วันพุธ, กันยายน 18, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS“ 2 สว.” ทวงถาม “ปธ.วุฒิสภา” ทำไมไม่บรรจุญัตติน้ำท่วม บอกปชช.รอการช่วยเหลืออยู่
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ 2 สว.” ทวงถาม “ปธ.วุฒิสภา” ทำไมไม่บรรจุญัตติน้ำท่วม บอกปชช.รอการช่วยเหลืออยู่

“สว.เปรมศักดิ์-เศรณี” ทวงถาม “ปธ.วุฒิสภา” เหตุใดไม่บรรจุ “ญัตติน้ำท่วม” หวังแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน บอกปชช.รอการช่วยเหลืออยู่ แต่กลับไม่ได้รับการบรรจุเข้าวาระ

วันที่ 30 ส.ค.2567 เวลา 11.00 น.ที่รัฐสภา นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกวุฒิสภา พร้อมด้วย นายเศรณี อนิลบล สว.ร่วมแถลงถึงกรณีการยื่นญัตติขอเสนอตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติจากวิกฤตอุทกภัยอย่างเร่งด่วนและเป็นระบบ ต่อประธานวุฒิสภา เมื่อวันที่ 23 ส.ค.ที่ผ่านมา
โดย นพ.เปรมศักดิ์ กล่าวว่า ในตอนแรกคาดการณ์ว่าญัตตินี้จะถูกบรรจุลงวาระไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมาแล้ว แต่ปรากฏว่าประธานวุฒิสภา กลับบอกให้รอการพิจารณา กระทั่งจนหนึ่งสัปดาห์ผ่านไป ก็ยังไม่มีการบรรจุลงวาระในสัปดาห์หน้าที่จะถึงนี้ มีแต่เรื่องอื่นที่เสนอภายหลังทั้งนั้น จึงสงสัยว่าเหตุใดการวินิจฉัยเรื่องญัตติน้ำท่วมของตนจึงเป็นปัญหามากมายขนาดนี้ ทั้งๆ ที่ประชาชนรอการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบครบวงจร

“ญัตตินี้เป็นการระดมคนเข้ามาแก้ไขปัญหาใน 90 วัน ยิ่งช่วงนี้เป็นช่วงสุญญากาศที่นายกรัฐมนตรียังไม่สามารถตั้งคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้สำเร็จ และยังไม่สามารถแถลงนโยบายได้ และคาดการณ์ว่าน่าจะใช้เวลาอีกเกือบหนึ่งเดือน เราจะปล่อยให้ประชาชนอยู่ในบรรยากาศที่รอคอยการช่วยเหลือได้อย่างไร“นพ.เปรมศักดิ์ กล่าว

นพ.เปรมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ขอวิงวอนให้ประธานวุฒิสภาได้ทบทวนญัตตินี้ในการประชุมสัปดาห์หน้า เพราะไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลกลใดจึงถูกญัตติอื่นแซงไป และไม่มีวาระการประชุมในสัปดาห์หน้า ในฐานะที่ตนเคยทำงานในสภา ก็เห็นว่าเป็นเรื่องผิดปกติอย่างมาก เพราะการวินิจฉัยว่าญัตติด่วนหรือไม่ด่วนเป็นเรื่องที่สามารถวินิจฉัยตามสามัญสำนึกได้อยู่แล้ว จึงไม่เข้าใจว่าการอภิปรายเรื่องน้ำท่วม จะส่งผลกระทบต่อท่านผู้บริหารกระทรวงใดเป็นพิเศษหรือไม่ ถึงต้องยับยั้งไม่ให้ญัตติเข้าสู่การพิจารณา

ด้านนายเศรณี กล่าวเสริมว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นนี้ เป็นปัญหาอุบัติภัยซ้ำซากเป็นเวลาหลายปี ทางรัฐบาลไม่ว่ารัฐบาลไหน หรือหน่วยงานใด ก็ไม่สามารถที่จะบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อน้ำท่วมแล้ว รัฐบาลก็เสียเงินในการเยียวยาซ่อมแซมถนนบ้านเรือน และจะเห็นภาพการตั้งโต๊ะบริจาคสิ่งของเพื่อบรรเทาทุกข์ให้กับพี่น้องประชาชน รวมถึงต้องมีการชดเชยเงินให้กับพี่น้องเกษตรกรที่เสียหายจากภัยพิบัติเหล่านี้

“ผมมองว่ารัฐบาลยังขาดการบูรณาการในการเตรียมความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน จึงเสนอญัตตินี้ ย้ำว่า เราพยายามอย่างเต็มความสามารถแล้ว แต่ระบบรัฐสภายังไม่เดินไปข้างหน้า จึงอยากสวิงวอนให้กับผู้มีอำนาจในการตัดสินใจช่วยพิจารณาวินิจฉัยว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องที่ดีและมีความจำเป็น”นายเศรณี กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img