วันอังคาร, มกราคม 7, 2025
หน้าแรกHighlight‘พริษฐ์’แจงยัน‘ร่างแก้ฯม.256’ไม่ขัดรธน. จี้ครม.ทําตามนโยบายชงร่างประกบด้วย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘พริษฐ์’แจงยัน‘ร่างแก้ฯม.256’ไม่ขัดรธน. จี้ครม.ทําตามนโยบายชงร่างประกบด้วย

พริษฐ์” แจงยันร่างแก้รธน.256 ไม่แตกต่างจากรธน..40และรธน.50 มั่นใจไม่ขัดรธน.แน่ พร้อมพูดคุยรวมเสียงสนับสนุน จี้ครม.ทําตามนโยบายเสนอร่างประกบด้วย

วันที่ 5 ม.ค 2568 นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ของพรรค ปชน. ว่าเป็นการตัดอํานาจ ส.ว. และอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะเปิดช่องแก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 โดยไม่ต้องทำประชามติ ว่า ข้อทักท้วงเรื่องการตัดอํานาจ ส.ว.นั้น ในรัฐธรรมนูญ 2560 ระบุว่าการแก้ไขมาตราใด ต้องผ่าน 3 เกณฑ์ ได้แก่ 1.เสียงเกินครึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา 2.ได้เสียง 1 ใน 3 ของ ส.ว. 3.เสียง 20% ของฝ่ายค้าน ซึ่งพรรค ปชน.ต้องการให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านได้ง่ายขึ้น หากเป็นฉันทามติของผู้แทนจากการเลือกตั้ง จึงเสนอปรับให้เหลือ 2 เกณฑ์ ตัดการใช้เสียง 1 ใน 3 ของ ส.ว. ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขธรรมนูญมาโดยตลอด

นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า ยืนยันว่าแนวทางนี้สอดคล้องกับสิ่งที่ฝ่ายการเมืองอื่นเคยเสนอ แม้กระทั่งในรายงานของกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ ในสภาชุดที่แล้ว ที่มีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นประธาน รวมถึงร่างของพรรคเพื่อไทย (พท.) ที่เคยเสนอตอนปี 67 แต่ไม่ได้บรรจุ ก็เสนอให้ใช้แค่เกณฑ์เสียงกึ่งหนึ่งของรัฐสภา ทั้งนี้ ร่างของพรรค ปชน. เข้มงวดกว่าแนวทางอื่นด้วยซ้ำ

นายพริษฐ์ กล่าวว่า ส่วนข้อทักท้วงเรื่องการแก้ไข (8) นั้น รัฐธรรมนูญ 2560 กําหนดไว้ว่า การแก้ไขรายมาตราทั้ง 5 เรื่อง ได้แก่ 1.หมวด 1 2.หมวด 2 3.หมวด 15 4.คุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5.อำนาจองค์กรอิสระ จะใช้แค่ความเห็นชอบจากรัฐสภาไม่ได้ แต่ต้องทำประชามติปิดท้ายด้วย ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเยอะเกินไป ต้องลดลงลง แต่ยังมีความเห็นต่างในรายละเอียด

“ข้อเสนอของพรรค ปชน. เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายเคยเสนอมาตลอด และไม่แตกต่างกับแนวทางของรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 และยืนยันว่าการแก้ไขมาตรา 256 (8) ไม่ขัดรัฐธรรมนูญแน่นอน”นายพริษฐ์ กล่าวว่า ยํ้าว่า

เมื่อถามว่า จะต้องพูดคุยทําความเข้าใจกับ ส.ว. เพื่อรวมเสียงสนับสนุนหรือไม่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า ตนยินดี และจะพูดคุยกับสมาชิกรัฐสภาให้ได้กว้างขวางที่สุด เพื่อให้ร่างดังกล่าวได้รับความเห็นชอบในวาระ 1 ริเริ่มกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้สอดคล้องกับนโยบายพรรค ปชน. และรัฐบาล และหวังว่านายกรัฐมนตรี รวมถึงคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะมีบทบาทไปพูดคุยกับสมาชิกรัฐสภา เพื่อให้เกิดความเห็นชอบ

เมื่อถามถึงการประชุมวิป 3 ฝ่ายในวันที่ 8 มกราคมนี้ จะพูดคุยเรื่องวาระร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไรบ้าง นายพริษฐ์ กล่าวว่า คาดว่าทุกฝ่ายจะเห็นตรงกันตามที่เคยตกลงกันไว้ โดยร่างที่จะพิจารณาในวันที่ 14 ม.ค.คือร่างแก้ไขมาตรา 256 ของพรรค ปชน. รวมถึงร่างของพรรคอื่นที่เสนอประกบเข้ามาทีหลัง ทั้งนี้ ตนขอถามว่า ครม.จะเสนอร่างของตัวเองเข้ามาด้วยหรือไม่ เพราะเป็นนโยบายที่เคยประกาศต่อรัฐสภา ดังนั้นควรจะมีร่าง ครม.มาประกบด้วยเช่นกัน

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img