วันอังคาร, กันยายน 17, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight"เรืองไกร"จี้นายกฯส่งงบประมาณเพิ่มเติม 67 ให้ศาลรธน.หวั่นขัดรธน.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“เรืองไกร”จี้นายกฯส่งงบประมาณเพิ่มเติม 67 ให้ศาลรธน.หวั่นขัดรธน.

“เรืองไกร” ส่งหนังสือจี้นายกฯส่งร่าง พรบ.งบฯรายจ่ายเพิ่มเติม 67 ให้ศาลรธน.วินิจฉัย หวั่นขัดรธน.

วันที่ 10 ส.ค. 67 นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เปิดเผยว่า ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. …. ที่ผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภาไปเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2567 แล้วนั้น อาจมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
นายเรืองไกร กล่าวว่า จากการศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. …. และเอกสารประกอบ ทำให้มีประเด็นสงสัยหลายประการที่ควรขอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา ดังนี้ ทำไม ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ไม่สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567

นายเรืองไกร กล่าวว่า ทำไม ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงระบุเป็นการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย เพื่อสำรองไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยมิได้คาดหมายสำหรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และบริหารหนี้ภาครัฐ ทำไม ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่สำรองไว้ จึงมีคำขอของหน่วยรับงบประมาณ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ และรายละเอียดคำของบประมาณ ไว้แล้ว ซึ่งถ้ามีคำของบประมาณแล้ว เหตุใด ไม่ตั้งงบประมาณไว้ตามหน่วยรับงบประมาณโดยตรง
ทำไม ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ระบุว่าไม่เป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของผู้ใด แต่เป็นการให้สิทธิในการช่วยเหลือกับประชาชนที่ผ่านหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด

นายเรืองไกร กล่าวต่อว่า ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ที่กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข คือ ให้เฉพาะบุคคลที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป มีรายได้ไม่เกินเดือนละ 70,000 บาท และมีเงินฝากไม่เกิน 500,000 บาท นั้น กรณี จึงเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนผู้ใดที่มีอายุไม่ถึง 16 ปี หรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนผู้ใดที่มีรายได้เกินเดือนละ 70,000 บาท หรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนผู้ใดที่มีเงินฝากเกิน 500,000 บาท ใช่หรือไม่

ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงตราขึ้นโดยขัดต่อหลักนิติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 ทำให้ปวงชนชาวไทยไม่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 4 ทำให้บุคคลไม่เสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไม่เท่าเทียมกัน มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่อง อายุ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 และ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. …. มาตรา 4 ดังกล่าว เป็นอันใช้บังคับมิได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 ใช่หรือไม่

นายเรืองไกร กล่าวว่า ตนจึงได้ส่งหนังสือทางไปรษณีย์ EMS เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีส่งความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. …. มาตรา 4 งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมงบกลาง ให้ตั้งเป็นจำนวน 122,000,000,000 บาท นั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 ประกอบมาตรา 3 มาตรา 4 มาตรา 5 หรือไม่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img