วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight'ซูเปอร์โพล’ จัดอันดับกระทรวง สธ.ตื่นตัว ช่วยดูแลปชช.มากที่สุด
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘ซูเปอร์โพล’ จัดอันดับกระทรวง สธ.ตื่นตัว ช่วยดูแลปชช.มากที่สุด

ซูเปอร์โพล ระบุประชาชนอยากเห็นนายกฯและรัฐมนตรีว่าการ เปลี่ยนตัวหัวหน้าส่วนราชการที่ไม่ตื่นตัวทำงาน ร้อยละ 90.6 ไม่รู้จะอดอยากไปอีกนานแค่ไหน ร้อยละ 90.5 ประชาชนอดทน อดกลั้น ไม่ลงถนนกลัวซ้ำเติมวิกฤตของประเทศและความเดือดร้อนของผู้อื่น

เมื่อวันที่ 28 มี.ค. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง จัดอันดับกระทรวง พบว่า ร้อยละ 93.7 ต้องการเห็นข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ รวดเร็วฉับไว ทำงานเห็นผลงานแก้ปัญหาของประชาชนได้เมื่อเกิดเหตุ ในขณะที่ร้อยละ 93.5 ต้องการให้ นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการ เปลี่ยนตัวหัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ที่ไม่ตื่นตัวทำงาน ตอบโจทย์ตรงเป้าความต้องการของประชาชน ที่น่าเป็นห่วงคือ ร้อยละ 90.6 ระบุ ตอนนี้ ยืนยันได้ว่า ประหยัดจนไม่รู้ประหยัดตรงไหนอีกแล้ว อดอยากไม่รู้ว่าจะอดอยากไปอีกนานแค่ไหน 

นอกจากนี้ ร้อยละ 89.9 ระบุ ทุกวันนี้ พบว่า เจ้าสัวรวยแล้วรวยอีก คนจนจนแล้วจนลง เพราะคนจนถูกปิดทางเลือกไม่มีโอกาสซื้อสินค้าราคาถูกช่วงวิกฤตและคนกำลังตกงาน และร้อยละ 89.3 ระบุ บรรดาเจ้าสัว ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจกำลังเอาเปรียบประชาชนช่วงวิกฤต ประชาชนจำทนต้องซื้อสินค้าราคาสูง เกินความสามารถจ่ายได้ อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 90.5 อดทน อดกลั้น ไม่ยอมพากันลงถนนเพราะกลัวซ้ำเติมวิกฤตของประเทศและความเดือดร้อนของผู้อื่น และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.6 ระบุ วันนี้ ฉันเป็นทุกข์ ฉันกำลังเดือดร้อน 

ที่น่าสนใจคือ ผลการจัดอันดับกระทรวงตื่นตัว เป็นตัวช่วยดูแลประชาชนได้มากที่สุด อันดับหนึ่ง หรือร้อยละ 45.4 ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข มีผลงานเด่น รวดเร็วฉับไวป้องกันและแก้ไขวิกฤตแพร่ระบาดของเชื้อโควิดดูแลรักษาประชาชนผู้ติดเชื้อ การได้วัคซีนมาฉีดให้ประชาชนฟรีครอบคลุมทั่วประเทศ อันดับสอง หรือร้อยละ 21.7 ได้แก่ กระทรวงการคลัง บางส่วนราชการ เช่น ธนาคารกรุงไทย ช่วยเหลือเยียวยา เอาใจใส่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย อันดับสามหรือร้อยละ 7.7 ได้แก่ กระทรวงกลาโหม ทหารช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย พิบัติต่าง ๆ รับซื้อสินค้าเกษตรจำหน่ายสินค้าราคาถูกใกล้ค่ายทหาร ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกักกันตัวควบคุมโรค โรงพยาบาลสนามการจัดกำลังเข้าควบคุมพื้นที่แพร่ระบาดโควิดและช่วยเหลือประชาชน อันดับสี่หรือร้อยละ 7.4 ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ ร่วมมือกับภาคเอกชนขายสินค้าราคาถูก อันดับห้าหรือร้อยละ 6.2 ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เยียวยากลุ่มเกษตรกรได้รับผลกระทบจากโควิด-19 การประกันราคาพืชผลทางการเกษตร ในขณะที่ ร้อยละ 11.6 ระบุอื่น ๆ

ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลการจัดอันดับ หน่วยงานรัฐ ต้นตอปัญหาซ้ำเติมวิกฤตความเดือดร้อนทุกข์ของประชาชนเมื่อตอบได้หลายหน่วยงาน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.0 ระบุ ตำรวจท้องที่ ตำรวจอำเภอต่าง ๆ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ปล่อยปละละเลย แหล่งมั่วสุมบ่อนพนันในชุมชน ต้นตอแพร่ระบาดโควิด) รองลงมา เป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติเช่นกัน คือ ร้อยละ 72.1 ระบุ ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(เกี่ยวข้องขบวนการขนแรงงานเถื่อน) อันดับสามหรือร้อยละ 70.2 ระบุ ข้าราชการ กระทรวงแรงงาน (ปล่อยปละละเลยแรงงานเถื่อนกระจายในสถานประกอบการ) อันดับสี่หรือร้อยละ 69.8 ระบุ กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง (ปัญหาดั้งเดิมอันยาวนานเรื่องผลประโยชน์ พิธีการศุลกากร) และอันดับห้าหรือร้อยละ 68.4 ระบุ กระทรวงมหาดไทย (ปล่อยปละละเลยแรงงานเถื่อน แหล่งมั่วสุมบ่อนพนันในชุมชน และบทบาทช่วยเหลือดูแลปัญหาเดือดร้อนปัญหาปากท้องของประชาชนไม่มีผลงานประจักษ์โดดเด่น)

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์การทำโพลชี้ให้เห็นว่า ประชาชนต่างเดือดร้อนและได้รับผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยทั่วหน้า ผลการจัดอันดับกระทรวงและส่วนราชการต่าง ๆ ครั้งนี้ สะท้อนถึงความตื่นตัวของกระทรวงและส่วนราชการต่างๆ ในการตอบสนองปัญหาและความต้องการของประชาชนช่วงการแพร่ระบาดของโรคที่ผ่านมา โดยเฉพาะรัฐบาล ที่ต้องมีนโยบายเข้ม รอบคอบและชัดเจน รวดเร็วพอที่จะตอบสนองครอบคลุมในทุกมิติและกลุ่มเป้าหมาย จำเป็นต้องลงดาบข้าราชการเกียร์ว่างทุกระดับ 

โดยมีตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม มีข้อเสนอแนะ 3 ประการประการแรก ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐในภาคส่วนราชการถือเป็นที่พึ่งยามทุกข์ยากของประชาชนช่วงวิกฤตโควิดและวิกฤตเศรษฐกิจ หากไม่ตอบโจทย์ประชาชนก็จำเป็นต้องเปลี่ยนตัว หัวหน้าส่วนราชการทุกระดับ จึงจำเป็นต้องตื่นตัวปรับเปลี่ยนและลงพื้นที่ตอบสนองแก้ไขภัยคุกคามชีวิตปกติสุขและสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้รวดเร็วฉับไว เพื่อจบปัญหาเดือดร้อนของประชาชนระดับพื้นที่ให้ได้โดยต้องมีข้อมูลและจัดทีมบูรณาการ ลงแก้ปัญหา กระจายเข้าชุมชนต่างๆทำให้ประชาชนฟื้นตัวและพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว โดยเฉพาะภาคการเกษตร การท่องเที่ยวและกลุ่มสตาร์ทอัพ (Start Up) โดยดึงสถาบันการศึกษาท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้าร่วมอย่างเป็นระบบ

ประการที่สอง ภาคเอกชน บรรดาเจ้าสัว ผู้ประกอบการนักธุรกิจนักลงทุนที่ถูกมองว่าเอาเปรียบประชาชนที่ผ่านมา ควรใช้โอกาสนี้ แสดงความจริงใจรวมตัวกันจัดมหกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย ปลดทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนยอมตัดเฉือนกำไรและถอยมาใส่ใจทำเพื่อประชาชนผู้มีรายได้น้อยและสังคมส่วนรวมให้มากขึ้นเพราะธุรกิจอยู่ได้ด้วยประชาชนผู้บริโภค เมื่อทุกคนเจอวิกฤตโควิด-19 จึงจำเป็นต้องขอให้บรรดาเจ้าสัวผู้ประกอบการและภาคธุรกิจต่างๆ เข้ามารองรับช่วยพยุงสังคมและประชาชนให้อยู่ได้โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก

ประการที่สาม ภาคประชาชน ที่ต้องไม่รอความช่วยเหลือเป็นลูกนกจึงเป็นความจำเป็นที่ภาคประชาชนต้องตื่นตัว เรียนรู้ ปรับเปลี่ยนตัวเอง ครอบครัว ชุมชนเพื่อความอยู่รอดด้วยความรัก ความเข้าใจกันและพึ่งพากัน มุ่งร่วมกันการพาคนลงถนนที่ขัดกฎหมาย เพื่อความอยู่รอดฟื้นตัวและเข้มแข็งไปด้วยกัน จำเป็นต้องรู้รักสามัคคี ช่วยเหลือกันและกัน หยุดต้นตอของการยุยงสร้างความแตกแยกของคนในชาติ การพาคนลงถนนที่ขัดกฎหมายอันเป็นต้นตอความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย ที่ทำให้เกิดการสูญเสียและเสียหายทำลายภาพลักษณ์ของประเทศ จนโอกาสการฟื้นตัวของประเทศที่กำลังสั่งสมภาพบวก กลายเป็นวิกฤตเหยียบย่ำซ้ำเติมประชาชนที่ร่วมกัดฟันต่อสู้ฝ่าปัญหาต่างๆมาด้วยกัน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img