วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS“ณัฐพงษ์” จี้รบ.เพิ่มเยียวยาผู้ประสบภัย ด้าน "ธีรรัตน์" เตรียมขยายเวลาใช้ไฟฟรี
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ณัฐพงษ์” จี้รบ.เพิ่มเยียวยาผู้ประสบภัย ด้าน “ธีรรัตน์” เตรียมขยายเวลาใช้ไฟฟรี

“ณัฐพงษ์” จี้รัฐบาลจ่ายเงินเยียวยาตั้งกรอบ 90 วันนานเกินไป ควรจ่ายก่อน 10,000 บาท แล้วค่อยส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจจ่ายเพิ่มทีหลัง แนะจัดโครงการเที่ยวเมืองน้ำลดนำมาลดหย่อนภาษี ขณะที่ มท4 ชี้แจงแทนนายกฯ รัฐบาลเร่งดำเนินการ ให้เร็วที่สุด ย้ำระบบเตือนภัยอยู่แล้ว ใช้ แอป ทางรัฐ ก็แจ้งเตือนได้

วันที่ 19 ก.ย.2567 เวลา 11.00 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณากระทู้ถามสดของนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคประชาชน ถามนายกรัฐมนตรี เรื่องการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ประสบอุทกภัยว่า กรณีการเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย โดยไม่เก็บค่าน้ำ ค่าไฟเฉพาะเดือนก.ย.นั้น อยากให้ขยายกรอบเวลาช่วยเหลือออกไปมากกว่า 1 เดือน ขณะที่การจ่ายเงินเยียวยาค่าซ่อมแซมบ้านกรณีได้รับความเสียหายรุนแรงสูงสุด 230,000บาท การจ่ายเงินเยียวยาน้ำท่วม 5,000-9,000บาท ตามระยะเวลาที่ถูกน้ำท่วม มีขั้นตอนยุ่งยาก กว่าจะได้เงินเยียวยาต้องรอ 90วัน อยากให้เร่งดำเนินการโดยเร็วกว่านี้ และอยากให้รัฐบาลเจรจาธนาคารต่างๆเพื่อพักชำระหนี้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยแก่ประชาชน รวมถึงการสนับสนุนงบประมาณให้ท้องถิ่นจ่ายเงินเยียวยาช่วยผู้ประสบภัยอีกทาง นอกจากเงินเยียวยาจากรัฐบาล นอกจากนี้อยากทราบว่า รัฐบาลจะมีมาตรการรับมือความเสี่ยงพายุซูลิกระหว่างวันที่ 19-23ก.ย.นี้อย่างไร ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินมีความคืบหน้าอย่างไร และการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุเพื่อให้คนและเครื่องมือมีความพร้อมมีการดำเนินการหรือไม่

ด้านน.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รมช.มหาดไทย ตอบกระทู้ถามสดแทนนายกฯว่า รัฐบาลมีมาตรการเร่งด่วนช่วยประชาชนอย่างทันทีทันใด ในส่วนที่จะไม่เรียกเก็บค่าไฟผู้ประสบอุทกภัยเดือนก.ย.นั้น จะพิจารณาตามสถานการณ์จริง ถ้ายังมีปัญหารุนแรง ประชาชนยังไม่ฟื้นตัว ก็สามารถปรับขยายมาตรการได้ ขอให้สบายใจ รัฐบาลไม่นิ่งนอนใจในการแบ่งเบาภาระประชาชน ส่วนเงินเยียวยา 5,000-9,000บาท ที่ใช้เวลาจ่ายเงิน 90 วัน เป็นระยะเวลาตามกระบวนการราชการกำหนดกรอบไม่ให้เกิน 90 วัน แต่จะเร่งจ่ายเงินให้เร็วกว่านั้นแน่นอน เช่นเดียวกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็มีมาตรการฟื้นฟูช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งการสนับสนุนพันธ์ข้าว พืชไร่ ในการเพาะปลูก น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กังวลใจอยากให้เยียวยาเร็วที่สุด เพื่อให้ประชาชนพอใจมากที่สุด

น.ส.ธีรรัตน์ กล่าวว่า ส่วนระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน ยืนยันมีการเตือนกันแทบทุกระยะที่น้ำขึ้น แต่ข้อมูลอาจไม่ถึงประชาชน ทำให้ต้องเร่งทำงาน จะปัดความรับผิดชอบไม่ได้ ต้องหาทางออกพัฒนาระบบให้ดีขึ้น จะต้องทำระบบเตือนภัยฉุกเฉินให้ประสบความสำเร็จ ที่ผ่านมากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีการเชื่อมโยงข้อมูลถึงกัน ขณะนี้ปภ.อยู่ระหว่างจัดซื้อจัดจ้างวางระบบเตือนภัยฉุกเฉิน เพื่อส่งข้อความแจ้งเตือนไปยังกระทรวงดีอี

“คาดว่าจะเสร็จสิ้นกลางปี 2568 ยอมรับว่าช้า แต่ต้องเข้าใจกระบวนการปฏิบัติของฝ่ายปฏิบัติที่ต้องทำให้ถูกต้องตามระเบียบราชการทุกขั้นตอน แต่จะพยายามเร่งมือให้เร็วกว่านี้ เพื่อให้ก่อนกลางปี 2568 จะมีระบบเตือนภัยฉุกเฉินใช้ในการเตือนภัยพิบัติในพื้นที่เกิดเหตุ ขอให้วางใจเชื่อมั่นรัฐบาลว่า ระบบเตือนภัยในปัจจุบัน ทุกคนไม่ว่าจะมีมือถือหรือไม่มี จะได้รับการแจ้งเตือนภัยเรื่องภัยธรรมชาติอย่างเท่าเทียมกัน”น.ส.ธีรรัตน์ กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img