วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS"ภท." ย้ำเปล่าขวาง "พท." แค่เห็นต่างแก้นิรโทษฯ-ประชามติเสียงข้างมากสองชั้น - ตั้งส.ส.ร.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ภท.” ย้ำเปล่าขวาง “พท.” แค่เห็นต่างแก้นิรโทษฯ-ประชามติเสียงข้างมากสองชั้น – ตั้งส.ส.ร.

‘ภท.’ แจงเปล่าค้าน ‘นิรโทษกรรม’ แต่ต้องไม่แตะ ’มาตรา 112’ ยัน ‘ประชามติแก้รธน.’ ชูเสียงข้างมากสองชั้น – ตั้งสสร. ปัดขวางคลอง ‘เพื่อไทย’ แค่เห็นต่าง เพื่อประสิทธิภาพแก่ประชาชน

วันที่ 29 ต.ค.2567 เวลา 15.35 น. ที่พรรคภูมิใจไทย(ภท.) คณะกรรมการบริหาร (กก.บห.) พรรคภูมิใจไทย นำโดยนายไชยชนก ชิดชอบ สส.บุรีรัมย์ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงผลงาน 4 เดือนที่ผ่านมาว่า ทุกคนปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่

เมื่อถามว่า มองอย่างไรที่มีการวิพากษ์วิจารณ์พรรคภูมิใจไทย มักมีความเห็นที่ไม่ตรงกับนโยบายพรรคเพื่อไทยหลายเรื่อง เลขาฯภูมิใจไทย กล่าวว่า ข้อวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพรรคภูมิใจไทย เพราะพรรคไม่เคยมีเจตนาหรือเหตุผลที่จะทำแบบนั้น จุดยืนของพรรคภูมิใจไทยคือต้องทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนเป็นหลัก ทุกเรื่องทุกพ.ร.บ.อาจมีความเห็นที่ต่างกันเล็กน้อยแต่ไม่มีเจตนาที่จะขัดขวาง ซึ่งเชื่อว่าทุกพรรคในพรรคร่วมรัฐบาลมีเจตนาเดียวกันว่าให้เราปฏิบัติหน้าที่ และมีผลงานเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง และพัฒนาเรื่องต่างๆเพื่อพี่น้องประชาชนให้เกิดประสิทธิภาพ

เมื่อถามถึงร่างนิรโทษกรรม 4 ฉบับ ที่เตรียมเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาในสมัยประชุมหน้ามีความเห็นอย่างไร และพรรคภูมิใจไทยจะเสนอร่างของพรรคหรือไม่ นายไชยชนก กล่าวว่าไม่มีความจำเป็น เพราะพรรคยึดหลักที่ชัดเจนมาแต่ไหนแต่ไรเกี่ยวกับเรื่องนิรโทษกรรม ว่าเราไม่ได้มีปัญหากับเรื่องมาตรา 112 เราจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสนอร่างของเราเอง อย่างไรก็ตาม ขณะนี่ตนยังไม่เห็นรายละเอียดทั้ง 4 ร่าง แต่จุดยืนของพรรคยังเหมือนเดิมคือไม่นิรโทษกรรม 112 และขอย้ำว่าพรรคภูมิใจไทยไม่ได้คัดค้านการนิรโทษกรรม เพียงแต่ไม่เห็นด้วยกับการนิทรรศกรรมคดี 112

เมื่อถามถึง กระแสข่าวพรรคฝ่ายค้านเตรียมขอเปิดประชุมสภาฯสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายไชยชนก กล่าวว่า เราเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) แต่จะต้องไม่แตะหมวด 1 หมวด 2 รวมถึงเรื่องที่ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ เช่น การแก้หมวดจริยธรรม ขณะเดียวกันจะต้องรอผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ว่าจะออกมาเป็นเช่นไร ซึ่งส่วนตัวคิดว่าเรื่องรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ควรต้องยึดหลักผู้มาใช้สิทธิ์เกินกึ่ง และผู้โหวตเห็นชอบต้องเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียงหรือเสียงข้างมาก 2 ชั้น (Double Majority)

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img