วันพุธ, กันยายน 18, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight'อลงกต'ตอก'สว.พันธุ์ใหม่'อย่าหิวแสง! สร้างแตกแยกโยนบาปให้เสียงข้างมาก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘อลงกต’ตอก’สว.พันธุ์ใหม่’อย่าหิวแสง! สร้างแตกแยกโยนบาปให้เสียงข้างมาก

ยกแรกเละ! “สว.อลงกต” เดือดตอก “สว.พันธุ์ใหม่” อย่าหิวแสง บอกมติสว.184 เสียงเห็นชอบอัยการสูงสุดเป็นเสียงส่วนใหญ่ โยนบาปให้เสียงข้างมาก ถามแล้วใครเสียงข้างน้อย ซัดไม่ได้ดั่งใจบอกไม่เป็นธรรม ตอนได้ไม่พูดถึง ฟาดอย่าสร้างความแตกแยกยกเสียงข้างน้อย-ข้างมาก ยันสิ่งที่เสนออยู่ โต้สิ่งที่เสนอไม่ได้อยู่ในข้อบังคับ

วันที่ 3 ก.ย. 2567 ที่รัฐสภา นายอลงกต วรกี สว. กล่าวถึงกรณีที่มี สว.ท่านหนึ่งออกมาให้ข่าวว่า สว.เสียงข้างมากคว่ำมติ ในการตรวจสอบจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่า ไม่ใช่ แต่การตรวจสอบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนี้ ตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งเมื่อตรวจสอบแล้วเสร็จ ก็ให้ส่งเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อใช้อำนาจในการวินิจฉัย ส่วนการโต้เถียงกันว่าสว.มีอำนาจในการตรวจสอบหรือไม่คำตอบคือไม่มีมีอำนาจ ยกเว้นกรณีการเสนอชื่อตุลาการ ที่จะมีหน้าที่ตรวจสอบได้ และมีมติเห็นชอบในการส่งชื่อเพื่อดำรงตำแหน่ง ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน จึงทำให้ในการประชุมเมื่อวานนี้(2 ก.ย.)จึงมีการเสนอประธานวุฒิสภาว่า ให้มีการถอนเรื่องนี้ออกไป หรือให้มีมติเห็นชอบไม่รับเรื่องนี้ ทำให้ประธานวุฒิสภาตัดสินใจให้มีการลงมติ

นายอลงกต กล่าวในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ถึงกรณีที่มีการถกเถียงเรื่องการลงคะแนนให้ความเห็นชอบนายไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ ผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 184 คะแนน ไม่ให้ความเห็นชอบ 2 คะแนน ไม่ออกเสียง 9 คะแนน ยืนยันว่ากรรมาธิการสามัญได้ตรวจสอบประวัติ และความประพฤติแล้ว ตามแนวทางดำเนินงาน ซึ่งพบว่ามีการดำเนินการถูกต้อง รวมถึงมีการตรวจสอบไปยังหน่วยงานต้นสังกัดแล้ว มีการพิจารณาด้วยความรอบคอบแล้ว นอกจากนี้จะมีการพิจารณาบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด โดยจะเป็นการลงคะแนนในทางลับเช่นเดิม

เมื่อถามว่าการตั้งคณะกรรมาธิการ สว.ทั้ง 21 คณะ ซึ่งฝั่ง สว.พันธุ์ใหม่ระบุว่าเสียงข้างมากไม่ได้ทำตามข้อตกลง เนื่องจากตีตกร่างแก้ไขข้อบังคับทั้งหมดของเสียงข้างน้อย นายอลงกต กล่าวยืนยันว่า สว.ทั้งหมดมีเฉพาะ 20 กลุ่มอาชีพ จำนวน 200 คน เราไม่ได้บอกว่าเราเป็นเสียงข้างมากหรือเสียงข้างน้อย แต่จะเป็นแบบไหนก็แล้วแต่การลงมติ สิ่งที่น่าสนใจ คือทำไมจึงมีการตั้งคำถามแบบนี้ ทั้งที่มีมติไปแล้ว

