญ”นพ.ชลน่านกล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img