วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“หมอวรงค์”ยื่น“กกต.”ร้องสอบ“ทักษิณ” ปมครอบงำ“เพื่อไทย”-ชี้นำ“ตั้งรัฐบาล”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“หมอวรงค์”ยื่น“กกต.”ร้องสอบ“ทักษิณ” ปมครอบงำ“เพื่อไทย”-ชี้นำ“ตั้งรัฐบาล”

“หมอวรงค์” ยื่นร้อง “กกต.” สอบ “ทักษิณ” ปมเข้าครอบงำ “เพื่อไทย” แล้วพรรคก็ยินยอมให้คนที่ไม่ใช่สมาชิกพรรคมาครอบงำ อีกทั้งยังชี้นำการจัดตั้งรัฐบาลด้วย

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 11 ก.ย.67 ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี เดินทางยื่นหนังถือถึงประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ขอให้ตรวจสอบกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ครอบงำพรรคเพื่อไทย และพรรคเพื่อไทยยินยอมให้คนที่ไม่ใช่สมาชิกพรรคมาครอบงำ

โดย นพ.วรงค์ ระบุว่า ประเด็นที่นำมาสู่การร้องเรียนมี 3 สาระสำคัญ ได้แก่

1.กรณีวันที่ 14 ส.ค.67 ที่นายทักษิณชวนแกนนำบางส่วนของพรรค และพรรคร่วมรัฐบาล มาเจรจาพูดคุยจัดตั้งรัฐบาลหลังมีกระแสข่าวนายเศรษฐา ทวีสิน พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งแม้วันรุ่งขึ้นจะมีการประชุมจนกระทั่งพรรคเพื่อไทยแล้วเปลี่ยนตัวผู้ที่จะเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี จากนายชัยเกษม นิติสิริ เป็นน.ส.แพทองธาร ชินวัตร แต่ก็ถือว่า “การกระทำสำเร็จแล้ว” และเหตุการณ์ในช่วงเย็นวันที่มีการพูดคุยกัน ก็ไม่เคยมีหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลหรือแกนนำคนไหนออกมาปฏิเสธ

2.กรณีวันที่ 20 ส.ค.67 ที่นายทักษิณให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อ 2 ประเด็น โดยประเด็นแรกมีผู้สื่อข่าวถามว่า จะให้ น.ส.แพทองธาร ควบตำแหน่ง รมว.กลาโหม หรือไม่ ก่อนที่นายทักษิณจะตอบว่า “มันหนักเกินไป แค่นี้ก็แย่แล้ว” จึงมองว่าเป็นการชี้นำน.ส.แพทองธาร ซึ่งมีสถานะเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และอีกประเด็นที่นายทักษิณพูดว่า “ไม่ได้ครอบงำ แต่ครอบครอง” ซึ่งมองว่า เป็นคำที่หนักกว่า “ครอบงำ” เสียด้วยซ้ำ เพราะแสดงถึงความเป็นเจ้าของ ซึ่งหากจะบอกว่า เป็นลูกสาวและสามารถปรึกษากันได้นั้น ส่วนตัวก็มองว่า ควรไปปรึกษากันที่บ้าน ไม่ใช่มาให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อ

3.นอกจากนี้กรณีที่ให้สัมภาษณ์ 2 ประเด็น โดยประเด็นแรกคือ กรณีนำพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาล ที่นายทักษิณ ระบุว่า รัฐบาลต้องการเสียงเพียงพอต่อการผ่านกฎหมาย ก่อนที่สุดท้ายจะมีการชวนพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาลจริงๆ และอีกประเด็นคือ กรณีพรรคพลังประชารัฐ ที่มี 2 กลุ่มคือ กลุ่มร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า และกลุ่มพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งนายทักษิณพูดชี้นำชัดเจนว่า จะเอากลุ่มไหนมาร่วมรัฐบาล และสุดท้ายก็เป็นไปตามนั้น มองว่า เป็นพฤติกรรมที่เข้าข่ายว่า นายทักษิณชี้นำการจัดตั้งรัฐบาล

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม

ส่วนกรณีที่มีข่าวร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส่งคนไปฟ้องหมิ่นประมาทนั้น นพ.วรงค์ กล่าวว่า ตนตรวจสอบไปทางนายธนดล สุวัณณะฤทธิ์ ที่เป็นผู้ไปยื่นเรื่องที่สน.นางเลิ้ง ซึ่งยืนยันว่า เป็นการลงบันทึกประจำวันเท่านั้น ไม่ใช่การแจ้งความดำเนินคดี ขอบอกไปถึงร.อ.ธรรมนัสว่า ต้องใจเย็นๆ สิ่งที่ตนโพสต์เฟซบุ๊ก เป็นเพียงการโพสต์เตือนเท่านั้น ยืนยันว่า การเป็นรัฐมนตรีรักษาการของร.อ.ธรรมนัส สิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ ครม.ชุดใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณตนแล้ว ถือเป็นการรับหน้าที่แล้ว แม้จะยังไม่ได้บริหารราชการแผ่นดิน และตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 162 วรรค 2 หากมีความจำเป็นเร่งด่วน ก็ระบุให้ ครม.ที่รับหน้าที่ สามารถทำหน้าที่ไปพลางๆ ก่อนได้ เท่ากับว่าขณะที่ร.อ.ธรรมนัสไปนั่งประชุม ขณะนั้นนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ถือว่ามีอำนาจในการทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว

ถามถึงกระแสข่าวว่า มีการว่าจ้าง “กลุ่มนักร้อง” มาร้องเรียนรัฐบาลน.ส.แพทองธาร และเป็นการทำ “นิติสงคราม” นั้น นพ.วรงค์ กล่าวว่า คำว่า “นิติสงคราม” เป็นคำที่ถูกพยายามเอามาโจมตี “คนร้อง” อยากถามว่า รู้จักกระบวนการประชาธิปไตยหรือไม่ ประชาธิปไตยต้องยอมรับการตรวจสอบ การโจมตีว่า เป็น “นิติสงคราม” แสดงว่า ไม่ยอมรับการตรวจสอบ ส่วนตัวมองว่าการตรวจสอบเป็นเสน่ห์ของประชาธิปไตยด้วยซ้ำ

นพ.วรงค์ กล่าวยืนยันว่า ที่ผ่านมาตนไม่เคยรับเงินในการออกมาร้องเรียน และไม่ได้ร้องบ่อย ร้องเฉพาะเรื่องที่ควรร้อง เช่น เรื่องชั้น 14 รพ.ตำรวจ ที่มีรายงานข่าวว่า มีนักร้องรับเงินนั้น ให้บอกมาเลยว่าใคร หากบอกว่าเป็นตนจะได้ฟ้องกลับ เพราะขนาดตอนที่ร้องเรื่อง “จำนำข้าว” โครงการมูลค่า 940,000 ล้านบาท ถ้าตนจะรับเล็กๆ น้อยๆ ซัก 500-1,000 ล้านบาท ก็รวยไปตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว ซึ่งมีคนมาเจรจาด้วย แต่ตนเองก็ไม่ได้รับ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img