วันจันทร์, มกราคม 20, 2025
หน้าแรกNEWSแนะรบ.ดัน “กาสิโน” ไม่เป็นแหล่งฟอกเงินให้กลุ่มสีเทา หวังสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้เล่น-นักธุรกิจ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

แนะรบ.ดัน “กาสิโน” ไม่เป็นแหล่งฟอกเงินให้กลุ่มสีเทา หวังสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้เล่น-นักธุรกิจ

“สส.ปชน.” สะกิดรบ.หวังกม.กาสิโนไม่เป็นแหล่งฟอกเงินให้กลุ่มสีเทา แนะสร้างกลไกคัดกรองเข้ม ให้มีมาตรฐานสากล หวังสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้เล่น-นักธุรกิจ เย้ยคงไม่กลายเป็นปัญหามากกว่าประโยชน์ต่อประเทศที่จะได้รับ

วันที่ 20 ม.ค.2567 เวลา 11.00 น.ที่รัฐสภา นายนนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ สส.นนทบุรี พรรคประชาชน ในฐานะกรรมาธิการพิจารณาศึกษาสถานบันเทิงครบวงจร และอนุกรรมาธิการพิจารณาผลกระทบที่เกิดจากสถานบันเทิงครบวงจร และรองประธานกรรมาธิการ ปปง แถลงว่า ร่างพ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจร หรือร่าง พ.ร.บ. คาสิโน มีการวิพากษ์วิจารณร่างกฎหมายอย่างกว้างข้าง โดยเฉพาะในประเด็นที่ เกี่ยวกับ มาตรการป้องกันการฟอกเงิน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนและนานาประเทศว่ากฎหมายฉบับนี้จะไม่ถูกใช้เป็นช่องทางให้กับกลุ่มทุนสีเทาในการฟอกเงิน จึงขอตั้งข้อสังเกตใน 3 ประเด็น1. ขาดมาตรการป้องกันการฟอกเงินที่ชัดเจน แม้ร่าง พ.ร.บ.จะมีการแต่งตั้งเลขาธิการปปง. ให้ร่วมเป็นคณะกรรมการนโยบาย แต่กลับไม่มีบทบัญญัติใด ที่ระบุถึงอำนาจหน้าที่ของ ปปง. ในการตรวจสอบหรือกำกับดูแลธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคาสิโนอย่างชัดเจน ทั้งที่กิจกรรมการพนันเป็นความผิดมูลฐานของการฟอกเงิน หากไม่ได้รับการกำกับดูแลอย่างเคร่งครัด อาจกลายเป็นช่องทางให้กลุ่มทุนผิดกฎหมายใช้ประโยชน์

นายนนท์ กล่าวต่อว่า 2. คณะทำงานขาดความเชี่ยวชาญ คำสั่งของคณะทำงานยกร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร ตามมติครม.เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2567 มีทั้งสิ้น 11 คนแต่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันการฟอกเงิน หรือการจัดการผลกระทบทางสังคมแม้แต่คนเดียว ถือเป็นความล้มเหลวในการบริหารจัดการตั้งแต่ต้นทาง แล้วประชาชนจะสามารถเชื่อมั่นในกฎหมายฉบับนี้ได้อย่างไร 3. การพึ่งพาผู้ประกอบการระดับโลกโดยไม่มีการกำกับที่เพียงพอ กรณีที่รองเลขาธิการนายกฯฝ่ายการเมือง ซึ่งนั่งเป็น รองประธานคณะทำงานยกร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวฯระบุว่า ผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตจะต้องมีมาตรฐานระดับโลก และมาตรการป้องกันการฟอกเงินจะเป็นความรับผิดชอบของ ผู้ประกอบการเหล่านั้นเอง แต่การที่รัฐบาลมอบความไว้วางใจให้กับเอกชนโดยไม่มีการกำกับดูแลจากภาครัฐอย่างชัดเจน อาจถือเป็นการละเลยหน้าที่ของรัฐ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการฟอกเงิน

“ขอฝากถึงรัฐบาลการทำ Entertainment Complex และ Casino ควรทำให้รัดกุม รอบด้าน ไม่ให้เป็น แหล่งฟอกเงินของมิจฉาชีพ ถึงแม้จะมีเลขาธิการปปง.นั่งเป็นคณะทำงาน แต่ก็ไม่มีกลไกให้เลขาธิการปปง. ไปใช้อำนาจตามกฎหมายฟอกเงินได้ ถามว่าจะมีเขียนกฎหมายให้ปปง. เข้ามามีส่วนร่วมตรงนี้ไหม ก็ไม่ใช้ เพราะคนละกลไกกัน ความผิดของการพนัน เป็นความผิดมูลฐานของการฟอกเงินอยู่แล้ว แต่ต้องเป็นการ พนันที่ไม่ได้รับอนุญาต และไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ พรบ.สถานบันเทิงคือการทำให้การพนันถูกกฎหมาย ถ้าเอา ปปง.มารับตรงนี้ก็จะย้อนแย้งกับบทบาทของ ปปง.เอง ดังนั้นผมขอเสนอแนะให้รัฐบาลควรสร้างกลไก ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในกฎหมายฉบับนี้ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงร่างกฎหมายการรายงานธุรกรรมการเงินเพิ่มบทบัญญัติในร่าง พ.ร.บ. เพื่อกำหนดให้ธุรกรรมทางการเงินที่เกิดขึ้นในคาสิโนต้องมีการรายงานต่อ คณะกรรมการตรวจสอบที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ และให้หน่วยงานนี้เป็นผู้คัดกรองข้อมูลก่อนส่งต่อให้ ปปง.รายงานดังกล่าวจะช่วยป้องกันการนำเงินผิดกฎหมายเข้าสู่ระบบคาสิโนและเพิ่มความโปร่งใส”

นายนนท์ กล่าวต่อว่า  การกำหนดมาตรฐาน KYC และ CDD มาตรการ Know Your Customer (KYC) และ Customer Due Diligence (CDD) ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติสากลที่ ใช้ในการป้องกันการฟอกเงิน มาตรฐาน KYC ถูกำหนดโดยหน่วยงานระดับโลกอย่าง Financial Action Task Force (FATF) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้ในการตรวจสอบและยืนยันตัวตนของลูกค้า รวมถึงการประเมินความเสี่ยงในการป้องกันการฟอกเงิน (AML: Anti-Money Laundering) การสนับสนุนการก่อการร้าย (CFT: Counter Financing of Terrorism) และกิจกรรมที่ผิดกฎหมายอื่นๆ ควรถูกบรรจุไว้ในกฎหมายอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ประกอบการคาสิโนต้องตรวจสอบและยืนยันตัวตนของลูกค้า รวมถึงประเมินความเสี่ยงของลูกค้า อย่างรอบ คาสิโนในประเทศที่มีมาตรฐานระดับโลก เช่น มาเก๊า หรือสิงคโปร์ มีการกำหนดมาตรการ KYC และ CDD อย่างเคร่งครัด รวมถึงการรายงานธุรกรรมที่มีมูลค่าสูงให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติเหล่านี้ช่วย สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เล่นและทำให้ธุรกิจคาสิโนได้รับการยอมรับในระดับสากล

“หากรัฐบาลไทยไม่เพิ่มมาตรการเหล่านี้ไว้ในกฎหมาย จะส่งผลให้คาสิโนในประเทศไม่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ทั้งยังอาจกลายเป็นแหล่งฟอกเงินและที่หลบซ่อนของมิจฉาชีพ การที่ร่าง พ.ร.บ. สถานบันเทิงครบวงจรไม่มีการกำหนดกลไกการป้องกันการฟอกเงินอย่างชัดเจน แสดงถึงการบริหารจัดการที่ล้มเหลวและขาดความโปร่งใส รัฐบาลควรรับผิดชอบในการสร้างระบบที่ปลอดภัย โปร่งใส และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ดังนั้นคาสิโนที่จัดตั้งขึ้นจะกลายเป็นปัญหามากกว่าประโยชน์ต่อประเทศ ผมไม่แน่ใจว่า กฎหมายที่รัฐบาลผลักดันนี้จะช่วยแก้ปัญหาหรือเพิ่มปัญหาให้กับ ประเทศ หรือบทบาทของรัฐบาลมีเพียงแค่สนับสนุนทุกอย่างที่ “พ่อนายก” เสนอโดยไม่สนใจผลกระทบที่จะตามมา”นายนนท์ กล่าว

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img