วันศุกร์, มกราคม 10, 2025
หน้าแรกNEWSมาแปลกบอกรัฐบาลคิดผิดค้านซื้อ’เรือฟริเกต’ ‘ก้าวไกล’โอดเสียดายพลาดโอกาสพัฒนา
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

มาแปลกบอกรัฐบาลคิดผิดค้านซื้อ’เรือฟริเกต’ ‘ก้าวไกล’โอดเสียดายพลาดโอกาสพัฒนา

“ชยพล” ชี้รัฐบาลคิดผิดค้าน “กองทัพเรือ” ซื้อเรือฟริเกต เหตุมีประโยชน์ความมั่นคงทางน่านน้ำ มองไกลพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตได้ ยันไม่ทันบรรจุเข้างบฯ 68 แน่ หวั่นเสี่ยงเกิดภัยความมั่นคงระหว่างรอเรือ โอดเสียดายไทยพลาดโอกาสพัฒนาเศรษฐกิจ

วันที่ 15 มี.ค. 2567 ที่อาคารอนาคตใหม่ นายชยพล สท้อนดี สส.กทม.กล่าวถึงการจัดซื้อเรือฟริเกตลำใหม่ของกองทัพเรือ ว่า อาจจะถือเป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่ที่จะปกป้องโอกาสทางธุรกิจ และโอกาสทางด้านความมั่นคงของประเทศ โดยตนขอใช้ชื่อว่าไร้เรือ ไร้รั้ว ไร้ความรับผิดชอบ ในการประชุม กมธ.งบ ทางกองทัพเรือได้ตั้ง งบประมาณจำนวน 1,700 ล้านบาท เพื่อขอซื้อเรือฟริเกตลำใหม่รุ่นที่ผ่านมากองทัพเรือสื่อสารมาตลอดว่าเป็นการซื้อเพื่อเป็นเรือคู่แฝดกับเรือรบภูมิพลที่ซื้อมาจากประเทศเกาหลี ทั้งนี้ ในชั้นอนุกรรมาธิการงบด้านความมั่นคง กองทัพเรือได้นำเอกสารมาชี้แจงถึงความจำเป็น และวัตถุประสงค์ของการจัดหาเรือในครั้งนี้ แต่สุดท้ายห้องอนุกรรมาธิการงบความมั่นคง ได้ลงมติให้ตัดงบ ประมาณในการจัดหาเรือ ฟริเกต ลำนี้ไปและถึงแม้กองทัพเรือได้ขออุทธรณ์เข้ามาที่ห้องกรรมาธิการงบใหญ่และ ชี้แจงถึงเหตุผลความจำเป็น ทั้งความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจแต่ก็ถูกมติของห้องใหญ่ปัดตกอีกรอบหนึ่ง

นายชยพล กล่าวต่อว่า กองทัพเรือได้ประเมินไว้ว่าประเทศไทยจำเป็นจะต้องมีเรือฟริเกตทั้งหมด 8 ลำ เพื่อปกป้องน่านน้ำประเทศไทย โดยแบ่งพื้นที่เป็นฝั่งอันดามัน 4 ลำ และฝั่งอ่าวไทย 4 ลำ แต่ในปัจจุบันกองทัพเรือมีเรือฟริเกตใช้งานเพียง 4 ลำเท่านั้น ซึ่งประกอบด้วยเรือหลวงรัตนโกสินทร์อายุ 38 ปี , เรือหลวงนเรศวรอายุ 30 ปี , เรือหลวงตากสินอายุ 29 ปี และเรือหลวงภูมิพลอายุ 5 ปี จากการชี้แจงของกองทัพเรือ อายุของเรือฟริเกตจะใช้กันอยู่ที่ราวๆ 30 ปีเท่านั้น แต่เนื่องจากว่ากองทัพเรือไม่ได้รับอนุมัติงบประมาณให้ซื้อเรือฟริเกตลำใหม่ จึงจำเป็นต้องส่งซ่อมเรือและยืดอายุการใช้งานยาวไปจนถึง 40 ปี ค่อยปลดระวาง หรือเหลือเวลาใช้งานเรือหลวงรัตนโกสินทร์ที่อายุ 38 ปีแล้ว เพียงแค่ 2 ปี และจะปลดระวางในปี 69 ทำให้ไทยกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่จะเหลือเรือฟริเกตใช้งานเพียงแค่ 3 ลำเท่านั้น ซึ่งการต่อเรือฟริสเกตจะต้องใช้ระยะเวลา 4-5 ปี ซึ่งถ้าได้รับอนุมัติโครงการภายในงบประมาณปี 67 ไทยจะเหลือเรือฟริเกตใช้งานเพียง 3 ลำ ในระยะเวลา 2 ปี ก่อนที่จะได้รับเรือลำใหม่

“เมื่อไม่ได้รับการอนุมัติงบภายในปี 67 นี้ก็มีความเป็นไปได้สูงว่าจะได้รับการอนุมัติงบอีกทีในงบปี 69 เนื่องจากช่วงเวลาในการส่งคำของบปี 68 ได้ปิดลงไปแล้ว ทำให้เราอาจจะได้รับเรือช้าในปี 73 เสียด้วยซ้ำ ดังนั้นเราจะมีเรือฟริเกตเพียง 3 ลำ ที่จะใช้งานยาวถึง 4 ปี ซึ่งเป็นความเสี่ยงทางความมั่นคงอย่างยิ่งโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับจำนวนยุทโธปกรณ์ของประเทศเพื่อนบ้าน มีเรือฟริเกต ตั้งแต่ 3-14 ลำ หากเกิดภัยความมั่นคงทางทะเลขึ้นมาในช่วงเวลาตรงนี้กองทัพเรือจะไม่มีเรือใช้งานเราก็คงจะโทษใครไม่ได้นอกจากการตัดสินใจและการบริหารของตัวรัฐบาลเอง” นายชยพลกล่าว

