วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“ปชป.”แตกยับ“อภิสิทธิ์-สาธิต”ลาออก! “เฉลิมชัย”ยึดอำนาจคว้าเก้าอี้หน.พรรค
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ปชป.”แตกยับ“อภิสิทธิ์-สาธิต”ลาออก! “เฉลิมชัย”ยึดอำนาจคว้าเก้าอี้หน.พรรค

ศึกชิงอำนาจใน “ปชป.” แตกยับ “มาร์ค” ลาออกสมาชิกพรรค หลังคุย “เสี่ยต่อ” สองต่อสอง “สาธิต” ขอลาออกตาม ยก 4 เหตุผลจวกเละ “คนบางกลุ่ม” ยึดพรรคพวกมากกว่าอุดมการณ์ แต่สุดท้าย “เฉลิมชัย” ได้คะแนนเสียงท่วมท้น 88.5% นั่งเก้าอี้หัวหน้าพรรคปชป.คนที่ 9

เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.66 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ หลักสี่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ กลางที่ประชุมใหญ่สามัญ พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเลือกตั้งหัวหน้าพรรคคนใหม่ โดยก่อนหน้านี้ ต้องพักการประชุมเพื่อให้นายอภิสิทธิ์พูดคุยกับนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รักษาการเลขาธิการพรรคฯ เป็นการส่วนตัว แล้วหลังจากนั้นนายอภิสิทธิ์จึงออกมาประกาศลาออก

เวลา 11.50 น. ภายหลังขอถอนตัวจากการลงสมัครเป็นหัวหน้าพรรคและขอลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ ได้เดินทางกลับทันที โดยให้สัมภาษณ์เพียงว่า “ได้พูดไปหมดแล้ว จากนี้ไม่มีอะไรค้างคาใจ ส่วนบทบาททางการเมืองจากนี้จะเป็นอย่างไร ยังไม่ได้คิด”

ผู้สื่อข่าวถามว่า คาดการณ์ล่วงหน้าว่า หากพูดคุยกับนายเฉลิมชัยแล้ว จะลาออกจากพรรค นายอภิสิทธิ์ไม่ตอบคำถามดังกล่าว

เมื่อถามว่า ในระหว่างการคุยกัน นายเฉลิมชัยบอกว่าจะไปร่วมรัฐบาลหรือไม่ จึงทำให้ตัดสินใจลาออกจากสมาชิกพรรค นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า “เดี๋ยวท่านก็พูดเอง”

เมื่อถามย้ำว่า การตัดสินใจลาออกได้วางแผนไว้ล่วงหน้าหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ยังคงปฏิเสธการตอบ พร้อมกับเดินขึ้นรถ โดยในระหว่างนั้น มีสมาชิกพรรควิ่งจับมือ ซึ่งนายอภิสิทธิ์บอกว่า “เดี๋ยวเจอกัน” ก่อนที่จะเดินทางกลับ

“สาธิต” ขอลาออกตาม ยก 4 เหตุผลจวกเละ

ในเวลาต่อมา นายสาธิต ปิตุเตชะ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงลาออกจากสมาชิกพรรคเช่นกัน โดยให้เหตุผล 4 ข้อว่า 1.สถานการณ์ของพรรคมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงอุดมการณ์เป็นอย่างมาก และจากที่มาร่วมประชุมรู้สึกว่าเป็นการประชุมเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค เหมือนกับรู้ผลมาก่อนล่วงหน้า เพราะฉะนั้นทิศทางทิศทางและแนวทางทางการเมืองของพรรคที่ผ่านมาจนมาถึงวันนี้ ตนเห็นว่าละทิ้งอุดมการณ์ของพรรค จะเห็นได้จากเหตุการณ์การจัดตั้งรัฐบาลที่ผ่านมา มีการไปลงมติให้นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกฯ ทั้งที่พรรคมีมติแล้วว่าให้งดออกเสียง นั่นคือความชัดเจนว่าทิศทางของพรรคในเชิงอุดมการณ์การเปลี่ยนแปลง

2.มีคนกลุ่มหนึ่งในพรรคประชาธิปัตย์ให้ความสำคัญกับคำว่า “พรรคพวก” มากกว่า “จุดยืนทางการเมือง” ที่ชัดเจน และมากกว่า “อุดมการณ์ที่มีมาอย่างยาวนานของพรรค” เราอาจจะเห็นทิศทางของการนำพาพรรคในการนำพาพรรคในอนาคตอย่างชัดเจน อย่างชัดเจนว่าจะเป็นอย่างไร ทางการเมืองเพราะปราศจากจุดยืนทางการเมือง

3.ทิศทางของพรรคประชาธิปัตย์ไม่เปิดโอกาสให้ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทั้งที่ในที่ประชุมมีผู้เสนอตัวลงสมัครหัวหน้าพรรค โดยต้องใช้การงดเว้นข้อบังคับโดยใช้เสียง 3 ใน 4 แต่ปรากฏว่าไม่ให้ลงสนามเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นจึงถือว่าการเปลี่ยนแปลงของพรรคไม่เป็นไปในทิศทางที่มีจุดยืนทางการเมืองที่ชัดเจน แต่ใช้ความเป็นพรรคพวกมาตัดสินทุกเรื่องในการนำพาพรรค

4.คนที่จะมานำพาพรรค ไม่รักษาสัจจะวาจา อย่าว่าแต่เป็นผู้บริหารพรรคเลย เป็นนักการเมืองก็เป็นไม่ได้ เพราะคำพูดและสัจจะที่เราให้ไว้กับประชาชนในที่สาธารณะเปรียบเสมือนนโยบายที่ต้องรักษา นักการเมืองที่ดีต้องพึ่งรักษา

“ดังนั้นถ้านักการเมืองที่มีคุณสมบัติแบบนี้มานำพาพรรค ผมเห็นว่าทิศทางในอนาคตของพรรคประชาธิปัตย์ก็จะถูกประชาชนลงโทษ ผมจึงตัดสินใจลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคตลอดเวลา 13 ปีที่ผ่านมา มีความผูกพันกับพรรคและจะดูว่าคนที่จะบริหารพรรค จะนำพาพรรคไปสู่จุดไหนและจะติดตามเฝ้าดู ถ้ามีโอกาสก็พร้อมจะกลับมาร่วมงานกับเพื่อนสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ในโอกาสครั้งต่อไป”นายสาธิต กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า จากนี้จะไปทำงานเมืองพรรคการเมืองไหน นายสาธิต กล่าวว่า ยังไม่ได้มีการตัดสินใจว่าจะไปอยู่พรรคไหน แต่วันนี้ตัดสินใจลาออกจากสมาชิกพรรค ซึ่งการลาออกครั้งนี้ เป็นการตัดสินใจของตนคนเดียว และคิดว่าจะมีเพื่อนร่วมอุดมการณ์ ที่มีแนวความคิดตรงกันก็แล้วแต่จะตัดสินใจ ตนไม่ได้ชวนใคร

ต่อมาในเวลา 13.30 น. นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ กกต.ประจำพรรคฯ ได้ประกาศผลลงคะแนนว่า ที่ประชุมเลือกนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ด้วยคะแนน 88.5 เปอร์เซนต์ ถือว่านายเฉลิมชัยได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 9

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img