วันอาทิตย์, กันยายน 8, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightแจงของบฯ1.2แสนล.ทำดิจิทัลวอลเล็ต “นายกฯ”มั่นใจ‘กระตุ้นเศรษฐกิจ’ในปท.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

แจงของบฯ1.2แสนล.ทำดิจิทัลวอลเล็ต “นายกฯ”มั่นใจ‘กระตุ้นเศรษฐกิจ’ในปท.

“เศรษฐา” นำครม.แจงสภาฯของบฯ 67 เพิ่ม 1.2 แสนล้านทำดิจิทัลวอลเลต โอ่ฐานะการเงินประเทศยังแข็งแกร่ง รับปากใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ-เป็นไปตามกฎหมาย มั่นใจกระตุ้นเศรษฐกิจให้เม็ดเงินไหลไปสู่ประชาชน-ภาคธุรกิจ สร้างการเจริญเติบโตให้ประเทศพัฒนาศักยภาพอย่าง

เมื่อวันที่ 17 ก.ค.67 เวลา 09.30 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายพิเชษฐ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯคนที่สอง ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาเรื่องด่วนร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2567 วงเงิน 1.22 แสนล้านบาท วาระแรก โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี นำทีมครม.เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง

ทั้งนี้นายเศรษฐา ได้ชี้แจงหลักการและเหตุผลการเสนอร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวว่า รัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่ต่างๆ ยกระดับคุณภาพชีวิต การดำรงชีพ สร้างโอกาสประกอบอาชีพของประชาชนและภาคธุรกิจ ควบคู่กับการรักษาระดับการบริโภค การลงทุนในประเทศ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน ไม่สามารถรองบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 ได้ จึงต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม 1.22 แสนล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยประมาณการเงินที่พึงได้สำหรับจ่ายตามงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมดังนี้ 1.ภาษีและรายได้อื่น เป็นแหล่งเงินจากการจัดเก็บรายได้ที่เดิมไม่ได้กำหนดไว้ในประมาณการ 1 หมื่นล้านบาท 2.เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 1.12 แสนล้านบาท ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวดำเนินการผ่านโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet คำนึงถึงความสอดคล้องภาวะเศรษฐกิจ ฐธรรมนูญปี 2560 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม

นายเศรษฐา กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 2-3 จากปัจจัยการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่าย การลงทุนภาครัฐ การฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการ การขยายตัวของการส่งออกสินค้า อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงจากภาระหนี้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ระดับสูง ความผันผวนระบบเศรษฐกิจการเงินโลกอยู่ในเกณฑ์สูง ขณะที่หนี้สาธารณะคงค้าง วันที่ 30 เม.ย.67 มีจำนวน 11.5 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 63.78 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ยังอยู่ในกรอบบริหารหนี้สาธารณะตามกฎหมายที่ต้องไม่เกินร้อยละ 70 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ส่วนฐานะเงินคงคลัง วันที่ 31 พ.ค.67 มี 3.94 แสนล้านบาท เงินสำรองระหว่างประเทศ 2.21 แสนล้านดอลลาร์ จัดว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งมาก สำหรับงบร่ายจ่ายเพิ่มเติมปี 2567วงเงิน 1.22 แสนล้านบาทนั้น จำแนกเป็นงบประมาณรายจ่ายงบกลาง 1.22 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 100 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อกระตุ้นและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม 1.22 แสนล้านบาทดังกล่าว เมื่อรวมกับกรอบวงเงินเดิม ตามพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 จำนวน 3.48 ล้านล้านบาท จะทำให้ปีงบประมาณ 2567 มีงบประมาณรายจ่ายรวม 3.6 ล้านล้านบาท

นายเศรษฐา กล่าวว่า แม้ว่างบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2567 เมื่อรวมกับกรอบวงเงินเดิมตามพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี2567 จะขาดดุลเพิ่มขึ้น แต่รัฐบาลได้จัดสรรรายจ่ายลงทุนไว้ในงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมปี 2567 จำนวน 97,600 ล้านบาท เมื่อรวมกับรายจ่ายลงทุนตามพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 จำนวน 7.1 แสนล้านบาท ทำให้มีรายจ่ายลงทุน 8.07 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากรายจ่ายลงทุนในปีงบประมาณ 2566 ร้อยละ 17.1 คิดเป็นร้อยละ 22.4 ของวงเงินงบประมาณรวม การบริหารงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดนี้ เป็นการใช้จ่ายเพื่อดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล และกระตุ้นเศรษฐกิจ

“รัฐบาลจะดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ ใช้จ่ายเงินภาษีประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด กระตุ้นเศรษฐกิจให้เม็ดเงินไหลไปสู่ประชาชนและภาคธุรกิจ สร้างการเจริญเติบโตให้ประเทศพัฒนาศักยภาพอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามกฎหมาย”นายกฯกล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img