นายชยพล กล่าวอีกว่า การจัดซื้อจัดจ้างครั้งนี้ไม่เหมือนกับการจัดซื้อเรือดำน้ำ เพราะการจัดซื้อเรือลำนี้ จะมาพร้อมกับโอกาสทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ สร้างโอกาสให้ประเทศไทยเกิดประโยชน์ต่อเนื่องไม่สิ้นสุด ซึ่งกองทัพเรือยืนยันว่าโครงการจัดหาซื้อเรือฟริเกตในครั้งนี้จะสามารถทำให้ไทยต่อเรือเองได้ซ่อมเองได้ และผลิตขายต่อได้ในอนาคต กองทัพเรือยืนยันว่าโครงการนี้จะถ่ายทอดองค์ความรู้ระดับสูงให้กับ แรงงานไทยไม่ใช่เพียงแค่การจ้าง และจะแตกต่างกับกรณีเรือดำน้ำแน่นอน รวมถึงผู้บัญชาการกองทัพเรือ (ผบ.ทร.) เองก็ได้ยืนยันว่า พิจารณาเรื่องของการจ่ายมูลค่าโครงการนี้เป็นผลผลิตอื่นของประเทศด้วยไม่จำเป็นจะต้องเอาแค่เงินสดไปแลก

นายชยพล กล่าวอีกว่า ข้อมูลทั้งหมดนี้จึงเห็นว่า เราขาดยุทโธปกรณ์ในการปกป้องน่านน้ำไทยจริง ไม่ใช่สถานการณ์ของการเสริมสร้างรั้วของความมั่นคงเช่น การซื้อยุทโธปกรณ์ครั้งอื่น แต่ครั้งนี้เป็นสถานการณ์ที่ประเทศไทยเราไม่มีรั้วในการป้องกันน้ำน้ำทะเลไทยแล้ว จึงเป็นจะต้องจัดซื้อให้ทันการใช้งานและลดช่องว่างที่ไทยจะอ่อนแอทางด้านการปกป้องน่านน้ำไทยให้น้อยที่สุด นอกจากนี้ ปัจจัยทางด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจก็สำคัญ เพราะเงินทั้งหมด 17,000 ล้านบาท จะถูกใช้เพื่อจุดประกายอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ ในการต่อเรือให้ตอบโตได้ขึ้นได้จริงในประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยลดการพึ่งพายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ รวมถึงเพิ่มโอกาสในการผลิตขายต่อให้กับต่างประเทศในอนาคต เช่นเดียวกับที่ประเทศเกาหลีได้ทำสำเร็จแล้ว ในตอนนี้จึงบอกว่าการลงทุนครั้งนี้ ถ้ากองทัพเรือสามารถ ทำตามวัตถุประสงค์ ที่ตนเองวางไว้ได้ทั้งหมดก็สมควรที่จะสนับสนุนให้เกิดขึ้นได้โดยเร็ว

แต่อย่างไรก็ตาม น่าเสียดายที่กรรมาธิการสัดส่วนอื่นๆไม่ได้มีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยบอกว่า ไม่จำเป็นไม่เร่งด่วนรอบรรจุในงบปีถัดไป ,TORไม่ชัดเจน , แผนวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจน

“ผมคิดเป็นอื่นไม่ได้ว่าไม่ได้อ่านเอกสาร และมีการตั้งธงมาแล้วว่าจะต้องมีการตัดเท่านั้น จึงไม่ได้มีการเดินออกมาอ่านเอกสารเลย มีแต่ออกความคิดเห็นไปในเชิงลบอย่างเดียว และไม่ได้ฟังความจำเป็นทางด้านความมั่นคงและเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ผมไม่แน่ใจว่าได้มีการคุยกันเองกันก่อนหรือไม่ ที่จะออกมาค้านที่พรรคก้าวไกลสนับสนุนโครงการนี้เพราะมันก็คือ มติของครม. ของรัฐบาลเอง แล้วกลายเป็น สส. ของรัฐบาลเองที่ออกมาค้าน แล้วกลายเป็นกรรมาธิการของรัฐบาลเองที่ออกมาค้าน ผมขอแนะนำให้ทุกคนไปคุยกันเองก่อนดีกว่า ไม่ใช่อนุมัติมาอย่างนี้แล้วมา ตีตกทีหลัง แล้วไม่รับผิดชอบอะไรอย่างนี้เลย แล้วปล่อยให้ประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง สูญเสียโอกาสทาง เศรษฐกิจในระดับนี้ได้ เป็นการเข้าใจผิดอย่างร้ายแรง การที่เข้าใจว่าพรรคก้าวไกลตั้งตัวเป็นปรปักษ์ต่อกองทัพ เพราะความจริงแล้วเราตั้งเป้าไว้เพียงแค่ให้กองทัพเป็นกองทัพที่มีประสิทธิภาพ กะทัดรัด และสมเหตุสมผลและทำงานทุกอย่างได้อย่างคุ้มค่าคุ้มงบประมาณให้เหมาะสมกับเม็ดเงินที่ลงทุนไปกับกองทัพ” นายชยพลกล่าว

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img