วันพฤหัสบดี, มกราคม 9, 2025
หน้าแรกHighlightจี้‘นายกฯ’เร่งสางคดียิง‘อดีตสส.กัมพูชา’ ‘กัณวีร์’ชี้เป็นมาตรการกดปราบข้ามชาติ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

จี้‘นายกฯ’เร่งสางคดียิง‘อดีตสส.กัมพูชา’ ‘กัณวีร์’ชี้เป็นมาตรการกดปราบข้ามชาติ

“กัณวีร์” เชื่อเหตุยิงอดีต “สส.กัมพูชา” เป็นมาตรการกดปราบ จี้ “นายกฯ”รับผิดชอบ เร่งสางคดีโดยเร็ว หวั่นอย่าตกเป็นเครื่องมือประเทศเพื่อนบ้าน

วันที่ 8 ม.ค.2568 ที่รัฐสภา นายกัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อพรรคเป็นธรรม กล่าวถึงกรณีคนร้ายก่อเหตุยิงนายลิม คิมยา ชาวกัมพูชา สัญชาติฝรั่งเศส นักเคลื่อนไหวทางการเมือง และอดีต ส.ส.พรรคร่วมฝ่ายค้าน ชาวกัมพูชา ที่ย่านบางลำภู เมื่อวานนี้ (7ม.ค.68) ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเรียกว่าการกดปราบ ข้ามชาติ ซึ่งเหตุการณ์นี้ไม่ใช่กรณีแรก เป็นการที่ผู้ลี้ภัยหนีการประหัตประหาร จากประเทศ 1 มาอีกประเทศหนึ่ง และมีการร่วมมือกันไม่ว่าจะเป็นอย่างเปิดเผยหรือในทางลับ ทำให้เกิดการกดปราบข้ามชาติ เหมือนกรณีของนายวันเฉลิมสัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ที่หายตัวในกัมพูชา ขณะที่เมื่อเดือนที่แล้วทางการไทยได้ส่งตัวอดีตนักเคลื่อนไหว ชาวกัมพูชากลับไปกัมพูชา ซึ่งสะท้อนให้เห็นความหย่อนยานในกระบวนการกฎหมายของไทย

เมื่อถามว่า เหตุการณ์ครั้งนี้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า เป็นความร่วมมือระหว่าง 2 ประเทศนายกัณวีร์ กล่าวว่า แน่นอนเพราะตนทำเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน และช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีอดีตนักเคลื่อนไหวทางการเมืองของฝั่งกัมพูชา มาเสียชีวิตในพื้นที่ภาคอีสานของไทยอย่างต่อเนื่อง จึงสงสัยว่า เมื่อไหร่รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับเรื่องการกดปราบข้ามชาติอย่างจริงจัง จะต้องไม่เป็นเครื่องมือ ทางการเมืองของประเทศอื่นๆโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านของเรา

เมื่อถามถึงมาตรการการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนหรือผู้ลี้ภัยทางการเมือง ไม่ใช่การผลักดันกลับประเทศ แต่สามารถยิงได้เลยใช่หรือไม่ นายกัณวีร์ กล่าวว่า จริงๆแล้วไม่ได้เพราะทางกฎหมายและประเพณีปฏิบัติระหว่างประเทศ ที่เรายึดมั่นอยู่แล้วเป็นหลักการไม่ส่งกลับ โดยเฉพาะมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหายหรือพ.ร.บ. อุ้มหาย ที่ระบุว่าไทยไม่สามารถผลักดัน คนที่หนีการประหัตประหาร กลับไปที่ประเทศต้นทางได้ แต่ที่ยิ่งเลวร้ายกว่าคือการปล่อยให้ มีการ ประหัตประหารในพื้นดินไทย ซึ่งไทยผิดทั้งกฎหมายในประเทศ และหลักการระหว่างประเทศ ทั้งนี้ยังบอกไม่ได้ว่าเหตุการณ์ยิงครั้งนี้เป็นการกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ จะต้องสืบสวนสอบสวนอย่างโปร่งใส

นายกัณวีร์ ยังเรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรี ว่าการคุ้มครองระหว่างประเทศโดยเฉพาะผู้ลี้ภัยในประเทศไทย ว่าแม้ประเทศไทยจะยังไม่ลงสัตยาบัน ในอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัย แต่เรามีทั้งกฎหมายระหว่างประเทศและในประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ซึ่งอย่างไรต้องรับผิดชอบอยู่แล้วเพราะมีคนมาตายในประเทศไทย แต่ต้องขยายความให้ได้ว่าเขาเป็นผู้ลี้ภัยจริงหรือไม่ แต่เราต้องให้ความคุ้มครองคนที่อยู่ในประเทศไทยไม่ว่าเขาจะสัญชาติอะไร ซึ่งการที่ผู้ลี้ภัยทางการเมืองมาเสียชีวิตในประเทศไทยมีมานานแล้ว เรื่องก็เงียบมานานแล้ว เพราะฉะนั้นจะต้องไม่เงียบอีกต่อไป

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img