วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightตร.แจงวางรั้วลวดหนาม-ตู้คอนเทนเนอร์ป้องกันสถานที่สำคัญ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ตร.แจงวางรั้วลวดหนาม-ตู้คอนเทนเนอร์ป้องกันสถานที่สำคัญ

บชน.ย้ำการชุมนุมเป็นการกระทำผิดกฎหมาย  แจงจำเป็นต้องวางรั้วลวดหนามและตู้คอนเทนเนอร์เพื่อป้องกันสถานที่สำคัญและเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้มาชุมนุมกระทำผิดซ้ำ  

เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รองผบช.น. ในฐานะโฆษก บช.น. พร้อมด้วยพ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกตร. ร่วมกันแถลงมาตรการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการชุมนุมซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มรีเดมในวันนี้ที่ท้องสนามหลวง ตั้งแต่เวลา 18.00น.-21.00น. 

 พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า การชุมนุมวันนี้จะมีกลุ่มมวลชน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มเยาวชนปลอดแอก (REDEM) เวลา 18.00-21.00 น. 2.กลุ่มศิลปะปลดแอก (FreeArt) เวลา 18.30 น. และกลุ่มเพื่อนอานนท์ เวลา 19.19 น. มารวมตัวกันบริเวณท้องสนามหลวง  

ทั้งนี้ทางบช.น. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอแจ้งเตือนว่า เนื่องจากขณะนี้กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ควบคุมตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ประกอบกับมีประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 5 มี.ค.64 ประกาศห้ามในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ห้ามไม่ให้มีการชุมนุมมั่วสุม หรือจัดกิจกรรมในลักษณะหนึ่งลักษณะใดที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ประกอบ พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อ

ดังนั้นการชุมนุมทุกอย่างในกรุงเทพมหานคร ถือว่ากระทำผิดกฎหมาย และฝากเตือนถึงผู้ชุมนุมอีกกลุ่มหนึ่งกรณีที่มีการประกาศว่าจะมีการแจกจ่ายหนังสือหรือสิ่งพิมพ์บางอย่างที่มีเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ไม่ว่าเนื้อหานั้นจะเป็นความผิดหมิ่นประมาทผู้หนึ่งผู้ใด หรือมีความผิดตามมาตรา 112 ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา ผู้จำหน่าย ผู้จ่ายแจก หรือผู้เกี่ยวข้องถือเป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วยทั้งนั้น 

อย่างไรก็ตามทางบช.น. ได้จัดกำลังตำรวจในการรักษาความสงบเรียบร้อยตามสถานการณ์และการข่าว และจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรอำนวยความสะดวกการจราจรให้กับประชาชนผู้สัญจรไปมา ยืนยันว่าจัดกำลังไว้เพียงพอตามสถานการณ์และการข่าว ส่วนการวางรั้วลวดหนามและตู้คอนเทนเนอร์รอบสนามหลวงนั้น เจ้าหน้าที่มีความจำเป็นต้องตั้งแนวป้องกันรักษาสถานที่สำคัญ

ทั้งนี้ตั้งแต่มีการชุมนุมมา ตำรวจได้จับกุมและคุมตัวผู้กระทำผิดทั้งสิ้น 179 คดี ส่งฟ้องไปยังพนักงานอัยการ 129 คดี ส่วนที่เหลือกำลังสืบสวนสอบสวน และจะรายงานผลเป็นระยะ  

ด้าน พ.ต.อ.กฤษณะ กล่าวว่า สำหรับความจำเป็นที่ต้องวางสิ่งกีดขวางกีดกั้น เป็นการประเมินสถานกาณ์ของเจ้าหน้าที่ เพื่อป้องกันระวังไม่ให้มีการกระทำความผิดซ้ำแล้วซ้ำอีกเช่น การรักษาสถานที่ราชการสำคัญต่างๆ การป้องกันไม่ให้เกิดการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ที่ออกมาปฏิบัติหน้าที่ และป้องกันไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมที่อาจไม่ได้ตั้งใจจะบุกรุกเข้าไปในสถานที่ แต่ขณะที่ชุมนุมนั้นอาจมีอารมณ์ร่วมระหว่างการชุมนุม ฉะนั้นการวางสิ่งกีดขวางหรือสิ่งกีดกั้นเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้มาชุมนุมกระทำผิดซ้ำ  ซึ่งอาจเป็นการกระทำความผิดที่มีอัตราโทษสูงขึ้น เป็นการประเมินสถานการณ์ของเจ้าหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img