วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“ผู้นำฝ่ายค้านฯ”ให้เวลา“รัฐบาล”1เดือน ต้องส่งร่างแก้“ก.ม.ประชามติ”เข้าสภาฯ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ผู้นำฝ่ายค้านฯ”ให้เวลา“รัฐบาล”1เดือน ต้องส่งร่างแก้“ก.ม.ประชามติ”เข้าสภาฯ

“ผู้นำฝ่ายค้านฯ” ขีดเส้น 1 เดือน! รัฐบาลต้องส่ง ร่างแก้ก.ม.ประชามติ เข้าสภาฯ สอนหากสื่อสารไม่ชัดอาจถูกครหา “ยื้อเวลา”

เมื่อวันที่ 3 พ.ค.67 ที่รัฐสภา นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้รัฐบาล เร่งส่งร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประชามติ (แก้ไขเพิ่มเติม) ต่อสภาผู้แทนราษฎร หลังจากที่มีมติชัดเจนว่าจะแก้ไขกฎหมายดังกล่าวให้แล้วเสร็จก่อนเริ่มทำประชามติถามประชาชนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ซึ่งตนมองว่าควรเร่งทำให้เร็วที่สุด ภายในเวลา 1 เดือน และในช่วงเดือนมิ.ย. ที่สภาฯ จะเปิดประชุมสมัยวิสามัญ ควรเริ่มพิจารณาได้ เพราะขณะนี้มีร่างแก้ไขที่บรรจุในวาระแล้ว คือ ฉบับของพรรคก้าวไกล และของพรรคเพื่อไทย ดังนั้นควรร่วมมือกันทำ ให้พ.ร.บ.ประชามติฉบับแก้ไขประกาศใช้เร็วที่สุด

นายชัยธวัช กล่าวต่อว่า ระหว่างที่รอแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ ตนมองว่ารัฐบาลมีเวลาที่จะทบทวนคำถามประชามติ ซึ่งฝ่ายค้านได้ท้วงติงไปแล้วว่า คำถามที่รัฐบาลเห็นชอบกับข้อเสนอของคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญนั้นเป็นคำถามที่มีปัญหาและไม่ดีในเชิงหลักการของการตั้งคำถามประชามติ โดยการตั้งคำถามที่ดีต้องไม่ซับซ้อน หรือเป็นคำถามซ้อนคำถาม และคำถามที่ดีที่สุด คือ ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

“ควรเอาความเห็นต่างในรายละเอียดออกไป ขณะที่ความเห็นต่างนั้น รัฐบาลสามารถใส่ไว้ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เตรียมเสนอต่อรัฐสภาได้ หากประชามติผ่านแล้ว ดังนั้นในชั้นประชามติไม่จำเป็นต้องใส่รายละเอียดที่คนเห็นต่างกัน หากอยากให้ประชามติผ่าน หรือเป็นเอกภาพที่สุด” ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าว

เมื่อถามว่า มองอย่างไรกับการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญของรัฐบาลที่ไม่ชัดเจน นายชัยธวัช กล่าวว่า เป็นปัญหาของรัฐบาลที่สื่อสารไม่ชัดเจน เพราะในวันที่ ครม. มีมติต่อการทำประชามติ เมื่อ 23 เม.ย. ในเอกสารที่เผยแพร่ในเว็ปไซต์ของรัฐบาลไม่ชัดเจนว่ามีมติอย่างไร จนล่าสุดมีมติว่าต้องแก้พ.ร.บ.ประชามติก่อนทำประชามติครั้งที่หนึ่ง ดังนั้นการทำประชามติรอบแรกในเดือนส.ค. นี้ จะไม่เกิดขึ้น เพราะต้องรอแก้ พ.ร.บ.ประชามติก่อน

เมื่อถามว่า กรณีดังกล่าวถือว่าจงใจยื้อเวลาหรือไม่ นายชัยธวัช กล่าวว่า ตนมองว่ารัฐบาลต้องสื่อสารตรงไปตรงมาและชัดเจนกับประชาชน ไม่เช่นนั้นจะถูกมองว่ายื้อเวลา กลับไปกลับมา

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img