“กมธ.มั่นคง” ดึง “ธรรมนัส” ลงพื้นที่ “ด่านเจดีย์สามองค์” 4-5 มี.ค. ตามติดแก้ยางพาราเถื่อน หลังพบข้อมูลนำผ่านแดนจากเมียนมาไปมาเลฯ “โรม” แฉผิดกฎหมาย-สวมสิทธิ์เป็นยางไทย ส่อกลิ่นทุจริตลามถึงขั้นมีข่มขู่ขรก.ในพื้นที่ โวยศุลกากรร่วมมือน้อยสุด จี้ “นายกฯ” ในฐานะกำกับดูแลเข้าแจงข้อมูล
วันที่ 16 ก.พ.2567 เวลา 13.50 น. ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร แถลงถึงกรณีการตรวจสอบกระบวนการลักลอบขนยางพาราเถื่อนผ่านแนวชายแดนไทยว่า กมธ.ฯ ได้มีการประชุมครั้งสำคัญเกี่ยวกับเรื่องยางพาราผิดกฎหมายที่มีการลักลอบนำเข้า ผ่านมาทางด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยมียางที่ นำผ่านแดนจากฝั่งเมียนมาไปด่านสะเดาและส่งต่อไปยังมาเลเซีย และ มีการนำยางที่ผิดกฎหมาย เข้ามาสวมสิทธิ์เป็นยางไทยเพื่อมาใช้ในประเทศ ซึ่งอาจเป็นอย่างคุณภาพต่ำและเกิดปัญหาเรื่องโรค ซึ่งเป็นปัญหาส่งผลกระทบสำคัญคือ ทำให้ราคายางพารา ไม่ได้สะท้อนความเป็นจริง เพราะนํายางจากเพื่อนบ้านเข้ามา โดยประเด็นที่กรรมาธิการให้น้ำหนักมากที่สุดคือ ให้ความสำคัญกับ การส่งยางผ่านแดนจากเมียนมาไปมาเลเซีย เพราะพบตัวเลขจากข้อมูลของศุลกากรมียางผ่านแดนสูงมากกว่า 51,000 ตัน แต่จากข้อมูลในพื้นที่ พบตัวเลขยางสูงกว่า 140,000 ตัน ซึ่งเป็นจำนวนมากมายมหาศาล ซึ่งการสร้างผลกระทบในพื้นที่ หากมีการเดินทางไปท่องเที่ยวที่ด่านเจดีย์สามองค์ จะพบปัญหาส่งกลิ่นเหม็น เพราะยังไม่ใช่คุณภาพ จึงไม่อยากมีใครไปท่องเที่ยวและส่งผลกระทบเชิงระบบนิเวศ อีกทั้งเส้นทางถนนการเดินทาง ไปอำเภอ สังขละบุรี ค่อนข้างยากอยู่แล้ว นอกจากนี้ด่าน เจดีย์สามองค์เป็นด่านเพื่อการท่องเที่ยว แต่ในฝั่งพม่าปิดด่านอยู่
นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาให้ข้อมูลต่อกรรมาธิการ พบว่ากรมศุลกากร ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ความร่วมมือน้อยที่สุด เช่นส่งคน ที่ไม่สามารถตัดสินใจได้เชิงนโยบายมาร่วมประชุมทำให้กรรมาธิการต้องเชิญออกนอกห้อง ก็เคยมีมาแล้ว และไม่พยายามนำไปสู่การแก้ปัญหา ทั้งนี้กรรมาธิการได้ข้อสรุปสำคัญ คือการนำยางผ่านแดน จากสังขละบุรีไปอำเภอสะเดา ตามกฎหมายไม่สามารถทำได้ หมายความว่าตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาการนำยางดังกล่าวผ่านด่านประเทศไทย โดยเสียค่าธรรมเนียม ศุลกากร 500 บาท โดยมีรถพ่วงหลายสิบคันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เกิดขึ้นมาประมาณร่วม 1 ปี จึงเป็นความเสียหายที่ร้ายแรง ทางกรรมาธิการพยายามหาข้อมูลจากหลายฝ่าย แล้วต้องให้เครดิต ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้ข้อสรุปร่วมกันว่าจะสกัดกั้นและปราบปรามยางพาราที่ผิดกฎหมาย ที่เข้าผ่านแดนเข้ามา และได้หารือกับอธิบดีกรมวิชาการเกษตร