วันพฤหัสบดี, มกราคม 9, 2025
หน้าแรกHighlight“วิป3ฝ่าย”เคาะเลื่อนถกแก้รธน.17ฉบับ ไป13-14ก.พ.-ขอเวลาศึกษาให้รอบคอบ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“วิป3ฝ่าย”เคาะเลื่อนถกแก้รธน.17ฉบับ ไป13-14ก.พ.-ขอเวลาศึกษาให้รอบคอบ

“วิป 3 ฝ่าย” ไฟเขียวถกประชุมร่วมรัฐสภาแก้ไขรธน.ไป 13-14 ก.พ. อ้างต้องเหตุขอเวลาศึกษาให้รอบคอบ-รอพรรคอื่นเสนอร่างประกบ ด้าน “วันนอร์” ปัดตอบรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จรรัฐสภาชุดนี้ ขณะที่ “ฝ่ายค้าน” มองเลื่อน 1 เดือนช้าเกินไปอยากให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยดี  ฟาก “สว.” บอกส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยแก้ม.256

วันที่ 8 ม.ค.2568 เวลา 10.00 น.ที่รัฐสภา มีการประชุมวิป 3 ฝ่าย โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม โดยมีนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปรัฐบาล นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน และนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร สว. ในฐานะเลขาฯวิปวุฒิสภา ร่วมประชุม เพื่อกำหนดวันประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งใช้เวลาประชุมประมาณ 1.30 ชั่วโมง

จากนั้นเวลา 11.30 น. นายวันมูหะมัดนอร์ ให้สัมภาษณ์ว่า จากเดิมที่มีการกำหนดว่าจะมีการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมจำนวน 17 ฉบับ ในวันที่ 14-15 ม.ค. แต่ที่ประชุมเห็นว่าการแก้ไขทั้งฉบับต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบหลายด้าน จึงขอนำไปพิจารณาก่อน รวมถึงพรรคเพื่อไทยจะมีการยื่นร่างเข้ามาเพิ่มอีก และยังไม่ทราบว่าจะมีพรรคอื่นหรือภาคประชาชนจะเสนอเข้ามาด้วยหรือไม่ ฉะนั้น จึงขอเวลาและจะมีการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมในมาตรา 256 หมวด 15/1 ในไปวันที่ 13-14 ก.พ. ซึ่งเมื่อมีการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับเสร็จแล้ว การทำประชามติก็สามารถไปใช้ร่างที่สภาฯยืนยัน หรือร่างที่วุฒิสภาแสดงความคิดเห็นไปทำประชามติได้ หากเป็นเช่นนั้นจะทำประชามติ 2 ครั้ง ซึ่งไม่ได้ขัดแย้งกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หรือที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ และในวันที่ 14 ม.ค. จะมีการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาเกี่ยววับการแก้ไขข้อบังคับการประชุมร่วม

“การเลื่อนออกไป 1 เดือนนั้น เนื่องจากในที่ประชุมวิป 3 ฝ่าย พิจารณาร่วมกันว่าถ้าเราพิจารณาเสร็จเร็วหรืออย่างไรก็ตามก็ต้องรอกฎหมายประชามติที่ต้องรอ 180 วัน แต่ขณะนี้เหลือ 100 กว่าวัน ฉะนั้น จึงคิดว่าต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ  ซึ่งก็ไม่ช้าเกินไป ย้ำว่าอย่างไรก็ต้องรอ เพราะอยากให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยดี ทุกฝ่ายร่วมกันรับผิดชอบ”นายวันนอร์ กล่าว

เมื่อถามว่า หวังว่าจะได้เห็นรัฐธรรมนูญใหม่ในรัฐสภาชุดนี้หรือไม่ นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ยังไม่สามารถจะพูดได้ว่าจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ เพราะขั้นตอนขึ้นอยู่กับการประชุมร่วมรัฐสภา ทั้ง 2 ครั้ง ครั้งแรกคือรับหลักการและครั้งที่ 2 คือร่างที่สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) จะไปร่างอีกครั้ง รวมถึงประชาชนจะต้องออกเสียงประชามติอีก 2 ครั้ง ฉะนั้น จึงเป็นความหวังว่าน่าจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่หน้าตาเป็นอย่างไรยังพูดไม่ได้

ด้านนายวิสุทธิ์ กล่าวว่า เหตุผลที่ต้องเลื่อนเวลาออกไป 1 เดือน เนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญ และมีผลกระทบต่อประชาชนทั้งประเทศ​ เพื่อให้เกิดความรอบคอบ ทางสว.ก็ยืนยันว่าต้องมีการนำไปพิจารณา แต่การที่จะไปกำหนดระยะเวลาสั้นๆ ก็ทำไม่ได้ เพราะหลายคนก็มีภารกิจหลายอย่าง ฉะนั้น เรื่องนี้ถือเป็นความร่วมมือที่ดีของทั้ง 3 ฝ่าย  อย่างไรก็ตาม นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าให้แต่ละพรรคร่วมที่คิดจะยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ไปเตรียมการ แต่เราไม่สามารถตอบได้ว่าพรรคอื่นจะยื่นหรือไม่ ซึ่งเราต้องให้โอกาสเขาด้วย ส่วนที่มีการมองว่าเป็นนโยบายของรัฐบาลแต่รัฐบาลไม่ยื่นร่างแก้ไขเข้ามานั้น รัฐบาลประกอบด้วยหลายพรรค แต่ที่คุยกันมาหลายพรรคยังไม่พร้อม แต่หากพรรคไหนที่จะเสนอเราก็ยินดี เพราะเป็นการทำงานร่วมกัน

ขณะที่นายปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า ฝ่ายค้านมองว่าการเลื่อนออกไป 1 เดือนอาจจะช้าเกินไป ตอนแรกเราขอให้เลื่อนออกไปเพียง  2 สัปดาห์เพราะอยากให้มีการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการให้มากที่สุด ซึ่งเป็นชั้นที่สำคัญจึงอยากให้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ แต่เมื่อทางวุฒิสภาอยากมีเวลาพิจารณาเพิ่มเติม เราจึงหาตรงกลาง ฉะนั้น จึงคิดว่าการเลื่อนออกไปก็ไม่ได้กระทบกับกรอบพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประชามติ มากนักแม้จะเห็นไม่ตรงกัน  แต่อยากให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างราบลื่น

ขณะที่นายวุฒิชาติ กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องใหญ่ของประเทศและจากการที่ได้คุยนอกรอบกับพรรคเพื่อไทย ก็บอกว่าจะมีการยื่นร่างประกบเข้ามา ตนจึงบอกว่าวุฒิสภาต้องใช้เวลาในการศึกษาและทุกคนมีเอกสิทธิ์ในการที่จะพูด รวมถึงมุมมองแตกต่างกัน จึงได้ขอความกรุณาจากฝ่ายค้านและรัฐบาล และเราก็สามารถหากรอบระยะเวลาที่ลงตัวกันได้ ส่วนประเด็นที่จะมีการแก้ไขมาตรา 256 และให้มีสสร.ขึ้นมายกร่าง หากจะถามว่าส่วนใหญ่สว.เห็นด้วยหรือไม่นั้น ก็ต้องตอบว่าส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เพราะค่อนข้างสุ่มเสี่ยงกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา  จึงขอระยะเวลาในการศึกษา

เมื่อถามว่า หากไม่มีความชัดเจนก็จะไม่โหวตให้ใช่หรือไม่ นายวุฒิชาติ กล่าวว่า เป็นเอกสิทธิ์ของสว.เพราะมีทั้งบางกลุ่มที่สนับสนุนและไม่สนับสนุน

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img