วันอาทิตย์, กันยายน 8, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS“กมธ.นิรโทษฯ”สรุป3ประเด็นก.ม.นิรโทษฯ แนะรัฐบาลเป็นเจ้าภาพช่วยเร่งรัดตราก.ม.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“กมธ.นิรโทษฯ”สรุป3ประเด็นก.ม.นิรโทษฯ แนะรัฐบาลเป็นเจ้าภาพช่วยเร่งรัดตราก.ม.

“กมธ.นิรโทษฯ” สรุป 3 ประเด็น! เตรียมชงรายงานฯถึงมือ ‘ประธานสภาฯ’ พรุ่งนี้ เพื่อบรรจุระเบียบวาระถกในสภาฯ แนะ ‘รัฐบาล’ รับเป็น ‘เจ้าภาพ’ ช่วยเร่งรัดตรากฎหมายให้สำเร็จ สร้างความประนีประนอม-ไม่ต้องวนกลับไปทะเลาะเหมือนอดีต

วันที่ 25 ก.ค.2567 เวลา 15.30 น. ที่รัฐสภา นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพ.ร.บ.นิรโทษกรรม สภาฯ แถลงผลการประชุมกมธ.ฯนัดสุดท้ายว่า ที่ประชุมมีมติรับรองรายงานการประชุม โดยมีข้อสรุปคือ 1.ให้มีการนิรโทษกรรมคดีที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง นับตั้งแต่ปี 2548-ปัจจุบัน โดยใช้รูปแบบคณะกรรมการพิจารณาตามบัญชีแนบท้ายว่ามีคดีที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองใดบ้างที่เข้าข่าย หรือเข้าเงื่อนไขที่จะได้รับการนิรโทษกรรม 2.คดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เช่น คดีที่มีความผิดต่อชีวิต หรือละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงตามมาตรา288,289 ไม่เข้าข่ายที่จะได้รับการนิรโทษกรรม

นายชูศักดิ์ กล่าวต่อว่า 3.คดีที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง เช่น คดีตามมาตรา 110 โดยเฉพาะคดีตามมาตรา 112 ที่สังคมจับตาว่าจะรวมหรือไม่ในการนิรโทษกรรม กมธ.ฯมีข้อสรุป แบ่งออกเป็น 3 ความเห็น คือ 1.ไม่เห็นด้วยให้นิรโทษกรรมในคดีมาตรา 110 และมาตรา 112 และ 2.เห็นควรให้นิรโทษกรรมในคดีมาตรา110 และมาตรา112 โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ และ3.เห็นควรให้นิรโทษกรรมในคดีตามมาตรา110 และมาตรา112 แต่ต้องมีมาตรการ มีเงื่อนไข เช่น ให้มีคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาว่ามีมูลเหตุจูงใจใด ให้มาแถลงข้อเท็จจริงให้ทราบ มีมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ เป็นต้น ทั้งนี้ ความเห็นของทั้ง3กลุ่มประเภท จะได้บรรจุลงไปในรายงานเพื่อเสนอต่อสภาฯไปพิจารณาด้วย

“วันนี้มีความคืบหน้าอีกประการที่มีมติชัดเจนคือ ควรมีมาตรการในทางบริหารก่อนที่จะมีการนิรโทษกรรม เช่น คดีต่างๆที่เป็นคดีเล็กค้างอยู่ในโรงพัก แต่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งมาตรการทางบริหารสามารถใช้ได้ก่อนที่จะมีการตรากฎหมายนิรโทษกรรม เช่น มาตรการสั่งไม่ฟ้อง มาตรการตามมาตรา21ของกฎหมายอัยการหรืออื่นๆที่จำเป็น ได้เพิ่มเข้าไป นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่าการนิรโทษกรรมมันจะเป็นไปได้ที่สุด รัฐบาลต้องรับเรื่องนี้ไปพิจารณา หรือเป็นเจ้าภาพ เพื่อช่วยกันเร่งรัดพ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้เกิดขึ้น จะได้เกิดความสำเร็จในการประนีประนอม น่าอยู่น่าอาศัย ไม่ต้องทะเลาะกันเหมือนในอดีต” ประธานกมธ.ฯนิรโทษกรรม กล่าว

ด้านนายนิกร จำนง เลขานุการกมธ.ฯ กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้(26ก.ค.) กมธ.ฯจะยื่นรายงานการประชุมของกมธ.ฯ ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อบรรจุเข้าสู่วาระการประชุม จากนั้นจะดำเนินการจัดพิมพ์รูปเล่มเพื่อแจกต่อสมาชิก คาดว่าใช้เวลาในการจัดพิมพ์ประมาณ20วัน นอกจากนี้จะขอให้ทางวิปรัฐบาลเสนอให้นำขึ้นมาเป็นวาระพิจารณาเร่งด่วน เนื่องจากอยู่ในความสนใจของประชาชน คาดว่าจะสามารถ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img