‘ชัยธวัช’ บอก “ก้าวไกล” งดออกเสียง เตือน ‘รัฐสภา’ กำลังทำให้ “ฝ่ายตุลาการ” กลายเป็นรัฐธรรมนูญเสียเอง-มาบีบทำให้สยบยอม เปิดช่องขยายอำนาจตัวเอง ด้าน “สว.วันชัย” ชี้ตรงๆ ญัตตินี้ทำถูกแล้ว เมื่อเกิดข้อขัดแย้ง ‘ปธ.รัฐสภา’ ไม่กล้าบรรจุ ก็ต้องส่งศาลฯตีวาม
เมื่อวันที่ 29 มี.ค.67 เวลา 16.00 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย รองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม พิจารณาญัตติเรื่อง ขอเสนอญัตติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 ข้อ 31 ให้รัฐสภามีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 210 (2) ที่นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และคณะ เป็นผู้เสนอ
ต่อมาเวลา 16.00 น.นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) อภิปรายว่า เราใช้รัฐธรรมนูญปี 60 มาแล้ว 6-7 ปี มีการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาและมีข้อเสนอว่าจะต้องแก้ตรงนั้นตรงนี้มาตรานั้นมาตรานี้ แต่มีประเด็นทีจะต้องแก้ไข คือ 1.ที่มาขององค์กรอิสระ โดยเฉพาะคุณสมบัติเพราะสว.โหวตเลือกมา 5 ปียากมาก 2.การได้มาซึ่งสว.ที่จะเกิดขึ้นในเดือนพ.ค.โดยเฉพาะกระบวนการที่จะได้มา 3.การปฏิรูปประเทศ แต่เวลาปฏิบัติจริงที่เป็นมรรคเป็นผลไม่มีเลย เป็นเพียงแค่ตัวหนังสือเท่านั้น แต่คนที่จะปฏิรูปจริงคือรัฐบาล การที่เสนอญัตติให้แก้ไขประชามติถึง 3 ครั้ง อะไรกันหนักหนาต้องทำประชามติถึง 3 ครั้ง แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 และปี 60 ทำเพียงครั้งเดียว ส่วนรัฐธรรมนูญปี 40 ก็ให้รัฐสภาลงมติ แต่ครั้งนี้แสดงว่าปวงชนขาวไทยซ้อนปวงชนชาวไทย ซึ่งการทำประชามติครั้งละ 3 พันล้านบาท รวม 3 ครั้งแล้วเกือบหมื่นล้าน แต่ยังไม่รวมการตั้งส.ส.ร.ก็ใช้เงินอีก 3 พันล้าน และทำงาน 1-2 ปีใช้เงินอีกหมื่นล้านบาท จะแก้รัฐธรรมนูญทั้งที่ต้องใช้เงินเกือบ 2 หมื่นล้าน แต่ในภาวะเศรษฐกิจของประเทศ แค่ 2 ครั้งก็มากเกินพอแล้ว
“ผมเห็นด้วยกับญัตติดังกล่าว เมื่อผ่านสภาไปแล้วว่าจะมีการทำรัฐธรรมนูญ แล้วใช้การตั้งส.ส.ร.ถามไปคราวเดียวกันกับมาตรา 256 (8) เพราะเป็นเพียงปฐมบทเริ่มต้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้แก้ไขใหม่ แต่สมาชิกหลายคน หลายพรรคเห็นว่าถ้าทำไปแล้วจะมีปัญหาขัดรัฐธรรมนูญและเสียของไปเปล่า เมื่อมีปัญหาข้อขัดแย้ง และประธานก็ไม่กล้าบรรจุ เกิดความขัดแย้งกัน เพราะฉะนั้นองค์กรที่จะวินิจฉัยคือศาลรัฐธรรมนูญ เป็นสิ่งที่ชอบแล้ว เพราะต่างฝ่ายก็มีข้อสงสัย ดังนั้นเพื่อหาข้อยุติก็ส่งศาลรธน. ส่วนศาลจะรับหรือไม่อย่างไร ก็เป็นสิ่งที่สมาชิกรัฐสภาดำเนินการตามญัตตินี้ชอบแล้ว” นายวันชัย กล่าว
ต่อมาเวลา 16.10 น.นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายว่า ในเรื่องนี้ตนเห็นว่ารัฐสภายังสามารถหาข้อยุติในเรื่องนี้ได้ด้วยกลไกของรัฐสภาเอง เช่น ปรึกษาหารือ แสดงความคิดเห็น หรือลงมติว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย กับดุลยพินิจของประธานรัฐสภา เมื่อมีมติอย่างไร ประธานรัฐสภาก็คงดำเนินการไปตามนั้น เราตีความอำนาจตัวเองได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตใคร ดังนั้น เมื่อไม่มีเหตุจำเป็นต้องไปถามหรือขออนุญาตศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องที่เรามีอำนาจอยู่แล้ว ตนและพรรคก้าวไกลไม่สนับสนุน เนื่องจากจะเป็นการเปิดช่องให้ศาลฯวินิจฉัยขยายอำนาจของตัวเอง หรือบางครั้งก็ตีความรัฐธรรมนูญเกินบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