และได้มีการพูดคุยด้วยวาจา กับรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งถือเป็นข่าวดีว่าต่อไปนี้สามารถตั้งความหวัง ว่าอย่างที่จะผ่านแดนจากฝั่งเมียนมาจะไม่เกิดขึ้นอีกและจะมีการสกัดกั้น อย่างจริงจังโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยวันพฤหัสบดีหน้ากรรมการจะหารือเรื่องนี้อีกครั้ง และติดตามความคืบหน้า ก่อนที่วันที่ 4-5มี.ค.นี้จะลงพื้นที่อำเภอสังขละบุรี และทำหนังสือเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมลงพื้นที่ด้วย เพื่อติดตามว่ามีการนำ ข้อแนะนำของกรรมาธิการ ไปปฏิบัติอย่างไรหรือไม่ ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นสำคัญในการแก้ปัญหายางพารา ที่ถูกละเลย และเกิดปัญหาราคายางตกต่ำมาโดยตลอด และเคยพูดหลายครั้งว่าปัญหาสำคัญคือเรื่องยางพาราเถื่อน แต่ด้วยความร่วมมือของหน่วยงานราชการ โดยเฉพาะกระทรวงเกษตร ทำให้มีหนทางในการแก้ปัญหายางพาราเถื่อน และนำไปสู่การยกระดับราคายางพาราในประเทศต่อไป เพราะบางครั้งก็มีการลักลอบนำยาเสพติดเข้ามากับยางพาราเถื่อนด้วย ซึ่งน่าเป็นห่วงกับการกระทำที่ผิดกฎหมายตามแนวชายแดน
นายรังสิมันต์ กล่าวอีกว่า มีข้อมูลว่าเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรไปประจำ อยู่ถูกข่มขู่มีรถติดตาม ซึ่งอาจเป็นเขตอิทธิพล ที่เกิดขึ้นในพื้นที่อำเภอสังขละบุรี กรรมาธิการจึงขอร้องให้กองทัพไปดูแลเรื่องความปลอดภัยเพราะเป็นพื้นที่ชายแดน ซึ่งได้รับความร่วมมือที่ดีหวังว่าจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ และขณะนี้ศุลกากรเป็นด่านหน้าที่จะต้องรับผิดชอบ ตั้งข้อสังเกตว่าที่ผ่านมาให้ผ่านได้อย่างไร อีกทั้งศุลกากรไม่ได้ความร่วมมือกับกรรมาธิการที่เชิญมาเมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว แต่ผู้รับผิดชอบโดยตรงไม่มา กรรมาธิการจึงจำเป็นต้องฟังข้อมูลในส่วนที่เหลือ จากหน่วยงานอื่นๆ ทุกคนให้ข้อมูลที่ตรงกันหมดว่า เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากด่านศุลกากรที่ประจำอยู่สังขละบุรี ส่วนใครจะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไปกรรมาธิการคงต้องแสวงหาข้อเท็จจริงต่อไปแต่ยังไม่ทราบว่าเป็นกลุ่มไหน แต่ก็เชื่อว่าเรื่องนี้มีทั้งพูดที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์คงหาได้ไม่ยาก
นายรังสิมันต์ กล่าวว่า การประชุมกรรมาธิการฯครั้งถัดไปจะทำหนังสือเชิญ นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง มาให้ข้อมูลด้วย เพราะสิ่งที่จะต้องทำต่อไปคือการแก้ไขปัญหาการทุจริตในกรมศุลกากร ทั้งนี้คิดว่าจะต้องมีการดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ทั้งนี้จะทำหนังสือถึงป.ป.ช. แนบผลการประชุมต่างๆที่เคยทำมา เพื่อรับลูกไปดำเนินการ แก้ปัญหาทุจริง