วันจันทร์, ธันวาคม 23, 2024
หน้าแรกNEWSวุฒิฯวุ่น “นันทนา” โวย “สว.สีน้ำเงิน” บล็อกโหวตตั้งกมธ.พัฒนาการเมือง แทนตำแหน่งที่ว่าง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

วุฒิฯวุ่น “นันทนา” โวย “สว.สีน้ำเงิน” บล็อกโหวตตั้งกมธ.พัฒนาการเมือง แทนตำแหน่งที่ว่าง

วุฒิฯวุ่น “นันทนา” โวย “สว.สีน้ำเงิน” บล็อกโหวตตั้งกมธ.พัฒนาการเมือง แทนตำแหน่งที่ว่าง ซัด เป็นศรีธนญชัย เบี่ยงเบนข้อบังคับ  ขณะที่ “เกรียงไกร” ยันใช้มติโหวตตัดสินได้หากมีจำนวนเกิน

วันที่ 23 ธ.ค.2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มี นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้พิจารณาเรื่องอื่นๆ  เพื่อตั้งกรรมาธิการ (กมธ.) ในคณะกรรมาธิการ แทนตำแหน่งที่ว่าง ซึ่งมี 4 คณะที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา ได้แก่  กมธ.การกฎหมายและการยุติธรรม กมธ.การเศรษฐกิจ การเงิน และการคลังกมธ.การต่างประเทศและ  กมธ.การพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการพิจารณากมธ.แทนตำแหน่งที่ว่าง ที่เริ่มต้นจาก กมธ.การกฎหมายและการยุติธรรม ที่ พล.ต.ต.ฉัตรวรรษ แสงเพชร  สว. ลาออก และกมธ.เสนอตั้ง ว่าที่ พ.ต.กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์ สว. ซึ่งในการพิจารณา มีผู้เสนอตัวแข่งขัน คือ นางวลีรักษ์  พัชระเมธาพัฒน์ สว. กลุ่มอื่น เสนอชื่อตนเองเข้าทำหน้าที่กมธ.การกฎหมายฯ  ทำให้ต้องใช้การลงมติตัดสิน โดย ว่าที่พ.ต.กรพด ได้รับเลือก 160 เสียง  ส่วน นางวลีรักษ์ ได้รับ 6 คะแนน

จากนั้น เป็นการพิจารณาตั้งกมธ.การเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง แทนตำแหน่งที่ว่าง โดยน.ส.นันทนา นันทวโรภาส สว.กลุ่มพันธุ์ใหม่ ทักท้วงว่าการลงมติเลือก กมธ.แทนตำแหน่งที่ว่างนั้นไม่เป็นไปตามข้อบังคับ 103 เนื่องจาก การตั้งกมธ.แทนตำแหน่งที่ว่าง เป็นอำนาจของประธานกมธ. ต้องแจ้งต่อประธานวุฒิสภาเพื่อขอให้วุฒิสภาตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง หรือไม่ก็ได้ โดยไม่ระบุว่าต้องเสนอเพื่อให้ลงมติแต่อย่างใด และกมธ.ที่ตั้งไปนั้น ประธานกมธ.ได้เสนอชื่อ ว่าที่ พ.ต.กรพดแล้ว ทำไมถึงต้องมีการเสนอชื่อและให้ลงมติ ดังนั้นจึงไม่มีวาระที่จะเสนอในที่ประชุมเพื่อลงมติ และขอให้พิจารณาว่าการลงมติไม่เป็นผลเพราะประธานกมธ.เสนอชื่อไว้แล้ว ขอให้วุฒิสภาทำตามข้อบังคับที่เคร่งครัด

ทั้งนี้นายพิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ สว. ในฐานะเลขานุการวิปวุฒิสภา ชี้แจงว่า ในข้อบังคับ วรรคท้ายเขียนว่าหรือไม่ก็ได้ คือ อยู่ที่ดุลยพินิจ จึงไม่เป็นตามที่ น.ส.นันทนาพูด

ทำให้น.ส.นันทนา ชี้แจงว่า ไม่ใช่ตามที่เข้าใจ เพราะหรือไม่ก็ได้ เป็นส่วนที่ตั้งกมธ.วิสามัญ ทั้งนี้นายพิสิษฐ์ ตอบโต้ว่า ข้อบังคับข้อ 103 ไม่มีวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ดังนั้นประโยคทั้งหมดจบที่ว่า หรือไม่ก็ได้ ซึ่งยืนยันว่าเป็นดุลยพินิจ