“ปัจจุบันเราปฏิบัติต่อศาลรัฐธรรมนูญในลักษณะที่กำลังทำให้ศาลฯกลายเป็นผู้ผูกขาดตีความรัฐธรรมนูญแต่เพียงผู้เดียวไปแล้ว ศาลฯกำลังกลายเป็นรัฐธรรมนูญเสียเอง วินิจฉัยอย่างไรก็ได้ บางครั้งไปถามนักนิติศาสตร์ว่ามันตรงตามหลักกฎหมายหรือตรงตามรัฐธรรมนูญไม่ได้เลย แล้วก็อาศัยอำนาจอ้าง รวมถึงประธานรัฐสภาก็อ้างว่าคำวินิจฉัยศาลฯผูกพันทุกองค์กร บีบให้สถาบันทางการเมืองอื่นสยบยอมทั้งสิ้น ยอมจำนนกันหมด ดังนั้นหากพวกเรายังมีส่วนร่วมในการสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองแบบนี้ต่อไป ในอนาคตระบอบการเมืองที่ควรจะอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ จะกลายเป็นระบอบการเมืองที่ปกครองด้วยคำวินิจฉัยของศาลฯ ซึ่งเป็นระบอบอะไรก็ไม่รู้ การกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายไม่สำคัญเท่ากับการกระทำตามที่ศาลฯชอบ ถือเป็นเรื่องใหญ่” นายชัยธวัช กล่าว
นายชัยธวัช กล่าวด้วยว่า ตนและสส.พรรคก้าวไกล จึงขอสงวนความเห็นในที่ประชุมรัฐสภาแห่งนี้ ด้วยการงดออกเสียงในญัตติดังกล่าว ไม่ใช่เพราะต้องการจะขัดขวางการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และไม่ใช่การขัดขวางญัตติของนายชูศักดิ์ และคณะ เพราะตนเชื่อว่าเสียงส่วนใหญ่ของรัฐสภา ซึ่งมาจากสส.ฝั่งรัฐบาล มากพออยู่แล้ว การที่เรางดออกเสียงครั้งนี้เพื่อส่งเสียงเตือนให้รัฐสภาช่วยกันทบทวนแก้ไขระบบการเมืองในอนาคต เพื่อให้สถาบันการเมืองต่างๆมีดุลยภาพ โดยมีอำนาจประชาชนเป็นอำนาจสูงสุด
ต่อมาเวลา 16.00 น.นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภา(สว.) อภิปรายว่า เราใช้รัฐธรรมนูญปี 60 มาแล้ว 6-7 ปี มีการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาและมีข้อเสนอว่าจะต้องแก้ตรงนั้นตรงนี้มาตรานั้นมาตรานี้ แต่มีประเด็นทีจะต้องแก้ไข คือ 1.ที่มาขององค์กรอิสระ โดยเฉพาะคุณสมบัติเพราะสว.โหวตเลือกมา 5 ปียากมาก 2.การได้มาซึ่งสว.ที่จะเกิดขึ้นในเดือนพ.ค.โดยเฉพาะกระบวนการที่จะได้มา 3.การปฏิรูปประเทศ แต่เวลาปฏิบัติจริงที่เป็นมรรคเป็นผลไม่มีเลย เป็นเพียงแค่ตัวหนังสือเท่านั้น แต่คนที่จะปฏิรูปจริงคือรัฐบาล การที่เสนอญัตติให้แก้ไขประชามติถึง 3 ครั้ง อะไรกันหนักหนาต้องทำประชามติถึง 3 ครั้ง แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 และปี 60 ทำเพียงครั้งเดียว ส่วนรัฐธรรมนูญปี 40 ก็ให้รัฐสภาลงมติ แต่ครั้งนี้แสดงว่าปวงชนขาวไทยซ้อนปวงชนชาวไทย ซึ่งการทำประชามติครั้งละ 3 พันล้านบาท รวม 3 ครั้งแล้วเกือบหมื่นล้าน แต่ยังไม่รวมการตั้งส.ส.ร.ก็ใช้เงินอีก 3 พันล้าน และทำงาน 1-2 ปีใช้เงินอีกหมื่นล้านบาท จะแก้รัฐธรรมนูญทั้งที่ต้องใช้เงินเกือบ 2 หมื่นล้าน แต่ในภาวะเศรษฐกิจของประเทศ แค่ 2 ครั้งก็มากเกินพอแล้ว
“ผมเห็นด้วยกับญัตติดังกล่าว เมื่อผ่านสภาไปแล้วว่าจะมีการทำรัฐธรรมนูญ แล้วใช้การตั้งส.ส.ร.ถามไปคราวเดียวกันกับมาตรา 256 (8) เพราะเป็นเพียงปฐมบทเริ่มต้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้แก้ไขใหม่ แต่สมาชิกหลายคน หลายพรรคเห็นว่าถ้าทำไปแล้วจะมีปัญหาขัดรัฐธรรมนูญและเสียของไปเปล่า เมื่อมีปัญหาข้อขัดแย้ง และประธานก็ไม่กล้าบรรจุ เกิดความขัดแย้งกัน เพราะฉะนั้นองค์กรที่จะวินิจฉัยคือศาลรัฐธรรมนูญ เป็นสิ่งที่ชอบแล้ว เพราะต่างฝ่ายก็มีข้อสงสัย ดังนั้นเพื่อหาข้อยุติก็ส่งศาลรธน. ส่วนศาลจะรับหรือไม่อย่างไร ก็เป็นสิ่งที่สมาชิกรัฐสภาดำเนินการตามญัตตินี้ชอบแล้ว” นายวันชัย กล่าว