วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“ชาญชัย”ท้า''วิษณุ''บริสุทธิ์จริง ต้องยึด ทำตามกฎหมายไม่ต้องกลัวอะไร
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ชาญชัย”ท้า”วิษณุ”บริสุทธิ์จริง ต้องยึด ทำตามกฎหมายไม่ต้องกลัวอะไร

“ชาญชัย” ยก พรบ.บริหารราชการแผ่นดินปี34   ม.11(6) ยัน “วิษณุ” รับเป็นที่ปรึกษาของนายกฯ ถือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน-หนี้สิน ต่อ ป.ป.ช.ตามกฎหมาย อ้างคำวินิจฉัยชี้ศาล รธน. กำหนดมาตรฐานไว้แล้ว   ชี้ หากไม่ทำผิดกฎหมาย กลัวอะไร ถ้าไม่ทุจริต หรือ รวยผิดปกติ ลั่น บริสุทธิ์จริง ต้องยึด ทำตามกฎหมาย

เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 67   นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์  อดีตสส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)กล่าวถึงกรณี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งนายวิษณุ เครืองาม ให้เป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ว่า   ทราบว่านายวิษณุมีเงื่อนไขพิเศษเรียกร้องว่า ถ้าจะเข้ามาช่วยทำงานให้นายกฯ   ท่านไม่ต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินหนี้สินต่อป.ป.ช.

การกระทำดังกล่าวของนายวิษณุกำลังสร้างวัฒนธรรมการใช้อำนาจรัฐที่สร้างปัญหาใหญ่ให้บ้านเมืองต่อไปในอนาคต เพราะคำสั่งแต่งตั้งของนายกฯครั้งนี้ มีอำนาจการแต่งตั้งโดยอาศัยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินปี 2534 มาตรา 11 (6) คือ ให้อำนาจนายวิษณุมีหน้าที่และอำนาจในการ  1.การตรวจสอบกลั่นกรองร่างกฎหมายและร่างบัญญัติที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  2. ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นทางกฎหมายแก่นายกฯ  3. เชิญเจ้าหน้าที่ราชการผู้แทนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมชี้แจง ให้ข้อมูลรายละเอียด หรือจัดทำเอกสารที่จะเข้าที่ประชุมครม.  4. ให้ข่าวสารในประเด็นที่เกี่ยวข้อง 5. แต่งตั้งคณะทำงานหรืออนุกรรมการเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงาน และเบิกค่าใช้จ่ายได้จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จะเห็นชัดชัดเจนว่า คำสั่งแต่งตั้งของนายกฯนี้ ให้อำนาจ เหมือนกับเป็นรัฐมนตรีคนหนึ่ง เพียงแต่ไม่มีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี แต่เป็นที่ปรึกษาพิเศษ 

ส่วนตำแหน่งนี้ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือไม่  กรณีเช่นนี้ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยที่ 5/2543 ว่า องค์ประกอบของเจ้าหน้าที่รัฐ ประกอบด้วย 1.) บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้ง ต้องได้รับการแต่งตั้งตามกฏหมาย ซึ่งนายวิษณุได้รับการแต่งตั้งตาม พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินปี 2534   2.) มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายตามกฎหมาย  3.) อยู่ในบังคับบัญชา หรือในกำกับดูแลของรัฐ คือ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี 4.) มีเงินเดือนค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนตามกฏหมาย มีการเบิกจ่ายเงินได้ เข้าองค์ประกอบทั้ง4 ข้อนี้  ก็ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ

อาจารย์วิษณุ  ท่านเป็นต้นตำรับของเจ้าแห่งกฎหมายฉบับนี้ แต่ท่านขอหลีกเลี่ยงการแสดงบัญชีทรัพย์สิน หนี้สินต่อ ป.ป.ช.ทำไม เพราะ อะไร ท่านเกรงกลัวอะไร ท่านกลัวเค้าจะตรวจสอบทรัพย์สินของท่านที่งอกเงยมากเกินกว่าปกติหรืออย่างไร  ท่านกำลังทำตัวอย่างที่ไม่ดีให้กับนักการเมืองและข้าราชการทั้งหมด เพราะแม้กระทั่งข้าราชการตัวเล็กๆ หรือระดับ ผอ.เล็กๆ ก็ยังต้องแจ้งแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน  แต่ท่านมีอำนาจมากขนาดนี้สามารถรู้ความลับหรือเอกสารลับทางราชการก่อนที่จะนำเข้าพิจารณาใน ครม. ซึ่งมีผลได้ ผลเสีย ต่อผลประโยชน์มากมาย ซ้ำท่านยังไม่ยอมจะแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน

‘’ขอฝากให้ท่านกลับไปทบทวนวิธีการของท่านใหม่เพราะมันเป็นข้อกฎหมายสำคัญ และสิ่งที่ที่ท่านกำลังจะทำก็สุ่มเสี่ยงที่จะผิดกฎหมาย  ถ้าเรื่องนี้ ป.ป.ช. ไม่มี  ป.ป.ช. ก็สามารถไปประกาศตามอำนาจของป.ป.ช. ว่า นายวิษณุเมื่อรับตำแหน่งแล้วต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน หรือไม่เช่นนั้น ตัวนายวิษณุ ก็สามารถแสดงความบริสุทธิ์ใจโดยแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ต่อ ป.ป.ช.เองก็ได้ ถ้าท่านไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต หรือเกี่ยวข้องกับคนในรัฐบาลทั้งหลาย จึงขอฝากถึงอาจารย์วิษณุ และ จะบอกกับท่านว่าท่านมีเบื้องหน้าเบื้องหลังในเรื่องอะไรหรือไม่อย่างไรในโอกาสต่อไป” นายชาญชัย กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

ว่าด้วยเรื่อง พัฒนา“พุทธมณฑล”

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img