“การเลือกตั้งอบจ.ราชบุรีเมื่อแพ้แล้วก็มาบอกว่าไม่ชอบธรรม พื้นที่กทม.ได้เต็มพื้นที่ไม่เห็นพูดเลย ทำไมเลือกที่จะมาร้องกับสื่อมวลชน หรือมาหาแสงแบบนี้ เพราะไม่ว่าจะมีกรรมาธิการกี่คณะ แต่ในท้ายที่สุดการเสนอร่างนี้ ก็เป็นสิ่งที่เสียงส่วนมากเห็นชอบ แม้จะมีการแปรญัตติ แต่ญัตตินั้นเสียงส่วนมากก็ไม่เห็นชอบ หากลองดูที่คะแนนดีๆ อยากขอให้ทุกคนพิจารณาดูว่า จำนวนเสียงข้างมากเป็นเสียงส่วนมากที่มีการกำหนดจำนวนชัดเจนหรือไม่ การให้ความเห็นชอบตำแหน่งอัยการสูงสุดที่มีการคะแนนเสียงถึง 184 เสียงถือว่าเป็นเสียงส่วนมากหรือไม่ ถ้าอย่างนี้แล้ว ทำไม่ออกมาแถลงข่าว ผมไม่ได้เป็นพวกหิวแสง แต่การสร้างความแตกแยกว่าเสียงส่วนมากหรือเสียงส่วนน้อยนั้น ต้องว่ากันไปตามมติ และสิ่งที่บุคคลคนนั้นเสนอมา ก็ไม่อยู่ในระเบียบข้อบังคับของ สว. แต่ควรไปยื่น ป.ป.ช. เพื่อส่งต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ทำให้เสียงส่วนมากกลายเป็นจำเลยทันที ยืนยันว่า เรื่องนี้ไม่ใช่หน้าที่ของ สว.”นายอลงกต กล่าว

เมื่อถามว่าเสียงส่วนน้อยมองว่าจะเสนออะไรไปก็โดนกินรวบ นายอลงกต กล่าวว่า คำถามคือสิ่งที่เสียงส่วนน้อยเสนอเป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ อย่างกรณีบัตรสนเท่ห์ ก็มีคำถามว่าควรพิจารณาหรือไม่ ซึ่งปรากฏว่ากรรมาธิการก็ไม่นำบัตรสนเทห์มาพิจารณา เพราะเห็นว่าไม่สามารถตรวจสอบได้ และที่ประชุมก็เห็นชอบ เนื่องจากในบัตรสนเทห์นั้น ไม่สามารถระบุความบกพร่องทางจริยธรรมของผู้สมัครได้

“หากจะมาบอกว่าเป็นเสียงส่วนน้อย คุณก็พูดๆ ไป แต่เสียงส่วนน้อยนั้น ก็ไม่ได้มีจำนวนกำหนดที่ชัดเจน ทำไมท่านจะบอกว่านี่เป็นเสียงส่วนน้อย ซึ่งผมไม่แน่ใจว่านิยามเสียงส่วนน้อยของท่านมีจำนวนเท่าไหร่ อย่างวันที่มารายงานตัว และมีการถือป้ายนั้น ผมก็เห็นว่ามี 9 คน แต่การลงมติเสียงไม่เห็นด้วยมีเพียง 2 คน จะอธิบายว่าเสียงส่วนน้อยกลายมาเป็นเสียงส่วนมากหรือไม่ อย่าอธิบายคำนี้ โดยไม่สนตรรกะ ระบุตัวตนมาเลยว่าเสียงส่วนน้อยมีใครบ้าง”นายอลงกต กล่าว

เมื่อถามว่าตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการ ทั้ง 21 คณะ ที่มีกระแสข่าวว่า กลุ่ม สว.สีน้ำเงินจะเข้าไปดำรงตำแหน่งทั้งหมด นายอลงกต กล่าวว่า ยังไม่สรุป เพราะที่ผ่านมาตอนนี้ มีการเห็นชอบให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการ แต่ขั้นตอนต่อไปจะมีการเสนอชื่อบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการก่อน แล้วจึงเลือกอีกครั้งว่าใครจะดำรงตำแหน่งอะไรในคณะกรรมาธิการ ยืนยันว่ากำหนดชื่อไม่ได้ พร้อมเปิดเผยว่า คณะกรรมาธิการที่มี สว.อยากเข้ามากที่สุด คือคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว ส่วนตนเองต้องการอยู่ในคณะกรรมธิการติดตามงบประมาณ

เมื่อถามว่าควรเลือกคนในคณะกรรมาธิการให้ตรงกับกลุ่มอาชีพหรือไม่ นายอลงกต กล่าวว่า มีการพูดคุยเรื่องนี้เหมือนกัน แต่การเสนอชื่อคงต้องดูตัวเองก่อนว่าตัวเองมาจากกลุ่มไหน ซึ่งที่สุดแล้วก็แล้วแต่การเสนอ และเป็นสิทธิ์ของแต่คนที่จะลงในคณะกรรมาธิการไหนก็ได้ หรือจะเสนอชื่อแบบกลุ่มก็เป็นสิทธิ์ของเขา แต่อย่าลืมว่า บุคคลใดก็ตามที่จะเป็นประธานกรรมาธิการจะเป็นได้แค่ตำแหน่งเดียว ต้องลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมาธิการในคณะอื่น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img