ทำให้น.ส.นันทนา โต้ว่า กำลังมีศรีธนญชัยในสภา และพยายามตีความวัตถุประสงค์ของบุคคล คำว่าหรือไม่ก็ได้ ใช้กับข้อความของกมธ.วิสามัญ ดังนั้นอย่าตีความข้อบังคับให้เป็นอื่น เข้าใจว่าวุฒิสภามีข้อบังคับที่ทำตามมา และ สว.เสียงข้างน้อยทำตามตลอด อย่าพยายามตีความเพื่อเบี่ยงเบนเพื่อวัตถุประสงค์ของบุคคล อย่าสร้างให้เป็นเกมเพื่อเอาชนะและเสียงข้างน้อยหมดสภาพ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการถกเถียงดังกล่าวยังดำเนินต่อไป โดยสว.เสียงข้างมากมองว่าเป็นการมองต่างมุม ไม่ใช่เรื่องศรีธนญชัย จนมีผู้เสนอให้พักการประชุม แต่เมื่อกลับมาประชุมแล้ว พบว่ายังมีการถกเถียง โดยน.ส.นันทนา ลุกขึ้นอภิปรายว่า การใช้การลงมติดังกล่าว เพื่อเล่นเกม ไม่ให้ตนเข้าไปเป็น กมธ.พัฒนาการเมือง ทั้งที่ประธานกมธ.การพัฒนาการเมือง เสนอ

“กลัวอะไรหนักหนา บรรดาสว. สีน้ำเงินมีคำสั่งให้โหวตเช่นนี้ใช่หรือไม่ หากไม่มี ขอให้โหวตดิฉันเข้าไปเป็นกมธ.พัฒนาการเมือง เพื่อพิสูจน์ว่าไม่มีใบสั่ง ต้องการลงมติเพื่อบิดเบือน และต้องการให้โหวตดิฉันออก เนื่องจากเป็นภัยคุกคามอันใหญ่หลวง” น.ส.นันทนา กล่าว

ด้าน พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม กล่าวว่า “ประชาธิปไตย คือ ทำตามเสียงส่วนใหญ่ ไม่เพิกเฉยเสียงส่วนน้อย และเคารพมติของที่ประชุม 

อย่างไรก็ตามในการประชุมยังถกเถียงในประเด็นดังกล่าว พร้อมกับมีการตั้งข้อสังเกตว่าการเสนอตัวเองของ นางวลีรักษ์ พัชระเมธาพัฒน์ สว.กลุ่มอื่น เป็นเพียงแค่เกมเพราะไม่ได้มีความรู้ความสามารถและไม่ตรงกับความเชี่ยวชาญ ทำให้นางวลีรักษ์ ชี้แจงว่า ตนเคยทำหน้าที่เป็นตำรวจบ้าน จึงต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในกมธ.การกฎหมาย

ขณะที่นางอังคณา นีลไพจิตร สว. ในฐานะประธานกมธ.การพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า เพื่อให้ยุติเรื่อง ตนขอถอนการเสนอชื่อออกไปก่อนและจะเสนอกลับมาพร้อมกันกับ กมธ.การสาธารณสุข ทำให้ ประธานที่ประชุมบอกว่าหากจะถอนต้องขอมติจากที่ประชุม ซึ่งมติที่ประชุมไม่เห็นด้วยให้ถอน 127 เสียงต่อ 19 เสียง จากนั้น พล.อ.เกรียงไกร วินิจฉัยว่า เป็นหน้าที่ประธานกมธ.เสนอเรื่องตั้งกมธ.ที่ว่างลง อำนาจตั้งกมธ.แทนที่ว่าง เป็นของที่ประชุมวุฒิสภา เพราะกมธ.มีอำนาจแค่แจ้งเท่านั้น เมื่อมีการเสนอชื่อจากกมธ.และมีผู้เสนอชื่อในที่ประชุมอีก จึงถือว่าจำนวนเกินกว่าตำแหน่งที่ว่างต้องใช้การลงมติ จากนั้นได้ดำเนินการตามขั้นตอน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในส่วนของกมธ.การพัฒนาการเมืองฯ พบว่ามี กมธ.ลาออก 3 คน คือ นายกัมพล สุภาแพ่ง นายนิรัตน์ อยู่ภักดี และนายอลงกต วรกี ทำให้ประธานกมธ.เสนอชื่อ สว.แทนตำแหน่งที่ว่าง 4 คน คือ น.ส.นันทนา นายนิพนธ์ เอกวานิช นายพิมาย คงทัน และน.ส.อมร ศรีบุญนาค พร้อมกับแนวความเห็นของ กมธ.ระบุว่า ในกมธ.มีความเห็นแย้ง โดย 4 เสียงเห็นว่าควรเสนอ 4 ชื่อ แต่อีก 8 เสียงระบุว่าควรให้เสนอ 3 คน ได้แก่ น.ส.นันทนา นายนิพนธ์ และ น.ส.อมร

ทั้งนี้ในการประชุมสว. ได้ลงมติตัดสิน สว. ที่ได้สิทธินั่งกมธ.พัฒนาการเมืองฯแทนตำแหน่งที่ว่าง ผลปรากฎว่า มีผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด และได้รับตำแหน่งคือ นายนิพนธ์ น.ส.อมร ละ นายพิพาย ส่วน น.ส.นันทนา ได้เพียง 12 คะแนน ไม่ได้รับเลือก

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img