วันพุธ, ตุลาคม 16, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightมติรทสช.งดโหวต“รายงานนิรโทษกรรม” ย้ำจุดยืนไม่นิรโทษกรรม 112 ในทุกกรณี
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

มติรทสช.งดโหวต“รายงานนิรโทษกรรม” ย้ำจุดยืนไม่นิรโทษกรรม 112 ในทุกกรณี

โฆษก รทสช. เผย มติพรรครวมไทยสร้างชาติเตรียมงดออกเสียง “รายงานนิรโทษกรรม” ซัด ไม่มีการแก้ไขให้สมบูรณ์-ชัดเจน ขู่ หากออก พรบ. นิรโทษ 112 เสี่ยงผิดกฎหมาย ยันจุดยืนพรรครวมไทยสร้างชาติไม่นิรโทษกรรม 112 ทุกกรณี

วันที่ 15 ต.ค.67 นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี เขต 4 พรรครวมไทยสร้างชาติ ในฐานะโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้เปิดเผยภายหลังการประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรครวมไทยสร้างชาติ ว่า

การประชุม พรรครวมไทยสร้างชาติ ในครั้งนี้นำโดย นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ และนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยมีรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของพรรคร่วมประชุมกันอย่างพร้อมเพรียง

โดยการประชุมในครั้งนี้เป็นการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 16 และ 17 ตุลาคม 2567 ซึ่งได้มีการหารือร่วมกันในหลายประเด็นโดยประเด็นที่สำคัญเรื่องหนึ่งที่ที่ประชุมได้หารือกันอย่างกว้างขวาง คือ รายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม

พรรครวมไทยสร้างชาติขอยืนยันในมติเดิมของพรรครวมไทยสร้างชาติ ว่า จะไม่เห็นชอบในรายงานฉบับดังกล่าว เนื่องจากไม่มีความสมบูรณ์ ขาดข้อสรุปที่ชัดเจน ดังที่เคยได้แจ้งไปเมื่อมีมติพรรครวมไทยสร้างชาติในวันที่ 26 กันยายน 2567 ซึ่งในครั้งนี้รายงานที่พิจารณาก็ยังมีเนื้อหาเช่นเดิม

ดังนั้นพรรครวมไทยสร้างชาติจึงขอสงวนสิทธิ์ที่จะมีมติงดออกเสียงในการลงมติรายงานฉบับดังกล่าว ทั้งในชั้นการรับทราบ และการเห็นชอบรายงานฉบับดังกล่าวเพื่อส่งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการและพรรครวมไทยสร้างชาติขอยืนยันว่า จุดยืนของพรรครวมไทยสร้างชาติชัดเจนว่าจะต้องไม่มีการนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดตามมาตรา 112 โดยเด็ดขาด เนื่องจากเป็นความผิดที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐและละเมิดต่อสถาบันหลักของชาติ

หากจะมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมที่รวมเอาผู้กระทำความผิดมาตรา 112 ด้วยแล้วมีความเสี่ยงว่าการกระทำดังกล่าวจะละเมิดต่อกฎหมาย เช่นที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยเรื่องในทำนองเดียวกันมาแล้ว

ทั้งนี้รายงานฉบับดังกล่าวได้เสนอความเห็นของการนิรโทษกรรมผู้ที่กระทำความผิดในมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ไว้ 3 แนวทางคือ
1.ไม่เห็นชอบให้มีการนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดตามมาตรา 112
2.เห็นชอบให้มีการนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดมาตรา 112
3.เห็นชอบให้มีการนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดมาตรา 112 โดยมีเงื่อนไขที่ทางคณะกรรมการที่ตั้งมาโดยเฉพาะกำหนดขึ้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img